ทุเรียนเมืองเพชร


ทุเรียนแก่งกระจาน จัดได้ว่าเป็นทุเรียนหมอนทองคุณภาพดี สามารถจำหน่ายได้ราคาดี จึงเป็นที่นิยมปลูกของชาวบ้านในแต่ละท้องถิ่น ทำให้เกิดการพัฒนาคุณภาพผลผลิต ทำให้มีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไป ตามเขตท้องถิ่นที่เพาะปลูก

ทุเรียนเมืองเพชร :《ทุเรียนแก่งกระจาน : 《ทุเรียนป่าเด็ง : 《ทุเรียนป่าละอู : 《กิ่งพันธุ์ทุเรียนพระราชทาน : 《ทุเรียนหมอนทอง :
https://youtu.be/6QWQLw6Ki7

ป่าแก่งกระจาน แหล่งกำเนิดของ แม่น้ำปราณบุรี และแม่น้ำเพชรบุรี  ซึ่งแม่น้ำทั้งสองสายนี้ ไหลผ่านเขตพื้นที่ในตำบลต่างๆ ทั้งในเขตพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันท์ และจังหวัดเพชรบุรี ประชาชนริมสองฝั่งแม่น้ำจึงประกอบอาชีพเกษตรกรรม เพาะปลูกผลไม้เป็นหลัก อาทิ สัปรด กล้วย อ้อย 

โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพาะปลูกผลไม้ซึ่งสร้างชื่อเสียงมากที่สุดให้กับเขตพื้นที่ในตำบลห้วยสัตว์ใหญ่จังหวัดประจวบคีรีขันท์ และต่อเนื่องมายังตำบลป่าเด็งของจังหวัดเพชรบุรี ซึ่งเป็นเขตพื้นที่ติดต่อกัน ก่อนที่จะมีการนำกิ่งพันธุ์มาเพาะปลูกกันอย่างแพร่หลายในพื้นที่ต่อเนื่องอื่นๆ ในเขตจังหวัดเพชรบุรี นั่นคือ “การเพาะปลูกทุเรียน”

จากสายพันธุ์ทุเรียนหมอนทองดังเดิม  ซึ่งสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีฯ ทรงพระราชทานให้แก่ตำรวจตระเวนชายแดน เพื่อให้นำไปให้ประชาชนนำไปปลูกครั้งแรก ในเขตพื้นที่ตำบลห้วยสัตว์ใหญ่ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ.2509

ต่อมาในปี พ.ศ. 2510 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หน่วยงานภาครัฐฯ จัดหาพื้นที่ว่างเปล่าในเขตจังหวัดเพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ มาจัดสรรให้ราษฎรชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงในเขตพื้นที่บ้านป่าละอู และบ้านป่าเด็ง ที่ไม่มีที่ทำกิน ในรูปแบบของสหกรณ์ โดยให้มีสิทธิครอบครองชั่วลูกชั่วหลาน แต่ไม่ให้มีการโอนกรรมสิทธิ์ให้

https://www.ryt9.com/s/prg/3033062

จากสายพันธุ์ทุเรียนหมอนทอง ที่นำมาปลูกในเขตพื้นที่ป่าที่ดินมีความอุดมสมบูรณ์ ทำให้เกิดทุเรียนหมอนทองเฉพาะถิ่น ที่มีชื่อเรียกติดปากว่า “ทุเรียนป่าละอู”  ซึ่งเป็นทุเรียนที่มีคุณภาพดี มีลักษณะที่ต่างไปจากทุเรียนหมอนทอง ซึ่งปลูกในท้องถิ่นอื่นๆ ที่โด่งดังอยู่ก่อน เช่น ทุเรียนจันทบุรี และทุเรียนระยอง ฯลฯ  

ผู้บริหารท้องถิ่น (ในสมัยนั้น) ได้นำผลผลิตทุเรียนป่าละอู มาแนะนำ และจำหน่ายในกรุงเทพฯ  โดยได้พิจารณาตั้งราคาจำหน่ายเริ่มต้นไว้ในราคาที่ค่อนข้างสูง เนื่องจากเห็นว่าเป็นทุเรียนที่มีต้นกำเนิดมากจากกิ่งพันธุ์พระราชทาน จึงเป็นจุดขายสำคัญที่ทำให้เป็นที่สนใจของประชาชน ได้ทดลองซื้อมารับประทานกัน ซึ่งผลปรากฏว่า เป็นที่นิยมชื่นชอบเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นทุเรียนหมอนทองที่มีเนื้อแน่น เนื้อแห้ง มัน เม็ดเล็ก หวานน้อย กลิ่นไม่รุนแรง 

จากผลตอบรับของประชาชนที่ชื่นชอบ สามารถนำไปจำหน่ายต่อได้ราคาดี  จึงเป็นที่นิยมของเกษตรกรได้นำกิ่งพันธุ์มาเพาะปลูกเพิามเติมในเขตพื้นที่ในระแวกใกล้เคียง ไปสุดตลอดสองฝั่งเส้นทางแม่น้ำปราณบุรี และแม่น้ำเพชรบุรี  เกิดการผสมผสานเกสรกับทุเรียนสายพันธุ์อื่นๆ ของท้องถิ่น

ด้วยบริบทของสภาพพื้นที่ดินที่ใช้เพาะปลูกตลอดเส้นทางแม่น้ำปราณบุรี และแม่น้ำเพชรบุรี ด้วยวิธีการดูแลบำรุงต้นทุเรียนที่แตกต่างกันของแต่ละท้องถิ่น ร่วมถึงสภาพดินฟ้าอากาศ และสภาพทางธรณีวิทยา ของสถานที่เพาะปลูกของชาวบ้านในแต่ละท้องที่ ในที่สุดจากกิ่งพันธุ์ทุเรียนหมอนทองที่ทรงพระราชทาน หรือ “ทุเรียนหมอนทองเฉพาะถิ่นป่าละอู” ก็ได้พัฒนาสายพันธุ์มาเป็น “ทุเรียนป่าละอูเฉพาะถิ่น” อื่นๆ  ทำให้เกิดทุเรียนที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะในเรื่องของรูปทรง และรสชาดของเนื้อทุเรียนเป็นสำคัญ

“ทุเรียนเฉพาะถิ่น” ทั้งหมดในระยะแรกๆ จะเป็นที่รู้จักกันในนามว่า "ทุเรียนแก่งกระจาน"  ซึ่งชื่อนี้เกิดจากนักท่องเที่ยว ที่ไปเที่ยวที่เขื่อนแก่งกระจาน ในจังหวัดเพชรบุรี ขากลับลงมา มัดจะได้แวะหาซื้อทุเรียน ตามร้านริมถนนในบริเวณนั้น มารับประทาน เกิดความชื่นชอบ และใช้ชื่อ "ทุเรียนแก่งกระจาน" ติดปาก บอกต่อๆ กันไปเรื่อยๆ

ทุเรียนแก่งกระจาน จัดได้ว่าเป็นทุเรียนหมอนทองคุณภาพดี สามารถจำหน่ายได้ราคาดี จึงเป็นที่นิยมปลูกของชาวบ้านในแต่ละท้องถิ่น ทำให้เกิดการพัฒนาคุณภาพผลผลิต ทำให้มีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไป ตามเขตท้องถิ่นที่เพาะปลูก..ดังนี้

ทุเรียนแก่งกระจาน :

- ทุเรียนป่าละอู

- ทุเรียนป่าเด็ง

- ทุเรียนถ้ำเสือ

- ทุเรียนกลัดหลวง

- ทุเรียนท่ายาง 

- ทุเรียนหนองหญ้าปล้อง

ฯลฯ

ผู้เขียนมีความสนใจทุเรียนของแต่ละท้องถิ่น และได้มีโอกาสเดินทางไปยังแหล่งเพาะปลูกทุเรียนในพื้นที่ต่างๆ หลายครั้ง  โดยแต่ละครั้ง มักจะมีเพื่อนๆ ลูกศิษย์ คนรู้จัก และเพื่อนๆ ของแต่ละคน ฝากให้หิ้วทุเรียนสายพันธุ์ต่างๆ ตามที่ต้องการ ให้เอากลับมาฝากด้วยเสมอๆ บางครั้งไปอยู่หลายสัปดาห์  ก็ต้องใช้วิธีส่งทุเรียนสดทั้งผล หรือทุเรียนแกะพูบรรจุกล่อง มาให้เพื่อนๆ ทางไปรษณีย์ รวมถึงไปให้ผู้ที่สนใจ และต้องการชิมทุเรียนสายพันธุ์แท้ๆ ในท้องถิ่นของหลายๆ จังหวัด ทั่วประเทศ

จากการได้สังเกตลักษณะของผลทุเรียน รวมถึงได้ชิมเนื้อทุเรียนของแต่ละสายพันธุ์ทั้งหมดมาหลายๆ ครั้ง  ก็พอที่จะสรุปได้ว่า แต่ละสายพันธุ์มีอัตตาลักษณ์ที่แตกต่างกันไป ตามเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น ซึ่งจะได้เขียนเป็นบทความให้ได้รับทราบในโอกาสถัดๆ ไป

จากกิ่งพันธุ์ทุเรียนหมอนทองกิ่งแรก ที่ทรงพระราชทานให้ปลูก มาถึงปัจจุบัน เป็นเวลา 37 ปี  เริ่มจากทุเรียนเฉพาะถิ่น “ป่าละอู”ได้แพร่ขยายมาเป็น “ทุเรียนป่าเด็ง” และอีกหลากหลายท้องถิ่น จนมีชื่อเรียกว่า "ทุเรียนแก่งกระจาน"  เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว และผู้ชื่นชอบเนื้อทุเรียนที่แห้ง เนื้อหนา เมล็ดลีบ มีรสชาติกรอบมัน ที่ไม่หวานจัดจนเกินไป จัดได้ว่าเป็นทุเรียนหมอนทองเฉพาะท้องถิ่น ที่มีคุณภาพสูงของจังหวัดเพชรบุรี  ปัจจุบันจังหวัดเพชรบุรี จึงได้ส่งเสริมให้มีชื่อเรียกชื่อทุเรียนหมอนทองที่ปลูกในท้องถิ่นจังหวัดเพชรบุรี ในภาพรวมว่า "ทุเรียนเพชรบุรี" หรือ "ทุเรียนเมืองเพชรฯ" นั่นเอง

หลังเดือนพฤษภาคม เป็นช่วงที่ผลผลิต "ทุเรียนหมอนทอง" ของภาคตะวันออกหมดลง ก็จะเป็นช่วงระยะเวลาที่ "ทุเรียนเมืองเพชร" คุณภาพดี จะเริ่มออกผลผลิตสู่ตลาด ซึ่งทุเรียนคุณภาพที่ดีมากๆ ของจังหวัดเพชรบุรี จะอยู่ในช่วงระหว่างเดือน มิถุนายน - สิงหาคม ของปี

ด้วยชื่อเสียงที่โด่งดังของทุเรียนเมืองเพชร จึงทำให้มีพ่อค้า&แม่ค้าทุเรียนบางคน นำทุเรียนหมอน (ปลายฤดู) ของจังหวัดจันทบุรี และระยอง  และทุเรียนหมอนทองของภาคใต้ (ในช่วงต้นฤดู) มาวางหลอกขายนักท่องเที่ยว สร้างความเสียหายให้กับชื่อเสียงของทุเรียนเพชรบุรี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 

ชื่อของทุเรียนเพชรบุรีเฉพาะถิ่น ที่นิยมนำมาอ้างใช้หลอกขายมากที่สุดคือ “ทุเรียนป่าละอู”  โดยนำมาวางหลอกขายนักท่องเที่ยวที่ขับรถผ่านมาบริเวณริมถนนเพชรเกษม ช่วงตั้งแต่บริเวณแยกทางเข้าวัดห้วยมงคล ไปทางยังแยกอำเภอชะอำ และบนเส้นทางสายท่องเที่ยวบางพื้นที่ในเขตอำเภอหัวหิน  

เรื่องดังกล่าวข้างต้น ทำให้ทางผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี มีคำสั่งให้ จนท. ที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการตรวจสอบร้านค้าที่วางจำหน่าย เพื่อตรวจสอบหลักฐานของแหล่งที่มาของผลผลิตทุเรียน ที่นำมาวางจำหน่ายในพื้นที่ดังกล่าวให้นักท่องเที่ยง โดยอ้างว่าเป็นทุเรียนหมอนทองเฉพาะถิ่น "ป่าละอู” ทั้งๆ ที่ยังไม่ถึงฤดูกาลการออกผลผลิตของทุเรียนป่าละอูเลย นำไปสู่การจับกุม และดำเนินคดี กับบรรดาพ่อค้า และแม่ค้า ที่นำทุเรียนจากังหวัดอื่นมาหลอกขาย

ในแต่ละปี จังหวัดเพชรบุรี ได้จัดงานเทศกาลผลไม้พื้นเมืองในแต่ละท้องถิ่นหลากหลายชนิด  นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางมาท่องเที่ยว และแวะอุดหนุนซื้อผลไม้เมืองเพชรของแท้ได้ตลอดทั้งปี 

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทุเรียนเมืองเพชร จะออกผลผลิตคุณภาพดีมากๆ จะอยู่ในช่วงเดือน มิถุนายน - สิงหาคม ของทุกๆ ปี..ครับ

ผู้เขียน : กรัณฑ์ ปิ่นสุวรรณ / มิ.ย.2564

สนใจอยากชิมทุเรียนเมืองเพชรแท้ๆ ของแต่ละท้องถิ่น และ/ หรือผลไม้พื้นเมืองอื่นๆ ของจังหวัดเพชรบุรี

064-951-6256 

Line ID : karan.97

ให้คำแนะนำได้..ครับ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท