การแต่งงานในอิสลาม


 การแต่งงาน (นิกะห์) ในอิสลาม

    ความหมาย  ของการแต่งงาน (นิกะห์)

      ตามหลักภาษา หมายถึง การรวมเข้าด้วยกัน

      ตามหลักศาสนา หมายถึง การสัญญาตกลงกันที่อนุญาตให้คู่สามี ภรรยาหาความสุขจากกันและกันได้ ตามวิถีทางที่ถูกต้องตามบทบัญญัติศาสนาอิสลาม 

      ที่เรียกการแต่งงานว่า การนิกะห์ เนื่องจาก เป็นการรวมบุคคลเข้าด้วยกัน คือการรวม ระหว่างบุคคลสองครอบครัว มาเป็นคนในครอบครัวเดียวกัน เป็นญาติกัน ใกล้ชิดสนิทสนมกัน 

บัญญัติการแต่งงาน (นิกะห์)

         อิสลามได้บัญญัติการแต่งงาน (นิกะห์) และได้กำหนดข้อระเบียบแบบแผนอย่างมั่นคง อยู่บนหลักการที่เข้มแข็ง เพื่อปกป้องสังคม,เพื่อความภาสุขของสถาบันครอบครัว,เพื่อรักษาจริยธรรมอันดีงามและเพื่อความคงอยู่ของมนุษย์ชาติ

หลักฐานบัญญัติการแต่งงาน (นิกะห์)

 1. การแต่งงาน เป็นการปฏิบัติ ตามคำสั่ง ของ อัลลอฮฺ                                                                                                                                                                                                                                                                                                  อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงมีคำสั่งไว้ในคัมภีร์ อัลกุรอาน ว่า :

 فإن خفتم ألا تعدلوا فواحدة  فانكحوا ما طاب لكم من النساء مثنى وثلاث ور باع

                                               أوما ملكت أيمانك                                      ความว่า : ดังนั้น พวกท่านจงแต่งงานกับผู้หญิงที่ดี สำหรับพวกเจ้าสองคน และสามคน และสี่คน  ดังนั้น หากพวกเจ้า กลัวว่าจะให้ความเป็นธรรม ไม่ได้ ก็คนเดียว หรือทาสหญิงของพวกเจ้า

  2. การแต่งงาน เป็นแนวทางของท่าน ศาสดา มูฮำหมัด (ซ.ล.) 

               ท่านศาสดา (ซ.ล.) ได้ กล่าวว่า : 

 النكاح سنتي فمن لم يعمل بسنتي فليس مني                                             

 ความว่า: การแต่งงานนั้น เป็นแนวทางของฉัน ดังนั้นผู้ใดที่ไม่ปฏิบัติ ตามแนวทางของฉัน เขาผู้นั้น ไม่ใช่เป็นพวกของฉัน 

  3. การแต่งงาน (การสืบพันธ์ ) เป็นกฎธรรมชาติ ของสัตว์โลก นักวิชาการ อิสลามเห็นพ้องกันว่า :

 การแต่งงานนั้น เป็นที่ อนุมัติ ตามหลักการอิสลาม เมื่อมีความต้องการและมีความสามารถ ที่จะแต่งงานได้ 

 

                     

                                ฮูก่ม (ข้อชี้ขาด) ของการแต่งงาน

    1. สุนัต  สำหรับผู้ที่มีความต้องการแต่งงาน และ มีค่าใช้จ่ายในการแต่งงาน

    2. มักรูฮ  สำหรับผู้ที่มีความต้องการ แต่ ไม่มีค่าใช้จ่ายในการแต่งงาน

    3. วายิบ   สำหรับผู้ที่มีความต้องการ และมีค่าใช้จ่ายในการแต่งงาน และ กลัวว่า ตัวเองจะไปทำ ซีนา (ผิดประเวณี) 

    4. ฮะรอม  สำหรับผู้ที่ไม่มีความสามารถ ที่จะทำหน้าที่สามีได้ และเป็นผู้ที่ชอบทำร้ายภรรยา

                                          การเลือกคู่ครองที่ดีที่สุด มีลำดับดังนี้

                         1.  ต้องเป็นผู้หญิง ที่เคร่งครัดในศาสนา

                         2.  ต้องเป็นผู้หญิง ที่มีมารยาทที่ดีงาม

                        3.  ต้องเป็นผู้หญิง ที่ได้รับการศึกษาดี มีความรู้

                        4.  ต้องเป็นผู้หญิง ที่มีชาติพันธ์ ,ตระกูลดี

                        5.  ต้องเป็นผู้หญิง ที่สามารถให้กำเนิดบุตรได้ (อัล วาลูด)

                       6.  ต้องเป็นผู้หญิง ที่ไม่เป็นญาติที่ใกล้ชิด

                       7.  ต้องเป็นผู้หญิง ที่เป็นสาวบริสุทธ์

                       8.  ต้องเป็นผู้หญิง ที่มีหน้าตา รูปร่างที่สวยงาม

                       9.  ต้องเป็นผู้หญิง ที่เป็นชนชั้นเดียวกัน เหมาะสมกัน

                       10. ต้องเป็นผู้หญิง ที่มีค่าสินสอด (มาฮัร)ที่ไม่มากเกินไป

 

สิ่งที่ต้องห้าม (ฮารอม) ในการนิกะห์

      1. ห้ามขอหมั้นกับผู้หญิง ที่ได้ตกลงรับหมั้น กับผู้อื่นไว้แล้ว

      2. ห้ามมองเรือนร่าง ของผู้หญิงที่เราขอหมั้นไว้แล้ว นอกจาก ใบหน้า และฝ่ามือทั้งสองของนาง

      3. ห้ามอยู่กันสองต่อสองกับคู่หมั้น(คุลวะห์)โดยไม่มีมัฮรอมอยู่ด้วย

     4. ห้ามจับเนื้อต้องตัวคู่หมั้น ก่อนการทำการนิกะห์

     5. สิ่งของที่ให้ผู้หญิง (แหวนหมั้น, สร้อยคอ ฯลฯ) โดยไม่ได้กล่าวในขณะที่ทำการแต่งงาน จะขอคืนกลับ ไม่ได้อีกแล้ว

 

   สิ่งที่จำเป็นต้องรู้ สำหรับผู้ที่ต้องการแต่งงาน( ชาย-หญิง

  องค์ประกอบ (รูก่น) ของการแต่งงาน ( นิกะห์ ) มี 5 ประการ คือ

      1ต้องมี เจ้าบ่าว ( ผู้ชาย )

      2ต้องมี เจ้าสาว ( ผู้หญิง )

    3. ต้องมี วาลี  ( ผู้ปกครองเจ้าสาว )

     4.ต้องมี พยาน  (ผู้ชายอย่างน้อย 2 คน)

     5.ต้องมี คำกล่าวอังกัด  ( คำเสนอและคำตอบรับ )

 

                                                     เงื่อนไข (ชารัต) ของเจ้าบ่าว 

                                     1. ต้องเป็นมุสลิม

                                     2. ต้องเป็นผู้ชาย โดยสมบูรณ์

                                     3. ต้องมีความสมัคใจ (ไม่ถูกบังคับ )

                                    4. ต้องไม่เป็นมะฮ์รอม กับเจ้าสาว

                                    5. ต้องระบุเจาะจง ตัวเจ้าบ่าวอย่างชัดเจน

                                    6. ต้องไม่อยู่ในช่วงที่ เอียะห์รอม ฮัจญ์หรืออุมเราะห์

                                    7. ต้องรู้ว่ามีความสามารถในการนิกะห์( ร่วมประเวณี ) 

                                    8. ต้องเป็นผู้ทมี่แต่งงานกันได้ ไม่ใช้ห้ามแต่งงานกัน

 

            เงื่อนไข (ชารัต) ของเจ้าสาว

    1. ต้องเป็นมุสลิมะห์

    2. ต้องเป็นผู้หญิงโดยสมบูรณ์

    3. ต้องไม่เป็นภรรยาของใคร 

    4. ต้องไม่อยู่ในอิดดะห์ 

   5. ต้องไม่อยู่ในช่วงที่ เอียะห์รอม ฮัจญ์หรืออุมเราะห์

   6. ต้องไม่เป็นมะฮ์รอม กับเจ้าบ่าว

   7. ต้องระบุเจาะจง ตัวเจ้าสาวอย่างชัดเจน

 

 

                    เงื่อนไข (ชารัต) ของวาลี ผู้ปกครองเจ้าสาว

      1. ต้องเป็นมุสลิม

     2. ต้องบรรลุศาสนภาวะ 

     3. ต้องมีสติสัมปชัญญะ 

    4. ต้องเป็น ผู้ชาย

     5. ต้องเป็นเสรีชน

     6. ต้องเป็นผู้ที่ไม่ทำบาปใหญ่ (ฟาซิก)

     7. ต้องไม่อยู่ในช่วงที่ เอียะห์รอม ฮัจญ์หรืออุมเราะห์

   8. ต้องไม่ถูกบังคับ

                                                 เงื่อนไข (ชารัต) ของพยานในการแต่งงาน

                                1. ต้องเป็นมุสลิม

                               2. ต้องเป็น ผู้ชาย   

                                3. ต้องมีสองคนเป็นอย่างน้อย

                               4. ต้องเป็นอิสระชน (ไม่ใช่ทาส )   

                              5. ต้องบรรลุศาสนภาวะ

                             6. ต้องมีสติสัมปชัญญะ 

                             7. ต้องสามารถพูดได้ 

                             8. ต้องไม่เป็นพ่อ หรือ ลูกของเจ้าบ่าว

                             9. ต้องเป็นคนที่ยุติธรรม (อาเดล)

                             10. ต้องไม่เป็นผู้ที่ตาบอด, หูหนวก

                            11. ต้องไม่เป็น สัตรูกัน 

                             12. ต้องเข้าใจในคำอีญาบและกอบูล( คำเสนอและคำสนอง )

 

                        วาลี  (ผู้ปกครองฝ่ายหญิง) ในพิธีแต่งงาน เป็นไปตามลำดับ  ดังนี้

     1.พ่อ

    2.ปู่  คือ พ่อของพ่อ

    3. พี่ น้องผู้ชาย พ่อเดียวแม่เดียวกัน

   4. พี่ น้องผู้ชาย พ่อเดียวกัน

   5. ลูกชายของพี่ น้องผู้ชายพ่อเดียวแม่เดียวกัน

   6. ลูกชายของพี่ น้องผู้ชายพ่อเดียวกัน

   7. ลุง คือ พี่ น้องผู้ชายของพ่อ ที่พ่อเดียวแม่เดียวกันกับพ่อ

   8. ลุง คือ พี่ น้องผู้ชายของพ่อ ที่พ่อเดียวกันกับพ่อ

   9. ลูกชายของลุง พี่น้องผู้ชายของพ่อ ที่พ่อเดียว แม่เดียวกันกับพ่อ

  10. ลูกชายของลุง พี่ น้องผู้ชาย ของพ่อที่พ่อเดียวกันกับพ่อ

  11. ลูกชายของเจ้าสาว จะเป็นวาลีให้เจ้าสาวไม่ได้ เว้นแต่ ลูกจะมีตำแหน่ง ฮากิม

         และบรรดาผู้ที่ได้รับมรดกในฐานะเป็น อะซอบะฮ์ ทุกคนก็เช่นเดียวกัน ถ้าหากไม่มีผู้ใดรับมรดก ในฐานะเป็น อะซอบะฮ์ ผู้ปกครองฝ่ายหญิงคือ (ซุลตอน)

 

                เงื่อนไข(ชารัต)ของคำเสนอและคำตอบรับ ( อีญาบและกอบูล )

     1. ระหว่างคำเสนอและคำตอบรับ ต้องไม่มีคำพูดอื่นมาแทรกขวางอยู่

     2. ระหว่างคำเสนอและคำตอบรับ ต้องติดต่อกัน ไม่ทิ้งช่วงนานเกินไป

     3.  ทั้งคำเสนอและคำตอบรับ ต้องพูดเสียงดัง ให้พยานทั้งสองคนได้ยินชัดเจน

     4. ทั้งคำเสนอและคำตอบรับ ต้องเป็นคำพูดที่ วาลีและเจ้าบ่าว พร้อมทั้งพยานทั้งสองเข้าใจใน ความหมาย เป็นอย่างดี

      5. ทั้งคำเสนอและคำตอบรับ ต้องเป็นคำพูดที่ สื่อความหมาย ที่สอดคล้องกันในเนื้อหาทั้งสองฝ่าย

      6. ทั้งคำเสนอและคำตอบรับ ต้องเป็นคำพูดที่ไม่ได้วางเงื่อนไข ( ตะเลก )ใดๆไว้

      7. คู่ตกลงสัญญาแต่งงานทั้งสองฝ่าย ต้องมีคุณสมบัติที่ครบถ้วน  จนกว่าการกล่าว คำเสนอและคำตอบรับ จะเสร็จสิ้นสมบูรณ์

       8. คำสัญญาทั้งคำเสนอและคำตอบรับ( อีญาบ และกอบูล ) ต้องบรรลุผลทันที ที่กล่าวเสร็จ

 

                                                      ผู้หญิงที่ศาสนาไม่อนุญาตให้แต่งงาน

                   อิสลามได้บัญญัติและส่งเสริมการแต่งงาน แต่ ก็ได้ห้ามการแต่งงานกับผู้หญิง บางจำพวกเนื่องจากเป็นผู้ที่มีพระคุณและมีเกียติเป็นที่เคารพนับถือ หรือเพราะหลักคุณธรรมไม่อาจสามารถยอมรับได้ หรือเพราะเป็นเป้าหมายของการจัดระบบการอบรมเลี้ยงดูในการสร้างครอบครัว

    ประเภทของการห้ามแต่งงาน

  • ห้ามตลอดไป(ถาวร)
  • ห้ามชั่วคราว

     ก.  การห้ามแต่งงานตลอดไป( ถาวร ) คือ  ผู้หญิงที่ศาสนาจะไม่อนุญาตให้ผู้ชายแต่งงานกับคนใดคนหนึ่งจากพวกนางไม่ว่าจะกรณีใดๆ

      สาเหตุที่ห้ามแต่งงานตลอดไป เนื่องจาก

  • เป็นญาติใกล้ชิด
  • เกี่ยวดองกันโดยการแต่งงาน
  • การดื่มนมจากแม่นมเดียวกัน

ผู้หญิงที่ห้ามแต่งงาน เนื่องจากเป็นญาติใกล้ชิด  มี 7 คน  คือ

 1. แม่, ยาย (แม่ของแม่) และย่า (แม่ของพ่อ) หรือ ที่เรียกว่าบรรพบุรุษฝ่ายแม่ 

 2. ลูกสาว และ หลานสาวที่เกิดจากลูกผู้ชาย หรือ ลูกผู้หญิง หรือ ที่เรียกว่าลูกหลาน

 3. พี่สาว, น้องสาวพ่อแม่เดียวกัน หรือ พ่อเดียวกัน หรือ แม่เดียวกัน

 4. ลูกสาวของพี่ชาย, น้องชายพ่อแม่เดียวกัน และลูกสาวของพี่ชาย, น้องชายพ่อเดียวกัน หรือ ลูกสาวของพี่ชาย, น้องชายแม่เดียวกัน

 5. ลูกสาวของพี่สาว, น้องสาวพ่อแม่เดียวกัน และลูกสาวของพี่สาว, น้องสาวพ่อเดียวกัน หรือ ลูกสาวของพี่สาว,น้องสาวแม่เดียวกัน

 6. ป้า คือ ผู้เป็นพี่สาว หรือ น้องสาวของพ่อ,ตลอดจนป้าของพ่อและป้าของแม่ก็เช่นเดียวกัน

 7. น้าสาว คือ ผู้ที่เป็นพี่สาวหรือน้องสาวของแม่ ตลอดจนน้าสาวของพ่อ และน้าสาวของแม่ก็ เช่นเดียวกัน

               ส่วนฝ่ายหญิงนั้นก็ห้าม แต่งงานกับพ่อ,ปู่,ตา และบรรพบุรุษของตนที่เป็นผู้ชายทุกคน และห้ามแต่งงานกับลูกชาย, หลานชายที่เกิดจากลูกชายและลูกสาว, และลูกหลานของทุกคน และห้ามแต่งงานกับพี่ชาย ,น้องชาย ที่เกิดจากพ่อแม่เดียวกัน หรือ เกิดจากพ่อเดียวกัน หรือเกิดจากแม่เดียวกัน และ ห้ามแต่งงานกับลูกชายของพี่ชาย, น้องชาย และลูกชายของพี่สาว, น้องสาว ที่เกิดจากพ่อแม่เดียวกัน หรือ เกิดจากพ่อเดียวกัน หรือเกิดจากแม่เดียวกัน และ ห้ามแต่งงานกับลุง (พี่ชาย,น้องชายของพ่อ) น้าชาย (พี่ชาย,น้องชายของแม่) ลุงของพ่อ, ลุงของแม่, น้าชายของพ่อและน้าชายของแม่

 

          ผู้หญิงที่ห้ามแต่งงานเพราะมีความเกี่ยวดองกันโดยการแต่งงาน  มี 4 คน คือ

   1. ภรรยาของพ่อ, ภรรยาของปู่ (พ่อของพ่อ), ภรรยาของตา (พ่อของแม่)

  2. ลูกสะใภ้ (ภรรยาของบุตรชาย), หลานสะใภ้ (ภรรยาของหลานชาย ที่เกิดจากบุตรชาย หรือเกิดจากบุตรสาว), ภรรยาของเหลนๆ ก็เช่นเดียวกัน

  3. แม่ยาย และ แม่ของแม่ยาย และบุคคลที่อยู่ในลำดับที่สูงขึ้นไป

       บุคคลทั้งสามข้อที่กล่าวมานี้ เป็นบุคคลที่ห้ามแต่งงานทันที ที่มีพิธีแต่งงานเกิดขึ้น โดยจะไม่คำนึงว่ามีการร่วมประเวณีติดตามมา หรือไม่ก็ตาม

  4. บุตรสาวของภรรยา คือ ลูกเลี้ยงเป็นบุคคลที่ห้ามสามีของแม่ (พ่อเลี้ยง) แต่งงานดัวย ภายหลังจากร่วมประเวณี กับผู้เป็นแม่แล้ว ถ้าหากยังไม่ได้ร่วมประเวณี กับผู้เป็นแม่ และมีการหย่าร้างกันเกิดขึ้น หรือผู้เป็นแม่ตายไป อนุญาตให้พ่อเลี้ยง แต่งงานกับลูกเลี้ยงของตนได้

 

                                 ผู้หญิงที่ห้ามแต่งงาน เนื่องจากร่วมดื่มนมจากแม่นมคนเดียวกัน มี 7 คน คือ

 1. ตัวแม่นมเอง คือ ผู้ที่ให้นมท่านดื่ม, ตลอดถึงแม่ของแม่นม,และ ย่า ยายของแม่นมก็เช่นเดียวกัน

 2. พี่สาว , น้องสาวที่ดื่มนมจากแม่คนเดียวกัน คือ ผู้ที่ได้ดื่มนม จากแม่ของท่าน หรือ ท่านได้ดื่มนม จากแม่ของหล่อน หรือ ทั้งท่านและหล่อนได้ดื่มจากผู้หญิงคนเดียวกัน

   - หากมีผู้หญิงคนหนึ่ง มาดื่มนมจากแม่ของท่าน ผู้หญิงคนนั้นห้ามแต่งงานกับท่าน และห้ามแต่งงานกับพี่ชายและน้องชายของท่านทุกคน

   - หากท่านได้ดื่มนม จากแม่ของผู้หญิงคนหนึ่ง ห้ามไม่ให้ท่านแต่งงานกับผู้หญิงคนนั้น และห้ามแต่งงานกับพี่สาว น้องสาวของผู้หญิงคนนั้น

 3. ลูกสาวของพี่น้องผู้ชาย ที่เป็นพี่น้องกัน เนื่องจากร่วมดื่มนม จากแม่นมคนเดียวกัน

 4. ลูกสาวของพี่สาวน้องสาว ที่เป็นพี่น้องกัน เนื่องจากร่วมดื่มนม จากแม่นมคนเดียวกัน

 5. ป้าที่เกิดจากการร่วมดื่มนม กับพ่อของท่าน จากแม่นมคนเดียวกัน

 6. น้าสาวที่เกิดจากการร่วมดื่มนมกับแม่ของท่าน จากแม่นมคนเดียวกัน

 7. ลูกสาวที่เกิดจากการดื่มนม คือ ผู้หญิงที่ดื่มนมจากภรรยาของท่าน โดย ท่านกลายเป็นพ่อของหล่อน เนื่องจาก หล่อนได้ดื่มนม จากภรรยาของท่าน

                 ส่วนผู้หญิงก็เช่นกัน ศาสนาห้ามไม่ให้แต่งงานกับพ่อนม (สามีของแม่นมของหล่อน),  ลูกนม, (ผู้ชายที่ดื่มนมของนาง) , พี่น้องผู้ชายของนาง ที่นางได้ร่วมดื่มนมจากแม่นมเดียวกัน, ลูกชาย ของพี่น้องผู้ชายของนาง ที่นางได้ร่วมดื่มนมจากแม่นมคนเดียวกัน, ลุง (พี่น้องผู้ชายของพ่อนม) , และน้าชาย (พี่น้องชายของแม่นม) ของนางที่เกิดจากการดื่มนม 

                และเช่นเดียวกัน ห้ามแต่งงานด้วยการเกี่ยวดองกัน ซึ่งเกิดจากการดื่มนม

 1. แม่ยาย ที่เกิดจากการดื่มนม คือ แม่นมของภรรยาของท่าน

 2. ลูกสาวของภรรยา ที่เกิดจากการดื่มนม คือ ผู้หญิงที่ดื่มนมจากภรรยาของท่าน ในขณะที่ภรรยาของท่านยังเป็นภรรยาของคนอื่น

 3. ภรรยาของพ่อ ที่เกิดจากการดื่มนม คือ ภรรยาของพ่อที่ได้ดื่มนม จากภรรยาอีกคนหนึ่งของพ่อ

 4. ภรรยาของลูก ที่เกิดจากการดื่มนม คือ ภรรยาของคนที่ได้ดื่มนมจากภรรยาของท่าน

 

        ข. ห้ามแต่งงานชั่วคราว  คือ ผู้หญิงที่ศาสนาห้ามแต่งงานด้วย เพราะมีเหตุใดเหตุหนึ่ง เมื่อเหตุนั้นหายไป ข้อห้ามการแต่งงานก็จะหายไปด้วย และ อนุญาตให้แต่งงานได้เช่นเดิม แต่ถ้าหากทำพิธีแต่งงานกับคนใดคนหนึ่ง ก่อนที่เหตุนั้นจะหายไป พิธีแต่งงานนั้นก็ถือเป็นโมฆะ

 

                                              ผู้หญิงที่ห้ามแต่งงานชั่วคราว มี 7 คน คือ

  1. ครอบครองเป็นภรรยาทั้งพี่สาวและน้องสาว ( พร้อมกันทั้งคู่ ในเวลาเดียวกัน ) ไม่ว่าผู้หญิงทั้งสองจะเป็นพี่น้องกันทางสายตระกูล หรือจากการร่วมดื่มนมกัน และไม่คำนึงว่าจะทำพิธีแต่งงานในเวลาเดียวกัน หรือคนละเวลากันก็ตาม

   2. ครอบครองเป็นภรรยาทั้งหลานสาวและป้า (พี่ น้องผู้หญิงของพ่อ), หลานสาวและน้าสาว ( พี่ น้องผู้หญิงของแม่ ) , ครอบครองผู้หญิงคนหนึ่งเป็นภรรยาพร้อมกับลูกสาวของพี่ น้องผู้หญิง หรือลูกสาวของพี่ น้องผู้ชาย หรือ ลูกสาวของลูกชายหรือลูกสาวของลูกผู้หญิงของนาง( หลานของนาง )

  3. ภรรยาที่เกินจากสี่  ศาสนาไม่ยินยอมให้ผู้ชายมีภรรยาเป็นคนที่ห้า ในเวลาเดียวกัน ทั้งที่มีอยู่กับเขาแล้วสี่คน

  4. ผู้หญิงนอกศาสนา  ศาสนาไม่อนุญาตให้ผู้ชายแต่งงานกับผู้หญิงกาฟีเราะห์  ( ผู้หญิงที่ไม่ใช่เป็นชาวคัมภีร์)

  5. ผู้หญิงที่มีสามี ศาสนาไม่อนุญาตให้ผูชายแต่งงานกับผู้หญิงที่มีสามีอยู่แล้ว และนางก็ยังคงเป็นภรรยาของสามีเดิมอยู่

  6. ผู้หญิงที่อยู่ในระยะการกักตัว (อยู่ในอิดดะห์) ไม่ว่าจะมาจากสาเหตุที่สามีหย่า หรือสามีเสียชีวิตก็ตาม

  7. ผู้หญิงที่ถูกหย่าสามตอลาก  ศาสนาไม่ยินยอมให้ สามีของผู้หญิงที่ถูกหย่าสามตอลาก แต่งงานกับนางได้อีก จนกว่านางจะแต่งงานใหม่อย่างถูกต้องกับสามีอีกคนหนึ่งเสียก่อน แล้วได้ร่วมประเวณีกับสามีใหม่ และต่อมาสามีคนใหม่ได้หย่ากับนาง จนพ้นระยะการกักตัว จึงยินยอมให้สามีคนเดิมแต่งงานใหม่กับนางได้

                                                                  ******************************

 

Ë   (คำเสนอ – คำตอบรับในพิธีการนิกะห์) Ë

1 คำเสนอ วาลี (ภาษามลายู)                                    

واهي ........اكونكاح اكن ديكو  أكن فينعن اعكو انق اكو.......... دعن ايسي كهوينن بايق.....................توني                                                                    

   คำเสนอ วาลี (ภาษาไทย)

“ข้าพเจ้าแต่งงานท่าน..........กับ...........ซึ่งเป็นบุตรีของข้าพเจ้า ด้วยสินสอดเงินจำนวน..........บาท และทองคำหนัก...........บาท”

 

 2. คำเสนอผู้รับมอบหมาย(วาเกล)จากวาลี

واهي ........اكونكاح اكن ديكواكن فينغن أعكو ...........أنق............يغ تله مواكيل أوله والي بافن أكنداكو فدا منكاحكن دي دعن أيسي كهوين بايق......... . توني                                     

โอ้................ข้าพเจ้าทำการนิกาห์ท่านกับนางสาว..........................บุตรสาวของ...............................ซึ่งบิดาของนางได้ทำการมอบหมายให้ข้าพเจ้าทำการแต่งงาน ด้วยสินสอดเงินจำนวน.....................บาท และทองคำหนัก...............................บาท

3. คำตอบรับการนิกาห์

أكو تريما له أكن نكاحن دعن إيسي كهوينن بايق يغ ترسبوت                         

ข้าพเจ้ารับการนิกาห์นี้ ด้วยสินสอดที่กล่าวมาแล้ว

4.คำตอบรับนิกาห์แทนเจ้าบ่าว

أكو تريماله أكن نكاحن باكي .............أنق .............يغ تله مواكيلن أكنداكو فدا تريما نكاح إين ، دغن إيسي كهوين بايق يغ ترسبوت إيت                               

ข้าพเจ้ารับการแต่งงานให้กับนาย........................บุตรของ.......................ซึ่งเขาได้มอบหมายให้ข้าพเจ้ารับการแต่งงานนี้ให้แก่เขา ด้วยเงินสินสอดที่กล่าวมาแล้ว

                                          Ë  การแต่งตั้งผู้มีอำนาจในการแต่งงาน (ตะห์กีม) Ë

1. คำกล่าวของเจ้าบ่าวและเจ้าสาว

            “ข้าพเจ้าขอแต่งตั้งท่าน...........................ให้ทำการแต่งงานข้าพเจ้ากับ....................บุตรของ.........................ซึ่งข้าพเจ้ายินยอมปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของท่านในเรื่องนี้ทุกประการ”

 

2.คำตอบรับของผู้ที่ถูกแต่งตั้ง

            “ข้าพเจ้ายินยอมเป็นผู้มีอำนาจในการแต่งงานท่านกับ........................บุตรของ........................”

Ë  คำกล่าวการมอบหมายของวาลีในการแต่งงาน Ë

 

            “ข้าพเจ้ามอบหมายให้ท่าน...................ทำการแต่งงานลูกสาวของข้าพเจ้า................กับนาย.................บุตรของ....................”

 

Ë  คำกล่าวในการขอความยินยอมของวาลีจากเจ้าสาว Ë

 

        “โอ้ .................พ่อจะทำการแต่งงานเธอกับ.......................... บุตรของ.......................เธอจะยินยอมหรือไม่ ?

Ë  คำกล่าวอิสติฆฟารของวาลี ก่อนทำการนิกาห์  Ë

 

استغفرالله العظيم   3 ครั้ง

 

 Ë  คำกล่าวของวาลีก่อนทำการนิกาห์ Ë

 

                                           أُزِوّجك  علي ما أمرالله به  من إمساك بمعروف  أو تسريح بإحسان  

 

                          *******************************

                                              การร่วมประเวณีในอิสลาม

 1. การร่วมประเวณีกับภรรยานั้นเป็นสิ่งจำเป็น(วายิบ) ถ้าหากไม่มีอูโซรใดๆ และเมื่อภรรยาเรียกร้อง

 2. การร่วมประเวณีกับภรรยา ในขณะที่ภรรยามีประจำเดือนนั้น เป็นสิ่งต้องห้าม( ฮารอม) 

 3. ต้องไม่พูดคุย ในขณะที่ร่วมประเวณี

 4. ก่อนร่วมประเวณีต้องมีการเล้าโลม ให้เกิดอารมณ์ทั้งสองฝ่ายเสียก่อน 

 5.  ก่อนจะเริ่มร่วมประเวณี ให้อ่านดุอา ดังนี้

 

                                 بسم الله اللهم جنبنا الشيطان  و جنب الشيطان عن ما رزقتنا                

                                                                                                                                                                                                                            

                   ผู้ที่จำเป็นจะต้อง( อาบน้ำวายิบ) ทำความสะอาดร่างกายมี 6 ประการ

       1. มีเฮด ( หลังจากเลือดประจำเดือนหยุด ) 

       2. คลอดบุตร

      3. นีฟาส ( เลือดหลังคลอดบุตรหยุด )

      4. การตาย นอจากตายชาฮีด ( ชาย -หญิง )

      5. มียูนุบ น้ำอสุจิหลั่งออกมา ( ชาย - หญิง )

      6. หลังจากร่วมประเวณี ( ชาย - หญิง )

 

                                รูก่นในการอาบน้ำวายิบ(ยกฮาดัสใหญ่) มี 3 ประการ

    1.จะต้องล้างนายิส (สิ่งสกปรก) ออกจากร่างกายให้หมด 

    2. ต้องเหนียด นึกในใจว่า ข้าพเจ้ายกฮาดัสใหญ่ออกจากร่างกายของข้าพเจ้า เพื่ออัลลอฮ์ตาอาลา)    

       ในขณะที่น้ำถูกส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย

    3.รดน้ำให้ทั่วร่างกาย(ให้อวัยวะทุกส่วน และขนทุกเส้นเปียกน้ำให้ทั่ว )

 

                                     สิ่งที่ต้องห้ามสำหรับผู้ที่มีฮาดัสใหญ่ (ยูนุบ) มี 5 ประการ ดังนี้

      1.ห้ามละหมาด ทั้งฟัรดู และ สุนัต

      2. ห้ามฏอวาฟ บัยตุลลอฮฺ ทั้งฟัรดู และสุนัต

      3. ห้ามจับต้อง, ถือ,พาอัล กุรอาน

      4. ห้ามอ่าน อัล กุรอาน ไม่ว่าดัง หรือ เบ่าๆ

      5. ห้ามเข้าไปพักในมัสยิด

 

                                                                ********************

 

                                                           สิทธิของภรรยาในอิสลาม

        สิทธิของภรรยาที่จะได้รับจากสามี ตามหลักการของอิสลาม มีดังนี้ 

 1. ความเป็นธรรม หรือความยุติธรรมที่จะได้รับจากสามี ถ้าหากว่าสามี มีภรรยามากกว่าหนึ่งคน

 ท่านศาสดา ได้กล่าวว่า ผู้ใดที่มีภรรยาสองคน แล้วไม่ให้ความยุติธรรมระหว่างทั้งสอง จะเกิดมาในวันกียามะห์ โดยเนื้อจะหลุดไปซีกหนึ่ง

2. จะต้องรักษาสิทธิ การเป็นคู่ครองและจะต้องปฏิบัติให้ครบถ้วนในสิทธิต่างๆของนาง

3. จะต้องรักษาความลับต่างๆของนางและต้องไม่เปิดเผยจุดด้อยของนางแก่ผู้ใด   

4. สอนหลักคำสอนศาสนาให้แก่นาง   เกี่ยวกับหลักศรัทธาต่างๆ การประกอบศาสนกิจ  สิทธิสามีภรรยา  ฯลฯ

5.  คุ้มครองปกป้องภยันตราย ที่จะเกิดขึ้นแก่นาง

6.  จะต้องได้รับเงินนาฟาเกาะห์  หรือค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน  โดยไม่สุรุ่ยสุร่าย

7.  จะต้องได้รับเสื้อผ้าอาภรณ์ที่เหมาะสมตามฤดูกาล

8. จะต้องได้รับสถานที่อยู่อาศัยที่ให้ความปลอดภัยแก่นาง

9. นางจะต้องได้รับสิทธิการเยี่ยมพ่อแม่ของนาง  ตามโอกาสต่างๆ

10. นางจะต้องได้รับสิทธิในการไปประกอบพิธีฮัจญ์ หากมีความสามารถ

11. จะต้องได้รับคำ ชี้แนะแนวทางที่ถูกต้องให้แก่นาง และห่างไกลจากหนทางที่ชั่วร้าย

12 .สรรหาปัจจัยต่างๆที่ทำให้สนุกสนาน เบิกบานใจเพื่อ สร้างความรักและความอบอุ่นแก่นาง 

13. ดูแลรักษาทรัพย์สินส่วนตัวของนาง และไม่ใช้จ่ายทรัพย์สินของนางจนกว่านางจะอนุญาต

14. นางจะต้องได้รับการห่วงใยและรักษาเกียรติศักดิ์ศรีจากสามี

15. นางจะต้องได้รับสินสอดทองมั่นในการแต่งงานของนาง (มาฮัรกะฮ์เวน)

                                       

                                              สิทธิของสามีในอิสลาม

       สิทธิของสามีตามหลักการของอิสลาม มีดังนี้ 

 1. เป็นหัวหน้าครอบครัว รักษาปกป้อง ปกครองสมาชิกในครอบครัว

 2. ได้รับการเคารพภักดี เชื่อฟัง และปฏิบัติตาม คำสั่งใช้ และคำสั่งห้าม ในสิ่งที่ไม่ขัดต่อหลักการศาสนา

 3. ภรรยาจะต้องอาศัยอยู่ในบ้านของสามี ที่กำหนดไว้ให้ จะออกจากบ้านนั้นไม่ได้จนกว่าจะได้รับอนุญาตเสียก่อน

 4. สามีได้รับการยิ้มแย้ม แจ่มใส พูดจา นิ่มนวน อ่อนหวาน เอาอกเอาใจ จากภรรยา

5. ได้รับการปกป้องเกียติ ศักดิศรี และทรัพย์สินจากภรรยาของตน 

 6. ต้องไม่ดูหมิ่นดูแคลนสามี ด้วยความร่ำรวยมั่งคั่ง,ชาติตระกูล และความสวยของนาง

 7. ได้รับการตอบรับจากภรรยา เมื่อสามีต้องการร่วมหลับนอน

 8. ภรรยาจะต้องมอบความรัก และประดับประดาเรือนร่างของนางด้วยเครื่องประดับ และน้ำหอม เพื่อสามี

 

                                          สิทธิและหน้าที่ร่วมกันระหว่าง สามีและภรรยา

 1. ทั้งสามีและภรรยาจะต้องใช้คำพูด ด้วยถ่อยคำที่สุภาพ นิ่มนวน อ่อนโยน มีมารยาทในการพูดคุย ห่างไกลจากคำพูดที่หน้ารังเกียจ ไม่สุภาพ

2. พยายามปรับปรุงความสัมพันธ์ให้สดชื่นอยู่เสมอ

3. สามี ภรรยาจะต้องรักษาหน้าที่ของตนให้ครบถ้วนสมบูรณ์

4. พยายามตักเตือนและให้วิชาความรู้ซึ่งกันและกันอยู่เสมอ

5. ต้องเป็นที่ไว้วางใจและเข้าใจในลักษณะนิสัยใจคอซึ่งกันและกัน

6. ต้องมีความรัก ความเมตตา และความเห็นอกเห็นใจต่อกัน 

7. ต้องแสดงอารมร่วม ไม่ว่าจะมีความสุข หรือความทุกข์ ในการดำเนินชีวิตร่วมกัน

8. ต้องแสดงความหึงหวงระหว่างสามี ภรรยา ให้พอประมาณ

9. ต้องมีความอดทน อดกลั้นและรู้จักยับยั้งชั่งใจ เมื่อฝ่ายหนึ่งได้ปฏิบัติ ในสิ่งที่อีกฝ่ายหนึ่งไม่ชอบ

10. ทั้งสามี ภรรยา ต้องรู้จักกับคำว่าขอโทษ และให้อภัย ในการดำเนินชีวิตคู่

11. สามี ภรรยาจะต้องปกปิดความลับ หรือสิ่งที่เป็นปมด้อย ของอีกฝ่ายหนึ่ง

 

                                                                             สวัสดี

   

 

                                                       ผู้รวบรวม และจัดทำ

                                                      อิ่มร่อน โต๊ะตาเหยะ

                                                       16   มิ.ย. 2553

หมายเลขบันทึก: 691247เขียนเมื่อ 27 มิถุนายน 2021 10:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 มิถุนายน 2021 11:09 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท