"ทฤษฎีดนตรีบำบัด" บรรเทาความเจ็บปวด+ลดความกังวล


ทฤษฎีดนตรีบำบัด เป็นทฤษฎีทางการแพทย์ที่เอาเรื่องของศาสตร์ด้านจิตวิทยาและศิลป์ทางด้านดนตรีเข้าไว้ด้วยกัน ดนตรีจะช่วยให้คนฟังผ่อนคลายจากอาการเจ็บป่วย และจากความกังวล หรือลดความเครียด นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยที่ศึกษาในเรื่องของการฟังดนตรีบำบัดของผู้ป่วยก่อนที่จะเข้ารับการผ่าตัดว่าช่วยลดความเครียดและความกังวลได้ เพราะทำให้ฮอร์โมนที่เกี่ยวกับความเครียดลดลงมากกว่าการใช้ยาลดความเครียด การฟังดนตรียังช่วยลดภาวะซึมเศร้าได้อีกด้วย โดยช่วยปรับให้อารมณ์สงบขึ้นทำให้นอนหลับง่ายขึ้น เรียกได้ว่าดนตรีบำบัดเปรียบเหมือนยาที่มีผลกับสภาพจิตใจ ช่วยกระตุ้นสมอง ปรับระดับฮอร์โมนที่เกี่ยวกับความเครียดให้คนฟังรู้สึกผ่อนคลาย

ลักษณะของดนตรีบำบัด

- ควรเป็นเพลงบรรเลง ไม่ควรมีเนื้อร้อง มีเสียงตามธรรมชาติ เช่น เสียงนก น้ำตก เป็นต้น

- มีจังหวะที่ช้า มั่นคง สม่ำเสมอประมาณ 70-80 ครั้ง/นาที และมีทำนองราบเรียบ นุ่มนวล ระดับเสียงปานกลาง-ต่ำ

- ความเข้มของเสียงไม่ดังมาก ขึ้นอยู่กับความรู้สึกของผู้ฟัง เนพราะความดังสามารถกระตุ้นให้ความเจ็บปวดของผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นได้

- ประเภทของดนตรีที่นิยมใช้  พิณ เปียโน กีตาร์ วงออร์เคสตร้า แจ๊สแบบช้า ป๊อป คลาสสิค เป็นต้น

- ควรให้ผู้ฟังฟังดนตรีที่ผู้ฟังมีความคุ้นเคย และความชอบ

กลุ่มผู้ป่วยที่ใช้ดนตรีบำบัดรักษาโรค

- คนพิการ ผู้ป่วยเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต

- ผู้ป่วยที่ร่างกายได้รับการบาดเจ็บ

- ผู้ป่วยทางจิตประสาท

- ผู้ป่วยเป็นอัลไซเมอร์

- เด็กพิเศษ

ข้อดีของดนตรีบำบัด

- ลดความเจ็บปวด

คนไข้ที่ผ่านการผ่าตัด เมื่อได้ฟังดนตรีจะลดอาการปวดและต้องการใช้ยาแก้ปวดน้อยลง

- ทำให้เลือดลมดี

การฟังเพลงท่อนเพลงค่อยๆเพิ่มความดังที่ละน้อย ทำให้เส้นเลือดขยาย เลือดลมเดินสะดวก

- ช่วยควบคุมการหายใจ

เพลงจังหวะเร็วทำให้อัตราการหายใจ การเต้นของหัวใจ ความดันเลือดเพิ่มขึ้น

- ช่วยให้ฟื้นตัวเร็ว

ในทารกที่คลอดก่อนกำหนด มีการทดสอบพบว่า ดนตรีบำบัดสามารถช่วยลดจำนวนวันที่อยู่ในตู้อบและเพิ่มน้ำหนักตัวได้

- ช่วยต้านความซึมเศร้า

ช่วยลดความเครียด ความกังวล และไม่อยากอาหารของผู้ป่วยได้

- กระตุ้นสมอง

การฟังดนตรีช่วยกระตุ้นสมองส่วนฮิปโปแคมปัส เพิ่มประสิทธิภาพในส่วนความจำระยะยาวของสมอง

ซึ่งดนตรีบำบัดอาจไม่ได้ทำให้โรคร้ายแรงหายไปได้ แต่เสียงดนตรีจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้อาการต่าง ๆ ดีขึ้นได้จากการรักษาทางใจโดยอ้อม

หมายเลขบันทึก: 690244เขียนเมื่อ 26 เมษายน 2021 20:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 เมษายน 2021 20:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท