แผนที่เเละเขี้ยวปลวก : เศษเขี้ยวแทะ


แผนที่เเละเขี้ยวปลวก : เศษเขี้ยวแทะ

นั่น, แผนที่ประเทศ – เศษเขี้ยวแทะ     เป็นรอยเหวอะร่องแหวะและเว้าแหว่ง

กระดาษปรุทะลุคล้ายรูปลายแทง         ดูกรังแห้งแข็งกรอบ -- ปลวกลอบกิน

พอเผลอตา เผลอใจได้ทีปลวก            ก็ยกพวกแย่งกัดจนขาดวิ่น

ปลวกเลวเลวโลดแล่นทั้งแผ่นดิน         ทึ้งจนบิ่นบ่อนบ้านทุกด้านแดน

พอเผลอพลั้งวางมือ มิรื้อกวาด             ก็เคี้ยวกลืนกระดาษขาดทั้งแผ่น

ปลวกชั่วชั่วตัวร้ายทำลายแคว้น            ระดมพรรคแห่แหนเป็นแสนยา ฯ

เกิดจากไหนนะปลวก พวกปากเคี้ยว      จึงกรามเขี้ยวคมแกร่งและแข็งกล้า

กองทัพปลวกเกิดอย่างไร ใครก่อมา      จึงกำลังอหังการ์เต็มท่าที

จากดินถมล่มภูเขาเอามาบ้าน               หรือจากลานอันขุดโคก ยกมานี่

ฤๅภาพเห็นสู้เฟ้นหาว่าดินดี                  ฤ ใจที่มิสำนึก มิตรึกตรอง

จึงเหมือนขนขุมค่ายอันร้ายกาจ             อนุญาตให้ทัพเขี้ยวมาเที่ยวท่อง

จนระห่ำย่ำศึกคึกคะนอง                       เพริดผยองดังพญาเหนือฟ้าดิน ฯ

นั่น, ทุกทิศแผนที่มีปลวกทึ้ง                 เป็นปลวกซึ่งคงอยู่ มิรู้สิ้น

เห็นแต่ปลวกเต็มตาจนชาชิน                 เห็นประเทศสังเวชวิ่นจนชินชา

ก็เราแหละยกรังมาสร้างปลวก                ให้รุมพวกรวมพลจนพร้อมหน้า

ด้วยเผลอพลั้งมิตั้งจิตพิจารณา               เผลอปัญญามิตั้งตนบนคลองธรรม

เมื่อไร้ดุลคุณค่าศรัทธาศีล                   ปลวกจึงปีนตีนป่ายไล่ขย้ำ

เมื่อเอาดุลบัญชีมาชี้นำ                         จึงตกต่ำใต้ดุลทุนปลวกมอม

เมื่อมีสิทธิ์ มิรู้ค่าอาญาสิทธิ์                    มองอามิสอวยทานว่าหวานหอม

คำกลวงกลวงลวงล่อก็ยินยอม                ปลวกจึงล้อมรวบรัดกัดเสรี ฯ

จะรักษาแผนที่แผ่นที่รัก                         ควรหวงศักดิ์รักสิทธิ์ตนให้ล้นปรี่

ควรมั่นจิตอิสระเป็นคดี                           ด้วยวิถีธรรมาธิปไตย

จะดูแลเรือนร้านบ้านแสนรัก                    ควรตระหนักตำรับการขับไล่

เอาความรักเสรี ที่เป็นไท                        กำจัดภัยปลวกสิ้นแผ่นดินเรา ฯ

                                                                                                 เทิดไท นามแทน

“สืบสาน สร้างสรรค์วรรณกรรมการเมือง”

วรรณกรรมเป็นผลผลิตทางความคิดซึ่งมักประพันธ์ขึ้นจากจินตนาการควบคู่ไปกับความจริง โดยมีเรื่องราวต่าง ๆ ในสังคมเป็นวัตถุดิบในการสร้างสรรค์ผลงาน การอ่านวรรณกรรมจึงทำให้เข้าใจชีวิตและสังคมมากขึ้น (หน้า๔) จึงนับว่าเป็นเรื่องน่ายินดีที่สังคมไทยยังมีการสนับสนุนการสร้างสรรค์วรรณกรรมน้ำดีผ่านเวทีรางวัล พานแว่นฟ้า ที่เปิดโอกาสให้เหล่านักเขียนเข้าร่วมประชันฝีมือเพื่อสร้างความตื่นตัวในวงวรรณกรรมและการเมืองไทย ในปี ๒๕๖๓ ที่ผ่านมานี้หนึ่งในเพชรน้ำดีอันดับหนึ่ง คือ อดีตรองผู้อำนวยการที่ได้ผันตัวมาเป็นนักเขียนมากฝีมืออย่างเทิดไท นามแทน ด้วยผลงานที่ชื่อว่า “แผนที่และเขี้ยวปลวก”

แผนที่และเขี้ยวปลวกกล่าวถึงการเดินทางลัดเลาะลอบกัดกินแผนที่ของปลวก ทิ้งไว้ซึ่งเศษเขี้ยวแทะเป็นรอยเหวอะเว้าแหว่งทะลุและแห้งกรอบของ แผ่นที่ อันสื่อได้ถึงประเทศไทยที่เต็มไปด้วยนักการเมืองผู้บ่อนทำลายโกงกินชาติ(ปลวก) หวังเพียงผลประโยชน์ส่วนตนที่ยังคงอยู่ไม่รู้หายไป ด้วยน้ำมือประชาชนผู้เลือกคนเหล่าพญาปลวกมาทำลายแผนที่แผ่นงามเพราะเห็นค่าเงินมากกว่าเข้ามาศักดิ์ศรี

แผนที่และเขี้ยวปลวกมีความโดดเด่นเรื่องการใช้สัญลักษณ์ ปลวกเป็นสัญญะแทน นักการเมือง ผู้บ่อนทำลายโกงกินประเทศให้ฉิบหายไปทีละนิด ๆ และกวียังมีกลวิธีจับคู่สัญญะปลวกให้คู่กับแผนที่ ด้วยการสร้างให้ปลวกกัดกินแผนที่ แผนที่ประเทศไทย ที่ที่เป็นบ้านเป็นที่ซุกหัวนอนของนักการเมืองและประชาชนที่เทิดทูนบูชาเงินมากกว่าศักดิ์ศรีหน้าี่พ

ลเมืองประชาธิปไตย ซึ่งปลวกเป็นสัญญะที่สร้างขึ้นจากประสบการณ์จริงของกวี โดยกวีเล่าว่า จากประสบการณ์เดิมของตนนั้น มีปลวกกัดกินหนังสือที่เขารัก จึงได้นำสถานการณ์ดังกล่าวมาเป็นแรงบันดาลใจในการแต่ง ซึ่งเมื่อเปรียบกับเนื้อความในบทกวี การปลวกกัดกินแผนที่ประเทศก็เหมือนกับที่นักการเมืองกัดกินทำลายแผ่นดินแดนสยามที่หวงแหน หลังจากนั้นกวีก็พบว่าตนเป็นผู้นำปลวกเหล่านั้นเข้ามากัดกินหนังสือ กัดกินแผนที่แผ่นนี้หรือประเทศนี้เอง ประสบการณ์ดังกล่าวสร้างเสริม

ให้กวีรังสรรค์ผลงานได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น จึงถ่ายทอดแนวคิดผ่านกวีบทนี้ได้อย่างยอดเยี่ยม และกวียังเสริมความชัดเจนในสัญญะแผนที่ด้วยการให้ภาพว่าเป็นแผนที่เก่าผุพังแห้งกรอบ อันสื่อได้ถึงประเทศในตอนนี้ที่ถูกกัดกินทำลายจนสภาพซอมซ่อเหมือนแผนที่แผ่นนั้น หลังจากที่ใช้ปลวกกัดกินแผนที่ให้ภาพแทนนักการเมืองทำลายประเทศแล้ว ในตอนท้ายกวียังปลุกมโนคติของผู้อ่านด้วยการปลุกใจให้รู้จักรักและหวงแหนแผนที่แผ่นนี้ ดังบทกวีที่ว่า

"จะรักษาแผนที่แผ่นที่รัก  ควรหวงศักดิ์รักสิทธิ์ตนให้ล้นปรี่
ควรมั่นจิตอิสระเป็นคดี     ด้วยวิถีธรรมาธิปไตย" (หน้า ๒๐๗)

ดังนั้นจะสังเกตเห็นได้ว่า กวีค่อย ๆ ปลุกมโนคติของผู้อ่านได้อย่างแยบยลด้วยการใช้สัญญะปลวกกัดกินแผนที่ให้ผู้อ่านได้เห็นภาพเศษเขี้ยวรอยแทะ ร่องรอยการบ่อนทำลายประเทศของนักการเมืองอย่างชัดเจน แล้วจึงให้แง่คิดแก่ผู้อ่านให้ค่อย ๆ ตระหนัก ปลุกมโนสำนึกว่าแท้จริงแล้วใครกันแน่เป็นผู้นำมาพาปลวกเลวทรามเหล่านี้มาทำลายบ้านของเรา เป็นการตั้งคำถามที่ผู้เขียนตั้งใจแฝงไว้อยู่ตลอดทั้งเรื่อง เช่น ‘เกิดจากไหนนะปลวก พวกปากเคี้ยว จึงกรามเขี้ยวคมแกร่งและแข็งกล้า...’ (หน้า ๒๐๖) 

ทำให้เห็นว่าแม้กวีบทนี้จะโดดเด่นด้วยการใช้สัญลักษณ์ ยังปรากฏการใช้ปฏิปุจฉาอยู่ตลอด หลังจากนั้นจึงปลุกใจให้รู้จักรักและหวงแหนแผนที่แผ่นนี้ กำกัดปลวกเลวให้สิ้นซากไป ให้เห็นได้ว่ากวีมีการวางเค้าโครงของเนื้อหาและลำดับความคิด และเมื่ออ่านกวีนิพนธ์นี้จบแล้วจะทำให้ผู้อ่านได้คิดทบทวนและตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ของตนในฐานะพลเมืองประชาธิปไตย ซึ่งเป็นสิ่งทิ้งท้ายที่กวีต้องการนำเสนอ กวีหยิบเรื่องราวที่ผ่านเข้ามาในชีวิตจากจุดเล็กน้อยที่หลายคนมองผ่าน แล้วนำมากลั่นกรองผูกเรีย

งร้อยเป็นเรื่องราว สร้างสรรค์บทประพันธ์ที่มีคุณค่าสามารถปลุกมโนธรรมของคนในสังคม ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ช่วยสร้างพลังคุณค่าให้แก่ประเทศไทย ช่วยสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนที่เป็นพลังในการขับเคลื่อนชาติ ขับเคลื่อนสังคมประชาธิปไตยจอมปลอมนี้ให้เข้าใกล้ประชาธิปไตยที่แท้จริงไปอีกขั้น

กวีนิพนธ์นี้ถ่ายทอดแนวคิดผ่านสายตาของกวี ทำให้ผู้อ่านได้รับรู้ทัศนคติของกวีที่มีต่อสังคมการเมือง มีการใช้น้ำเสียงประชดประชันเสียดสี แสดงออกถึงการเสียดสีสังคมอันเน่าเฟะที่เป็นฝีมือจากนักการเมืองต่ำตม และเสียดสีประชาชนที่เห็นแก่ได้ เห็นค่าแต่เพียงเงินทองจนลืมรู้ค่าตระหนักในศักดิ์ของชนชาวประชาธิปไตย น้ำเสียงประชดชันนี้เองเป็นตัวแทนของกวีในการสื่ออารมณ์ความคิด

แผนที่และเขี้ยวปลวกเป็นกวีนิพนธ์ที่มีรูปแบบตายตัว เหมาะสำหรับการอ่านออกเสียงทำนองเสนาะเพื่อสื่อเรื่องเเละความไพเราะ รูปแบบฉันทลักษณ์ กวีนิพนธ์นี้นิยมใช้รูปแบบฉันทลักษณ์กลอนแปด แต่มีการประพันธ์จำนวนคำบางวรรคที่ยืดหยุ่นไม่ตายตัวอย่างกรอบของกลอนแปดหรือกลอนสุภาพบ้าง แต่ฉันทลักษณ์โดยรวมยังยึดรูปแบบฉันทลักษณ์ของกลอนแปดตามขนบเดิมอยู่ และช่วงจังหวะสัมผัสเป็นไปตามขนบเดิม ในฉันทลักษณ์ข้อกำหนดสัมผัสของกลอนแต่เดิมก็มีความยืดหยุ่นที่จะให้ไกวสัมผัสได้ในตำแหน่งคำรับสัมผัสวรรครับ และวรรคส่งที่จะรับสัมผัสในตำแหน่งที่ ๓ ได้อาจเป็นตำแหน่งอื่น เช่น ตำแหน่งที่ ๑ ตำแหน่งที่ ๕ แต่กวีจะนิยมรับสัมผัสในตำแหน่งที่ ๓ เกือบทั้งสิ้น กวีก็ยังยึดขนบการรับสัมผัสแบบเดิมอยู่มาก ซึ่งการที่กวีเลือกใช้ที่มีรูปแบบตายตัวอย่างกลอนแปดนับว่ามีความสอดคล้องกับเนื้อหา เพราะเป็นรูปแบบที่มีจังหวะชัดเจน เมื่ออ่านแล้วช่วยเพิ่มเสริมอรรถรสอารมณ์ของสิ่งที่ต้องการเสนอได้ และเ

มื่อสังเกตการใช้ภาษาของกวีนิพนธ์จะพบว่ากวีเลือกเฟ้นภาษามาเป็นอย่างใช้ได้ดี ลึกซึ้ง สละสลวย สื่ออารมณ์ได้ชัดเจน และมีการใช้สัมผัสระหว่างวรรค ใช้ชุดของคำเพื่อเพิ่มความไพเราะให้แก่กวีนิพนธ์นี้ เช่น

ปลวกเปลวเลวโลดแล่นทั้งแผ่นดิน ทึ้งจนบิ่นบ่อนบ้านทุกด้านแดน (หน้า ๒๐๖)

แผนที่และเขี้ยวปลวก เป็นบทกวีสะท้อนสังคมผ่านการสรรคำอย่างลึกซึ้งสละสลวยและปรากฏสัญลักษณ์อันโดดเด่น ถ่ายทอดเนื้อหาได้เป็นอย่างดี ซึ่งมีการสะท้อนสังคมในแง่ของการใช้เขี้ยวปลวกเป็นสัญลักษณ์การโกงกินชาติและใช้แผนที่สื่อความหมายของเนื้อหาหรือประเทศไทย ให้มุมมองความคิดของกวีที่มีต่อนักการเมือง เพราะเราปฏิเสธไม่ได้เลยว่า วาทกรรมขายชาติ มีมูลเหตุมาจากการเมืองที่ไร้ซึ่งความสะอาดทำให้ชาติไม่เจริญ ในประเด็นนี้ยังให้แง่คิดเกี่ยวกับ “วาทกรรมรักชาติกับการควบคุมทางสังคม” นอกจากจะสะท้อนสังคมดังที่กล่าวไปข้างต้นแล้วยังสะท้อนให้ผู้อ่านได้ทวนตนเองผ่านคำถามปฏิปุจฉาไม่ใช่การยัดเยียดความคิดแต่เป็นการหล่อหลอมจิตสำนึกผ่านบทกวีเพียงไม่กี่บท ซึ่งทำให้กวีนิพนธ์บทนี้เหมาะสมกับตำแหน่งชนะเลิศอันดับหนึ่งจากรางวัลพานแว่นฟ้าอย่างไม่มีข้อสงสัย

อ้างอิง
เทิดไท นามแทน.(๒๕๖๓). สิ่งที่รออยู่หลังเส้นชัย. กรุงเทพมหานครฯ : สำนักงานเลขธิการสภาผู้แทนราษฎร.


หมายเลขบันทึก: 689295เขียนเมื่อ 3 มีนาคม 2021 23:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มีนาคม 2021 23:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท