การพัฒนากระบวนการคิดที่มีผลต่อความคิดสร้างสรรค์ในนักเรียนชั้นอนุบาล 3 โรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านบัวใหญ่) เทศบาลเมืองบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา


ชื่อเรื่อง การพัฒนากระบวนการคิดที่มีผลต่อความคิดสร้างสรรค์ในนักเรียนชั้นอนุบาล 3 โรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านบัวใหญ่)  เทศบาลเมืองบัวใหญ่  จังหวัดนครราชสีมา

ผู้วิจัย      ฐิยาภา   ตันศรีศิริพล

ปีที่วิจัย           2561

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ ดำเนินการในลักษณะการวิจัยและพัฒนา (Research and development) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิดที่มีผลต่อความคิดสร้างสรรค์ในนักเรียนชั้นอนุบาล 3 โรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านบัวใหญ่)  เทศบาลเมืองบัวใหญ่  จังหวัดนครราชสีมา โดยวัตถุประสงค์  ดังนี้

1. เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ ด้านความคิดคล่องแคล่ว ความคิดริเริ่ม ความคิดยืดหยุ่น และความคิดละเอียดลออของนักเรียนชั้นชั้นอนุบาล 3  ก่อนและหลังได้รับการฝึกคิดแบบระดมพลังสมอง

2. เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ ด้านความคิดคล่องแคล่ว ความคิดริเริ่ม ความคิดยืดหยุ่น และความคิดละเอียดลออของนักเรียนชั้นอนุบาล 3 ก่อนและหลังได้รับการฝึกคิดแบบมีประสิทธิภาพตามทฤษฎีของเดอ โบโน

3. เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ ด้านความคิดคล่องแคล่ว ความคิดริเริ่ม ความคิดยืดหยุ่น และความคิดละเอียดลออของนักเรียนชั้นอนุบาล 3 ที่ได้รับการฝึกคิดแบบระดมพลังสมอง กับนักเรียนที่ได้รับการฝึกคิดแบบมีประสิทธิภาพตามทฤษฎีของเดอโบโน

กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาล 3  โรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านบัวใหญ่) เทศบาลเมืองบัวใหญ่  จังหวัดนครราชสีมา ปีการศึกษา 2561  จำนวน 1 ห้องเรียน การได้มาของกลุ่มทดลองใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยวิธีจับสลากเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมจำแนกเป็น

1. กลุ่มทดลอง ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาล 3 โรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านบัวใหญ่)  เทศบาลเมืองบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 20 คน

2. กลุ่มควบคุม ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาล 3 โรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านบัวใหญ่) เทศบาลเมืองบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 20 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  คือ คู่มือการพัฒนากระบวนการคิดแบบระดมพลังสมอง คู่มือ การพัฒนากระบวนการคิดแบบมีประสิทธิภาพตามทฤษฎีของเดอ โบ โน และแบบวัดความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งผู้วิจัยได้สร้างขึ้น  โดยประมวลจากทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง การวิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนา ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย ค่าความเชื่อมั่น โดยใช้สูตร KR-20 ของ Kuder Richardson วิเคราะห์ดัชนีความยากง่ายและอำนาจจำแนกของข้อสอบ ค่า t-test และการคำนวณหาค่า IOC

ผลการวิจัย พบว่า

  1. 1. นักเรียนชั้นอนุบาล 3 โรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านบัวใหญ่)  เทศบาลเมืองบัวใหญ่  จังหวัดนครราชสีมา ที่ได้รับการฝึกคิดแบบระดมพลังสมองมีความคิดสร้างสรรค์โดยรวมและรายด้านทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านความคิดคล่องแคล่ว ด้านความคิดยืดหยุ่น ด้านความคิดริเริ่ม และด้านความคิดละเอียดลออ สูงกว่าก่อนได้รับการฝึกระดมสมองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
  1. 2. นักเรียนชั้นชั้นอนุบาล 3 โรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านบัวใหญ่) เทศบาลเมืองบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมาที่ได้รับการฝึกคิดแบบมีประสิทธิภาพตามทฤษฎีของเดอ โบโน มีความคิดสร้างสรรค์โดยรวมและรายด้านทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านความคิดคล่องแคล่ว ด้านความคิดยืดหยุ่น ด้านความคิดริเริ่ม และด้านความคิดละเอียดลออ  สูงกว่าก่อนได้รับการฝึกคิดแบบมีประสิทธิภาพตามทฤษฎีของ เดอโบโน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
  1. 3. นักเรียนชั้นอนุบาล 3 โรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านบัวใหญ่) เทศบาลเมืองบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ที่ได้รับการฝึกคิดแบบระดมพลังสมองและแบบมีประสิทธิภาพตามทฤษฎีของ เดอ โบโน มีความคิดสร้างสรรค์ทั้งโดยรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน
หมายเลขบันทึก: 688991เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2021 19:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2021 19:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท