วิทยานิพนธ์หรือวิทยานิมืดมน ( ตอนที่ 1 )


วิทยานิพนธ์ ปัญหา วิจัย ระเบียบวิธีวิจัย

ผมได้มีโอกาสเป็นที่ปรึกษาอย่างไม่เป็นทางการของผู้ที่ทำวิทยานิพนธ์หลายๆ ท่าน ซึ่งมันเป็นโอกาสที่ทำให้ผมได้เพิ่มพูนความรู้ได้อย่างไม่รู้ตัว และผมได้เจอปัญหาที่แสนปวดหัวของผู้ที่ทำวิทยานิพนธ์มากมาย ราวกับได้ทำงานไปกับเขาด้วย

เริ่มตั้งแต่การเลือกหัวข้อ นับเป็นปัญหาหนักอกของผู้ที่เลือกเรียนแผนที่ต้องทำวิจัย ถ้าโชคดีก็จะได้หัวข้อที่ อาจารย์มีความสนใจอยู่แล้ว อาจารย์ก็จะมอบประเด็นให้ไปศึกษาต่อยอด แต่ถ้าไม่เราก็ต้องไปไขว่คว้า หาหัวข้อ แน่นอนว่างานวิจัยนั้นมันต้องไม่ซ้ำ และเป็นงานวิจัยในเรื่องที่มีปัญหา ในตอนนี้แหละครับ เป็นขั้นตอนที่มันส์มากของคนทำวิจัย เพราะจะดูหัวข้อซ้ำหรือไม่ซ้ำอย่างเดียวไม่ได้ จะต้องอ่านเนื้อหาภายในด้วย ผมได้หยิบงานวิจัยภาษาไทยเรื่องเกี่ยวกับ โฆษนาบนเว็บไซต์มา ซึ้งหัวข้อตรงกับประเด็นที่กำลังสนใจ โดยอ่านคร่าว ๆ ตั้งแต่ต้นจนจบ สิ่งที่พบคือการอ้างอิงมากมาย อ้างอิงกันทุกบรรทัดก็ว่าได้ อ่านแล้วก็ต้องสะดุดกับคำอ้างอิงพวกนี้ และศัพท์แสงที่ใช้ก็เรียกว่า ถ้าไม่อยู่หอคอยงาช้างก็จะอ่านไม่รู้เรื่อง ประเด็นเรื่องภาษานี้ เคยถามผู้ที่เข้าใจในภาษาได้ความว่าเป็นเพราะเรายังไม่ชินกับภาษานั้น ๆ ภาษานั้น ๆ ไม่ได้ยากเลย ซึ่งในความเห็นผม บางคำแปลมาเป็นไทยแล้วงงหนักไปกันใหญ่ ผมได้นำวิจัยเรื่องนี้ไปให้คนที่ไม่ได้อยู่ในสายวิชาครู ผลปรากฏว่าไม่รู้เรื่องเหมือนกัน อ่านมาแล้วก็งงเหมือนเดิมว่า สรุปแล้วได้อะไร

ผมต้องใช้เวลาหลายรอบมากกว่าจะเข้าใจวิจัยเล่มนั้นต้องการสื่อถึงอะไรเสนอถึงอะไร ผมว่าปัญหานี้ผู้ทรงความรู้ทุกท่านคงมองว่ามันก็เป็นปัญหาของคนที่ยังไม่เชี่ยวชาญในการอ่านหรือมีความรู้เพียงพอ แต่ในความรู้สึกผมกลับมองว่า นอกจากงานวิจัยที่มีรายละเอียดทางวิชาการ และอ่านยาก ๆ ขอให้มี Version ที่อ่านง่าย  ๆ สำหรับชาวบ้านหรือพนักงานบริษัท คนทั่วไปอ่านรู้เรื่องและนำไปใช้ได้ ไม่เช่นนั้นแล้ววิจัยดี ๆ ของนักศึกษาหรือท่านอาจารย์ อาจจะสูงส่งเกินนำมาใช้

เรื่องระเบียบวิธีวิจัย ก็เป็นเรื่องหินทีเดียว ที่ผู้ที่ทำวิจัยทุกท่านเจอกัน ตั้งแต่การเลือก รูปแบบการวิจัย สูตรคนนั้นสูตรคนนี้ ทำแบบนี้ก็ไม่ได้แบบโน้นก็ผิดกฎ ระเบียบหยุมหยิมแบบนี้ บางทีคนที่อยากคิดอะไรใหม่ ๆ เจอระเบียบขั้นตอนตามหลักวิชาการเยอะ ๆ ก็พาลเบื่อ หันไปทำตาม ๆ กัน รูปแบบเคสเดียวกันกับคนที่เคยทำมาแล้ว ซึ่งบางเรื่องมันก็พิสูจน์กันอยู่แล้วว่ามันดีกว่า เช่นการวิจัยเรื่องบทเรียนออนไลน์กับการสอนปกติ ซึ่งก็ใช้ตัวแปรเดิม ๆ รูปแบบเดิม ๆ พูดไปก็เหมือนว่าตัวเอง ถ้าย้อนเวลากลับไปได้คงจะไม่ทำแบบนี้ ต่อมาผมก็ได้ชี้แนะคนอื่น ๆ ในเรื่องนี้ว่าให้สร้างสิ่งใหม่ ๆในงานวิจัย อย่าคิดว่าทำเพื่อจบ ๆ ไป มันจะเป็นตราบาปของคุณตลอดชีวิตเลยก็ว่าได้

หมายเลขบันทึก: 68885เขียนเมื่อ 22 ธันวาคม 2006 21:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
   เห็นด้วยที่บอกว่างานวิจัยสูงส่งจนไม่สามารถนำมาใช้ได้ และเลียนแบบกันมาเรื่อย ๆ ถ้าไม่ทำเช่นนั้นก็ไม่มีสิทธิ์จบ ยิ่งถ้าเจออาจารย์ที่ชอบทฤษฎีต่างชาติยิ่งแล้วใหญ่ เพราะดีไปซะทุกเรื่อง แต่พอเป็นทฤษฎีไทย ๆ บ้างกลับบอกไม่ชัวร์ แล้วจะให้ผู้เรียนทำอย่างไรเห็นทีไม่จบแน่ แย่เลยบานปลายไปอีกนานโข แต่ก็มีหลักสูตรดีดีที่น่าลุ้นที่บูรณาการศาสตร์ ม.อุบลนะ
การสร้างสิ่งใหม่ๆจากงานวิจัยผ่านการทำวิทยานิพนธ์คงต้องช่วยกันให้ความหมายพร้อมกับการให้คุณค่าตราบาปวันนี้คือคำว่า ขึ้นหิ้ง  การประลองกำลังของคนถ้าทำให้มีความหมายและมีคุณค่าจะเกิดประโยชน์มหาศาลต่อบ้านเมือง การประลองกำลังที่มุ่งประหัตประหารจะได้บาปติดตัวอย่างถ้วนหน้า
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท