สะท้อนการเรียนรู้ในหัวข้อ Perspective on Health Practice in Occupational Therapy during the COVID-19 Pandemic


สรุปเนื้อหา Session ที่ 1

ใน session นี้ อาจารย์ปวีณาทำให้ทราบถึงนิยามและกระบวนการในการทำ Telehealth สำหรับนักกิจกรรมบำบัดในสถานการณ์ Covid-19 ณ ปัจจุบัน ซึ่งรวมไปถึงข้อดีข้อเสียของการบริการ และกุญแจสำคัญที่จะทำให้ประสบความสำเร็จในการให้บริการในรูปแบบนี้ โดย Telehealth หมายถึงการสื่อสารทางไกล เพื่อให้บริการในการฟื้นฟูและส่งเสริมสุขภาพให้แก่ผู้รับบริการ และเนื่องด้วยเป็นการสื่อสารทางไกลจึงไม่สามารถให้การบริการแบบเจอหน้ากันได้นั้น ทำให้ต้องมีการเตรียมความพร้อมก่อนที่จะให้การบริการในหลาย ๆ ด้าน เช่น ต้องมีการพูดคุยเพื่อให้เกิดความยินยอมในการบำบัดรักษา ต้องคำนึงถึงความเป็นส่วนตัว มีการขออนุญาตผู้รับบริการในการบันทึกหน้าจอขณะทำการรักษา และสุดท้ายนักกิจกรรมบำบัดต้องคำนึงถึงพื้นที่ส่วนตัวของเรา เพื่อที่จะรักษาบทบาทของการเป็นผู้บำบัดไม่ให้ถูกรุกล้ำความเป็นส่วนตัว

จากนั้นเมื่อเตรียมความพร้อมแล้ว ต้องมีการพูดคุยเกี่ยวกับการตั้งเป้าประสงค์ของการบำบัดรักษา ซึ่งการบำบัดรักษาในรูปแบบ Telehealth มีอยู่ด้วยกัน 3 รูปแบบ

1. Parent Coaching เป็นการอธิบายกับผู้ปกครองว่าจะให้กิจกรรมอะไรกับเด็กบ้าง จากนั้นให้ผู้ปกครองลงมือทำกิจกรรมนั้น ๆกับเด็กด้วยตนเอง โดยนักกิจกรรมบำบัดจะคอย Feedback แก่ผู้ปกครองอยู่เป็นระยะ

2. Teletherapy ผู้บำบัดทำกิจกรรมกับเด็กโดยตรง โดยมีผู้ปกครองคอยดูแลอย่างใกล้ชิด วิธีนี้มักใช้กับเด็กโต หรือมี Cognitive ที่ดี

3. Counselling เป็นการให้คำปรึกษา แนะนำผู้ปกครองถึงแนวทางในการให้กิจกรรมการฝึก ควรมีการนัดหมายหลาย ๆครั้งเพื่อดูความก้าวหน้าในการฝึกฝน

ข้อดีของการให้การบำบัดรักษาในรูปแบบ Telehealth คือ ปลอดภัยจากสถานการณ์ COVID-19 สามารถให้บริการทางไกลได้ มีความยืดหยุ่นในการเลือกสถานที่และตารางเวลาการรักษา สามารถเห็นคนไข้ในบริบทที่แท้จริง และประหยัดค่าเดินทาง

สุดท้าย กุญแจสำคัญที่จะทำให้ประสบความสำเร็จในการให้บริการในรูปแบบ Telehealth ได้แก่ ต้องเตรียมพร้อม มีการตั้งเป้าประสงค์ชัดเจน ต้องมีแผนสำรอง แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ และต้องทำให้เกิดขึ้นได้จริง

สรุปเนื้อหา Session ที่ 2

สิ่งที่ได้เรียนรู้ใน session นี้จากอาจารย์กีรติคือ ประวัติของการใช้ Telehealth ในการรักษาทางการแพทย์ มีการใช้รูปแบบนี้ในการรักษามาตั้งแต่ปี 1844 จนเริ่มมีการใช้มากขึ้นในปี 2013 ก่อนที่จะมีการใช้มากที่สุดในปีที่แล้ว 2020 จากสถานการณ์ COVID-19 ซึ่งขั้นตอนในการให้บริการทางกิจกรรมบำบัดผ่าน Telehealth ได้แก่ การตรวจประเมิน (evaluation) การให้คำแนะนำ (consultation) การบำบัดรักษา (intervention) และการฟีดแบคและประเมินซ้ำ (monitoring)

ต่อมาคือ ได้เรียนรู้ขั้นตอนในการเตรียมตัวก่อนที่จะให้การบำบัดรักษา คือเราต้องมีการวางแผนมาก่อนล่วงหน้า โดยวางแผนไปถึงกิจกรรมสำหรับการ Grade activity ให้ยากหรือง่ายมากขึ้นเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในกรณีที่ผู้รับบริการไม่สามารถทำกิจกรรมที่เตรียมไว้ได้ หรือในกรณีที่ผู้รับบริการสามารถทำได้ดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ ต่อมา เราต้องทำความเข้าใจใน platform ที่เราเลือกใช้ ว่าแต่ละ platform นั้นสามารถทำอะไรได้บ้าง เพื่อที่เราจะได้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด นอกจากนี้ยังควรสร้างสัมพันธภาพกับผู้ดูแล เพื่อที่จะได้เกิดความเข้าใจทั้งสองฝ่ายว่ากำลังจะทำอะไร ในแต่ละครั้งมีกิจกรรมอะไรบ้าง ต้องเตรียมตัวอย่างไร ผู้ดูแลต้องมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมอย่างไร และช่วยให้ผู้รับบริการเข้าถึงโปรแกรมอย่างไร เช่น ในผู้สูงอายุที่อาจจะมีความยากลำบากในการใช้เทคโนโลยี เราก็สามารถขอความช่วยเหลือจากผู้ดูแลที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้รับบริการได้ เช่นการเปิดไมค์ เปิดกล้อง นอกจากนี้ยังมีเทคนิคสำคัญในการวางแผนสำหรับผู้รับบริการที่เป็นเด็ก เช่น การจัดการกับสิ่งแวดล้อมที่เป็นอุปสรรค การลดคำที่มีความหมายเป็นลบ เช่น อย่า ห้าม และเปลี่ยนเป็นการโน้มน้าวด้วยคำพูดที่เป็นบวกแทน รวมถึงการให้รางวัลเมื่อเด็กสามารถทำสิ่งที่ต้องการได้

นอกจากนี้ยังได้รู้ถึงเทคนิคการสัมภาษณ์ เทคนิคการให้คำปรึกษา การตั้งคำถามที่ช่วยให้ได้ข้อมูลมากขึ้น การสะท้อนความรู้สึกให้ตรงประเด็น รวมถึงเทคนิคการฟังที่ดีอีกด้วย

สรุปเนื้อหาจาก session ที่ 3

ใน session สุดท้ายนี้ทำให้เห็นกระบวนการทำงานของทีมสหวิชาชีพก่อนที่จะให้บริการในชุมชน ทั้งการจัดโปรแกรม Health promotion สำหรับผู้รับบริการที่ยังมีสุขภาพที่ดี สามารถเข้ามารับการบริการที่รพสต.ได้ และโปรแกรม Health Care ที่ทางทีมสหวิชาชีพจะเข้าไปให้บริการถึงที่พักอาศัย

ซึ่งในสถานการณ์ COVID-19 นี้ทำให้ไม่สามารถไปให้บริการด้วยตนเองได้ จึงได้เกิดการจัดทำ Teleconhealth ขึ้นในรูปแบบของแอพลิเคชันที่ชื่อว่า Care4caregiver เพื่อให้ผู้รับบริการยังสามารถดูแลสุขภาพได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งการบริการ Telehealth แบ่งเป็น 2 รูปแบบ

1. Teleconsultation เป็นการให้คำปรึกษาในด้านการดูแลสุขภาพ ซึ่งมีข้อดีคือประหยัดเวลาเนื่องจากไม่ต้องเดินทางมาเข้ารับการบริการ ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด และสามารถติดต่อกับบุคลากรทางการแพทย์ได้ง่ายขึ้น

2. Telerehabilitation เป็นโปรแกรมการฟื้นฟูสุขภาพ มีข้อดีคือประหยัด สะดวก สามารถทำที่ไหนก็ได้ พัฒนาการให้ Home program ได้ดียิ่งขึ้นเนื่องจากผู้รับบริการได้ฝึกในบริบทจริงของตนเอง

หมายเลขบันทึก: 688372เขียนเมื่อ 16 มกราคม 2021 02:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มกราคม 2021 16:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สรุปเนื้อหาและข้อมูลจากที่เรียนได้ชัดเจนและเข้าใจง่าย ซึ่งจากที่อ่าน เห็นด้วยกับบทความนี้ทุกประการทั้งข้อดีและข้อเสีย และจะทำขั้นตอนและวิธีการที่เพื่อนอธิบายไปใช้ในการทำกิจกรรมบำบัดของเรากับผู้รับบริการ

จากที่ได้อ่านสรุปที่ได้จากการเรียน มีการเขียนเนื้อหาและความหมายแบ่งแยกชัดเจน ทำให้อ่านได้เข้าใจง่าย และสามารถเขียนเชื่อมโยงจากข้อมูลที่เรียนได้อย่างครบถ้วน ทำให้ได้เป็นความรู้เพิ่มเติมในส่วนที่ขาดหายไปค่ะ

จากการที่ได้อ่านและทำความเข้าใจ มีการสรุปเนื้อหาในแต่ละส่วนได้ชัดเจน อ่านเข้าใจได้ง่าย สามารถนำไปใช้ได้จริงในอนาคตค่ะ

สรุปเนื้อหาได้ละเอียด ครบถ้วน และเข้าใจง่ายค่ะ ซึ่งข้างต้นมีการแบ่งเป็น 3 Sessionด้วย ทำให้สามารถทำความเข้าใจได้แต่ละsession อย่างต่อเนื่อง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท