สะท้อนการเรียนรู้ หัวข้อ Perspective on health practice in occupational therapy during the COVID-19 pandemic


  จากการเรียนรู้ในครั้งที่ 4 เกี่ยวกับการทำ telehealth ผ่านประสบการณ์ของรุ่นพี่นักกิจกรรมบำบัด ถือว่าเป็นประสบการณ์การเรียนรู้ที่ดีมาก เพราะได้รับความรู้จากประสบการณ์จริงที่พี่ๆเคยได้ทำมา และได้เห็นมุมมองที่ชัดเกี่ยวกับการทำ telehealth มากขึ้น

  ความรู้ที่ได้จากการฟัง ได้รับความรู้มากมายเริ่มตั้งแต่การเริ่มต้นทำ telehealth ที่เริ่มต้นตั้งแต่การสอบถามความยินยอมของผู้ปกครองหรือผู้ดูแล รวมถึงต้องมีการตกลงขี้นตอนร่วมกันกับทั้งผู้รับบริการและผู้ปกครองหรือผู้ดูแลด้วย และยังได้รู้ว่าเทคนิคการทำ telehealth ในเด็กไม่ได้มีแค่การฝึกที่ตัวเด็กเอง (Teletherapy) แต่ยังมีการให้คำแนะนำผู้ปกครอง (Parent coaching) และ การให้คำปรึกษา (Counselling) ด้วย

  นักกิจกรรมบำบัดสามารถใช้การทำ telehealth ได้ในทุกขั้นตอนของ OT process ตั้งแต่การประเมิน,ให้คำแนะนำ,ให้การรักษา โดยการที่จะทำได้อย่างครอบคลุมก็ต้องมีทักษะในการจัดการเวลาที่ดี มีการวิเคราะห์กิจกรรม และเตรียมพร้อมแผนสำรองไว้ตลอดเพื่อป้องกันการผิดพลาด เนื่องจากอุปกรณ์ที่บ้านของผู้รับบริการก็จะไม่ครบเหมือนที่คลินิก ดังนั้น ก่อนการทำ telehealth แต่ละครั้งควรมีการนัดหมายที่แน่ชัด และเผื่อเหตุการณ์ไม่เป็นตามแผนที่วางไว้ด้วย นอกจากการวางแผนที่ดีแล้ว นักกิจกรรมบำบัดควรมีการเตรียมพร้อมเกี่ยวกับโปรแกรมที่ใช้ด้วย ควรจะรู้ฟังก์ชั่นของโปรแกรมที่ใช้ ว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง เช่น สามารถเขียนโต้ตอบกันได้ เปิดปิดกล้องยังไง และควรจะมีการซักซ้อมการใช้งานกับผู้ปกครองหรือผู้ดูแลของผู้รับบริการก่อนเริ่มทำจริงด้วย เพื่อให้การให้การรักษาจริงเป็นไปได้อย่างราบรื่น

  การทำ telehealth มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ซึ่งพี่ๆแต่ละคนก็ได้เห็นข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันไป โดยข้อดี ส่วนใหญ่คือ ปลอดภัยในสถานการ์ covid-19,ประหยัดค่าเดินทาง,ตารางการทำกิจกรรมสามารถยืดหยุ่นได้,มีความเป็นส่วนตัว,ได้เห็นบริบทจริงของผู้รับบริการ ในส่วนของข้อเสีย คือ ผู้รับบริการที่เป็นเด็กมักจะไม่ให้ความสนใจหรือหันเหความสนใจได้ง่าย,การเข้าถึงอุปกรณ์และเทคโนโลยี ที่บางรายอาจจะมีความยากลำบากในการเข้าถึง,มีความยากลำบากในการทำกิจกรรมทางกาย เช่น การทดสอบกำลังกล้ามเนื้อ 

  จากการได้เรียนรู้ในครั้งนี้ได้รับข้อมูลมากมายและเห็นแนวทางในการทำงานในช่วง COVID-19 ได้พอจะรู้แนวทางขั้นตอนในการเตรียมตัว เตรียมความพร้อมเพื่อที่จะปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ในปัจจุบัน รู้สึกชื่นชมพี่ๆ ที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ได้อย่างดี และขอบคุณอย่างมากที่เสียสละเวลามาให้ความรู้กับพวกเราในครั้งนี้    

คำสำคัญ (Tags): #occupational therapy#telehealth#COVID-19
หมายเลขบันทึก: 688367เขียนเมื่อ 15 มกราคม 2021 22:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มกราคม 2021 22:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เห็นด้วยกับข้อมูลในส่วนที่ว่า การทำ Telehealth นั้นสามารถใช้ได้ในทุกขั้นตอนของกระบวนการทางกิจกรรมบำบัด ตั้งแต่การประเมิน การให้การรักษา การให้คำแนะนำและการควบคุม แต่ก่อนที่จะมาถึงในส่วนนี้ได้นั้น นักกิจกรรมบำบัดต้องมีการเตรียมพร้อมอย่างครอบคลุมทั้งทักษะ การวิเคราะห์กิจกรรมและการวางแผน เพื่อให้การทำ Telehealth เป็นไปอย่างราบรื่นด้วยดี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท