พุทธเศรษฐศาสตร์ : วิทยาศาสตร์ตามแนววิถีพุทธ


วิทยาศาสตร์ตามแนววิถีพุทธ จึงเป็นวิทยาศาสตร์แห่งปัญญา อันเป็นปัญญาที่เกิดจากการเสียสละ ความสุขจากการเสียสละนั้นแลจึงจะเป็นความสุขที่เที่ยงแท้อันจะนำเราเข้าถึงความสุขทั้งกายและจิตใจ

คนเราเกิดมาเป็นมนุษย์ถือว่าเป็นผู้ที่ประเสริฐ เราเกิดมาเพื่อให้ เพื่อเสียสละ จุดมุ่งหมายปลายทางของเราคือพระนิพพาน

เราต้องมีความเห็นถูกต้อง เข้าใจถูกต้อง การประพฤติการปฏิบัติของเราถึงจะถูกต้อง

เราต้องมีความสุขในการเสียสละในปัจจุบัน...

คนเราต้องอยู่กับปัจจุบัน...ปัจจุบันเราต้องมีความสุข ถึงจะเรียกว่าเป็น "ปัจจุบันธรรม"

เราเรียน เราศึกษา เราพัฒนาตามหลักวิทยาศาสตร์ เรามีความรู้ มีปัญญา เราต้องนำปัญญาเหล่านั้นมาเสียสละ

เราเสียสละเราถึงจะมีความสุข เรามีเสียสละเราถึงจะมีปัญญา ถ้าไม่อย่างนั้น เราเรียนมาก รู้มาก เราก็เอารัดเอาเปรียบคนที่มีความรู้มีการศึกษาด้อยกว่าเรา

ดังนั้น วิทยาศาสตร์ตามแนววิถีพุทธ จึงเป็นวิทยาศาสตร์แห่งปัญญา อันเป็นปัญญาที่เกิดจากการเสียสละ ความสุขจากการเสียสละนั้นแลจึงจะเป็นความสุขที่เที่ยงแท้อันจะนำเราเข้าถึงความสุขทั้งกายและจิตใจ

การเสียสละไม่ใช่สิ่งอื่นไกล อย่างเช่นเด็ก ๆ ตื่นขึ้นมาจากที่นอน เราก็ต้องเสียสละในการที่จะเก็บที่หลับที่นอน กวาดห้อง ถูห้อง ล้างห้องน้ำ เสียสละเวลานอน โดยการตื่นเร็วขึ้นสักสิบห้านาที เราก็จะสามารถพัฒนาพื้นฐานของชีวิตได้อีกมากมาย

การพัฒนา เราต้องพัฒนาที่พื้นฐานของชีวิต คือ ความขยัน อดทน เสียสละ รับผิดชอบ เริ่มต้นง่าย ๆ จากการรับผิดชอบในความดี รับผิดชอบในหน้าที่ของตนเอง

มนุษย์ที่ได้ชื่อว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ... เราจะประเสริฐได้ก็เพราะการพัฒนาตนเอง

จิตใจเป็นนามธรรม ไม่มีตัวไม่มีตน การฝึกจิตใจเราต้องเริ่มต้นจากการฝึกที่กาย

นำกายมาทำความดี นำกายมาเสียสละ รับผิดชอบ ขยัน อดทน

ฝึกพูดดี ๆ พูดเพราะ ๆ พูดสุภาพ เมื่อกายดี วาจาดี จิตใจของเราก็ย่อมดี

การที่คนเรามีจิตใจดี ก็เปรียบเสมือนภาชนะที่ดี ใส สะอาด ที่จะคัดกรองแต่สิ่งที่ดี ๆ เข้าสู่จิตใจ

เมื่อเรามีวัตถุดิบที่ดี เรามีกระบวนการผลิตที่ดี ผลลัพธ์หรือจุดหมายปลายทางของเรานั้นก็ย่อมดี การพัฒนาชีวิตของเราจึงมีทั้งประสิทธิภาพ 
(Efficiency)  ประสิทธิผล (Effectiveness) อันนำไปสู่ผลิตภาพหรือผลิตผล (Productivity) ที่ยอดเยี่ยม

การที่เราทำทุกอย่างอย่างเต็มที่ เต็มร้อย ด้วยความเสียสละ ไม่หวังสิ่งใดตอบแทน เราจะไม่มีคำว่า "ขาดทุน" เพราะเราต้ดเรื่องต้นทุนความคาดหวังของชีวิต

อุปสงค์ของชีวิตตามหลักพุทธเศรษฐศาสตร์คืออะไร...? 

อุปสงค์ของชีวิตคือความต้องการให้ทุก ๆ คน ทุก ๆ สรรพมีความสุข...

อุปทานของชีวิตตามหลักพุทธเศรษฐศาสตร์คืออะไร...?

อุปทานของชีวิตคือการให้การเสียสละอย่างไม่หวังสิ่งใดตอบแทน

ดังนั้นวิทยาศาสตร์อันเป็นศาสตร์แห่งเหตุและผล เมื่อเหตุดี ผลก็ย่อมดี เราทำเหตุทำปัจจัยให้ถึงพร้อม ผลที่ออกมาย่อมน้อมนำให้เกิดประโยชน์สุขแก่มหาชน

การกระทำ ที่ว่าดี ดีแน่แท้

การกระทำ ที่ว่าแน่ คือการให้

การกระทำ เป็นจุดเริ่ม ในจิตใจ

การกระทำ เป็นเหตุให้ พบสุขจริง

สุขที่แท้ คือการให้ การเสียสละ

เป็นตรรกกะ เศรษฐกิจ พอเพียงมั่น

พุทธศาสตร์ เศรษฐกิจแท้ สุขทั่วกัน

นำสุขสันต์ ทั้งกายใจ พ้นภัยเอย...






หมายเลขบันทึก: 688174เขียนเมื่อ 7 มกราคม 2021 20:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มกราคม 2021 20:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท