ทฤษฎีการให้การปรึกษาแบบจิตวิเคราะห์


ทฤษฎีการให้การปรึกษาแบบจิตวิเคราะห์

1. ที่มาของทฤษฎี


  ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud, 1856-1939) เกิดเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 1856 ที่เมือง ฟรายเบิร์ก ซึ่งเป็นเมืองเล็กๆ ในแคว้นโมราเวีย และเป็นส่วนหนึ่งของออสเตรีย ขณะนี้เป็นส่วนหนึ่งของ ประเทศสาธารณรัฐเชค การศึกษาพื้นเพในครอบครัวของฟรอยด์ ตลอดจนประวัติการศึกษา และการทำงานจะเป็นปัจจัยสำคัญในการศึกษาและเข้าใจความคิดของฟรอยด์และการพัฒนาทฤษฎีจิตวิเคราะห์ขึ้นมา ซิกมันด์ ฟรอยด์ได้พัฒนาทฤษฎีจิตวิเคราะห์การบำบัดแบบจิตวิเคราะห์ตลอดจนการให้การปรึกษาแบบจิตวิเคราะห์ขึ้นมา และเป็นทฤษฎีที่มีอิทธิพลอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1930-1940 และถึง ค.ศ. 1950 เป็นเวลากว่า 100 ปี ที่แนวคิดของฟรอยด์ได้นำมาใช้ในการบำบัดตามทฤษฎีแบบจิตวิเคราะห์ดั้งเดิม (Theory of Psychoanalysis) และพัฒนาปรับขยายออกเป็นการบำบัดแบบทฤษฎีจิตเชิงวิเคราะห์ (Theory of Psychoanalytic) ซึ่งเริ่มต้นมาจากมีผู้ไม่เห็นด้วยและมีความตรงข้ามกับทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ และผลปรากฏว่าทฤษฎีจิตวิเคราะห์ถูกแปรเปลี่ยนเมื่อฟรอยด์เสียชีวิตในค.ศ. 1939 แต่ยังยึดหลักสำคัญของ ความคิดแบบจิตวิเคราะห์ เช่นยังเน้นและให้ความสำคัญที่กระบวนการของจิตไร้สำนึกในแรงจูงใจของมนุษย์ และแนวคิดเกี่ยวกับโครงสร้างบุคลิกภาพของฟรอยด์ที่ประกอบด้วย อิดอีโก้ซูเปอร์อีโก้ นักจิตเชิงวิเคราะห์ ยังคงยอมรับความสำคัญของพัฒนาการในช่วงวัยเด็กในการพิจารณาผลทางจิตวิทยาของบุคคลในวัยต่อมา อย่างไรก็ตาม พวกเขาหลายคนไม่เห็นด้วยที่จะเน้นลงไปเฉพาะการพัฒนาการในช่วงวัยเด็กเท่านั้น

              ดังนั้น จึงมีแนวคิดที่แตกต่างกันออกไปและแตกแขนงออกเป็นหลายทฤษฎีจากทฤษฎีแรงขับของ ฟรอยด์เป็นทฤษฎี Ego Psychology ทฤษฎี Object Relations และทฤษฎี Self Psychology

          กล่าวโดยสรุปก็คือ จากทฤษฎีจิตวิเคราะห์หรือทฤษฎีแรงขับของฟรอยด์ที่เน้นขั้นพัฒนาการทาง จิตเพศ (ขั้นปาก ขั้นทวาร และขั้นอวัยวะ) ซึ่งเกิดขึ้นในช่วง 6 ขวบปีแรกของชีวิต เน้นที่แรงขับสัญชาตญาณ ดั้งเดิมของมนุษย์ในการพิจารณาถึงพัฒนาการของบุคลิกภาพในวัยต่อมา ส่วนทฤษฎี Ego Psychology ให้ความสนใจกับความต้องการของแต่ละบุคคลในการปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งพัฒนาขึ้นมาโดย Erik Erickson ได้แก่ ขั้นพัฒนาการเชิงจิตสังคม ซึ่งมีผลต่อจนชั่วชีวิต ส่วนทฤษฎี Object Relations นั้น นักทฤษฎีตามแนวคิดนี้มีความสนใจและพิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่างเด็กทารกกับบุคคลอื่นๆ ซึ่ง เหมือนกับฟรอยด์ตรงที่ใช้คําว่า Object ในการอ้างถึงบุคคลในชีวิตของเด็กผู้นั้นที่เป็นผู้เติมเต็มถึงความ ต้องการของเด็กหรือบุคคลที่เด็กได้สัมผัสใกล้ชิดด้วย และสุดท้ายทฤษฎี Self Psychology ได้เน้นที่ พัฒนาการที่เปลี่ยนแปลงในชีวิตก่อนเข้าสู่ชีวิตในวัยทํางาน นักบําบัดจิตเชิงวิเคราะห์แต่ละทฤษฎีก็ได้พัฒนาเทคนิคที่หลากหลายในการบําบัดขึ้นมา โดยมี พื้นฐานจากเทคนิคการบําบัดแบบจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์เป็นแนวคิดสําคัญ แต่ยังไม่นํามาเสนอในหน่วยนี้ นักศึกษาที่สนใจเรื่องนี้สามารถศึกษาได้จากเอกสารตําราต่างๆ ที่ได้แนะนําไว้ในตอนที่ 7.2 เรื่องที่ 7.2.2 ในหน่วยนี้ต่อไปได้

          ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์มีปรัชญาพื้นฐานที่ว่า ข้อสรุปรากฐานของพฤติกรรมมนุษย์เกิดจาก พลังงานทางจิตและประสบการณ์ในช่วงต้นของชีวิต แรงขับและความขัดแย้งจากจิตไร้สํานึกเป็นหัวใจสําคัญ ของการแสดงพฤติกรรมของมนุษย์ในปัจจุบัน ความไม่มีเหตุผลมีพลังเข้มแข็งมากขึ้น เนื่องจากช่วงวิกฤต ของชีวิตที่มีความสําคัญเพราะปัญหาของบุคลิกภาพที่ก่อตั้งขึ้นในภายหลังนั้นเป็นผลจากความขัดแย้งที่ เก็บกดไว้ตั้งแต่วัยเด็กสําหรับสาระสําคัญของทฤษฎีจิตวิเคราะห์ในตอนนี้จะกล่าวถึงธรรมชาติของมนุษย์ตามแนวคิดของ ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ โครงสร้างของบุคลิกภาพของมนุษย์ ความวิตกกังวลของมนุษย์ตามทฤษฎีจิตวิเคราะห์ กลไกการป้องกันตนเองและการพัฒนาบุคลิกภาพตามแนวคิดของทฤษฎีการปรึกษาแบบจิตวิเคราะห์

2. ธรรมชาติของมนุษย์ตามแนวคิดทฤษฎีจิตวิเคราะห์

          ในความเห็นของฟรอยด์ เขาเชื่อว่าพฤติกรรมมนุษย์เป็นผลมาจากแรงขับที่ไม่มีเหตุผล แรงขับ หรือแรงจูงใจในจิตไร้สํานึก แรงขับหรือแรงผลักดันของสัญชาตญาณ แรงผลักดันของกระบวนการทาง ชีววิทยามีในร่างกาย และพัฒนาการแห่งสัญชาตญาณทางเพศในระหว่าง 6 ขวบแรกของชีวิต (Gerald Goray, 1996: 92) สําหรับเรื่องแรงขับหรือแรงผลักดันของสัญชาตญาณเป็นปัจจัยสําคัญยิ่งที่แสดงให้เห็นว่า เพราะ เหตุใดมนุษย์จึงมีพฤติกรรมเช่นนั้น สัญชาตญาณเป็นแกนกลางของความเชื่อทางจิตวิเคราะห์แบบฟรอยด์ ฟรอยด์ได้จําแนก สัญชาตญาณออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ สัญชาตญาณแห่งการมีชีวิต (the life instincts libido หรือ eros) และสัญชาตญาณแห่งการตาย (the death instincts หรือ thanatos) (Gilliland and others, 1994: 97) ในเรื่องสัญชาตญาณแห่งการตาย จะแสดงออกมาในรูปของแรงผลักดันทางก้าวร้าวในเวลานั้น ฟรอยด์ได้ยืนยันในเรื่องนี้ว่า ผู้คนได้แสดงพฤติกรรมจากจิตไร้สํานึกว่าอยากตายหรือทําร้ายตนเองแล้ว ทําร้ายผู้อื่น ในความคิดเห็นของฟรอยด์ทั้งแรงผลักดันทางเพศและแรงผลักดันทางก้าวร้าว เป็นปัจจัย สําคัญอย่างยิ่งที่แสดงให้เห็นว่าทําไมผู้คนจึงมีพฤติกรรมเช่นนั้น (Gerald Coray, 1996: 97) ถึงแม้ว่าจะมีความขัดแย้งระหว่างสัญชาตญาณแห่งการมีชีวิต (หรือเรียกว่า Eros) และสัญชาตญาณ แห่งการตาย (หรือเรียกว่า Thanatos) มนุษยชาติก็ไม่ควรถูกตัดสินให้เป็นเหยื่อของความก้าวร้าวและการทําลายตนเอง ในหนังสือ “Civilization and Its Discontents”) (1930/1962) ของฟรอยด์ได้ชี้ให้ เห็นว่าสิ่งที่ท้าทายมนุษย์มากที่สุดคือ จะจัดการอย่างไรกับแรงขับหรือพลังแห่งความก้าวร้าวได้ สําหรับ ฟรอยด์ได้มีความเห็นว่าความสับสนวุ่นวายใจและความวิตกกังวลของมนุษย์นั้นควรจะกําจัดเสียให้สิ้นซาก (Gerald Coley, 1996: 93)

3. ขั้นตอนการให้การปรึกษาของทฤษฎีการให้การปรึกษาแบบจิตวิเคราะห์

          การให้การปรึกษาตามแนวคิดทฤษฎีการให้การปรึกษาแบบจิตวิเคราะห์ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ดังนี้ (Gerald Coray, 1996: 116-121, Gililand and other, 1994: 22-24, ธนา นิลชัยโกวิทย์ 2542

33-48)

          3.1 ขั้นสร้างสัมพันธภาพ ในขั้นตอนนี้ผู้ให้การปรึกษาจะซักประวัติโดยการสัมภาษณ์ผู้รับการ ปรึกษา ซึ่งเป็นเครื่องมือที่สําคัญในการดําเนินการตรวจวินิจฉัยวิเคราะห์ปัญหาผู้รับการปรึกษาและวางแผน การให้การปรึกษาต่อไป และในระหว่างการสัมภาษณ์ซักประวัติผู้รับการปรึกษายังได้สังเกตอากัปกิริยาการ แสดงออกในด้านต่างๆ ของผู้รับการปรึกษา ซึ่งจะช่วยให้เข้าใจอารมณ์ ความคิด และสภาพจิตด้านต่างๆ ของ ผู้รับการปรึกษาด้วย ทั้งยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้รับการปรึกษา รู้สึกว่าได้รับการดูแลเอาใจใส่ ทําให้ผู้รับการปรึกษายินดีร่วมมือในการสัมภาษณ์และดําเนินการตามกระบวนการให้การปรึกษาตามแนวจิต วิเคราะห์ต่อไป และในขั้นนี้ผู้ให้การปรึกษาจะต้องอธิบายวิธีการ เทคนิคที่ใช้ในการปรึกษาและกระบวนการ ให้การปรึกษาตามแนวจิตวิเคราะห์ให้ผู้รับการปรึกษาเข้าใจ และทําความตกลงถึงบทบาทหน้าที่ความรับผิด ชอบของผู้ให้การปรึกษาและผู้รับการปรึกษาด้วยเช่นกัน พร้อมกับเริ่มฝึกให้ผู้รับการปรึกษาระบายความรู้สึก ความคิดที่เป็นปัญหาออกมาโดยใช้เทคนิค การเชื่อมโยงอย่างเสรี (Free Association) และผู้ให้การคอย สังเกตพฤติกรรมการแสดงออกของผู้รับการปรึกษาและเก็บรายละเอียด เพื่อเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์และ ตีความตามเทคนิคการปรึกษาแบบจิตวิเคราะห์ต่อไป

          3.2 ขั้นดําเนินการ ในขั้นนี้จะมีส่วนที่เกิดในกระบวนการให้การปรึกษาแบบจิตวิเคราะห์คือ การถ่าย โยงความรู้สึก และการต่อต้านจากผู้รับการปรึกษา กล่าวคือ ในระหว่างการให้การปรึกษา ผู้รับการบริการอาจ แสดงความรู้สึกต่อผู้ให้การปรึกษาเสมือนเป็นบุคคลที่มีอิทธิพลต่อผู้รับการปรึกษา ทั้งในด้านบวกและด้าน ลบ และเกิดภาวะต่อต้านผู้ให้การปรึกษา ดังนั้นผู้ให้การปรึกษาจะต้องพยายามอดทนและยอมรับพฤติกรรม การ

แสดงออกของผู้รับการปรึกษา แต่จะค่อยๆ ตีความให้ผู้รับการปรึกษาเกิดการหยั่งรู้และเข้าใจตนเอง สามารถปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ทางความคิดและความรู้สึกของผู้รับการปรึกษา ซึ่งเป็นบทบาทและหน้าที่ สําคัญของผู้ให้การปรึกษาในกระบวนการให้การปรึกษาในขั้นตอนนี้

          3.3 ขั้นยุติการให้บริการปรึกษา ในขั้นนี้จะเชื่อมต่อจากขั้นที่ผ่านมา เมื่อผู้รับการปรึกษาเกิดความ ผ่อนคลายต่อความทรงจําที่เป็นความขัดแย้งในอดีต และเริ่มเข้าใจตนเอง ยุติการต่อต้านผู้ให้การปรึกษา ปรับเปลี่ยนการใช้กลไกการป้องกันตนเองให้เหมาะสมและเป็นที่ยอมรับได้ในสังคมอย่างรู้ตัวเอง สามารถ จัดการกับปัญหาการขัดแย้งได้อย่างสร้างสรรค์ และพัฒนาวิถีทางในการดําเนินชีวิตของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

4. เทคนิคการให้การปรึกษาแบบจิตวิเคราะห์

          เป้าหมายของการใช้เทคนิคการให้การปรึกษาแบบจิตวิเคราะห์ก็คือ ให้ผู้รับการปรึกษาเกิดการตระหนักรู้ (Awareness) และหยังรู้ (Insight) และเข้าใจความหมายของอาการต่างๆ ที่เป็นปัญหาของตนเอง และทราบถึงกระบวนการทํางานของจิตไร้สํานึกที่มีต่อพฤติกรรมของตนเองซึ่งผู้ให้การปรึกษาต้องใช้เทคนิค การปรึกษาต่างๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว เทคนิคพื้นฐานในการให้การปรึกษาแบบจิตวิเคราะห์ได้แก่ 1) การเชื่อมโยงอย่างเสรี 2) การวิเคราะห์การถ่ายโยงความรู้สึก 3) การวิเคราะห์และการตีความการต่อต้าน 4) การวิเคราะห์ความฝัน และ 5) การตีความ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

          4.1 การเชื่อมโยงอย่างเสรี (Free Association) เทคนิคการเชื่อมโยงอย่างเสรีเป็นเทคนิคที่มีความ สําคัญในกระบวนการให้การปรึกษาที่ใช้วิธีการวิเคราะห์เป็นกรอบในการให้ความช่วยเหลือ เทคนิคนี้เริ่มใช้ ในขั้นตอนแรกของการให้การปรึกษาแบบจิตวิเคราะห์ หลังจากผ่านการสัมภาษณ์ซึ่งประวัติผู้รับการปรึกษา แล้วในการใช้เทคนิคนี้ ตามหลักดั้งเดิมของจิตวิเคราะห์ ผู้รับการปรึกษาต้องนอนบนเตียง (Couch) ส่วนผู้ให้การปรึกษาจะนั่งอยู่ทางศีรษะของผู้รับการปรึกษา โดยไม่ให้ผู้รับการปรึกษาเห็น ซึ่งจะช่วยให้ผู้รับ การปรึกษาระบายความรู้สึกนึกคิดอย่างอิสระได้ง่าย (Gerald Coray, 1996: 117) การเชื่อมโยงอย่างเสรีหรือการระบายความรู้สึกนึกคิดอย่างอิสระเป็นเครื่องมือพื้นฐานที่จะเปิด จิตไร้สํานึก ความปรารถนา ความเพ้อฝัน ความขัดแย้ง และแรงจูงใจต่างๆ เทคนิคนี้อาจใช้ในการรวบรวม ประสบการณ์ในอดีตหรือปลดปล่อยความรู้สึกที่เคยสังเกตเอาไว้ได้ด้วย ผู้ให้การปรึกษาจะไม่คัดค้าน ตรวจวิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์หรือตําหนิ เกี่ยวกับความรู้สึกนึกคิด หรือเรื่องราวที่ได้รับฟังแต่จะคอยให้ กําลังใจเมื่อผู้รับการปรึกษาเกิดรู้สึกอึดอัด สับสน หรือเกิดการต่อต้านขึ้น และไม่สามารถระบายสิ่งต่างๆ ออกมาได้เพราะอาจจะกลัว ละอาย หรือวิตกกังวลว่าจะไม่ได้รับการยอมรับ ผู้ให้การปรึกษาอาจจะให้กําลัง ใจโดยการสัมผัส หรือโดยการพูดแสดงให้เห็นถึงการยอมรับความจริงใจในการช่วยเหลือ จะทําให้การต่อ ต้านลดน้อยลงหรือหมดไปและการระบายความรู้สึกคิดอย่างอิสระก็จะดําเนินไปได้ตลอดตามกระบวนการ (นรา สมประสงค์ 2533: 109-110) ตามกฎพื้นฐานของเทคนิคการเชื่อมโยงอย่างเสรีสําหรับผู้รับการปรึกษาก็คือ ผู้รับการปรึกษาจะ ต้องบอกหรือเล่าให้ผู้การปรึกษาทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นไม่ว่าเรื่องนั้น ตนเองจะไม่เห็นด้วยหรือเรื่องนั้น ดูเหมือนจะไม่มีความหมาย การเพ้อฝัน จินตนาการต่างๆ หลังจากนั้น ผู้ให้การปรึกษาจึงแปลความหมาย ให้ผู้รับการปรึกษาเข้าใจตนเองยิ่งขึ้น

          4.2 การวิเคราะห์การถ่ายโยงความรู้สึก (Analysis or Transference) การถ่ายโยงความรู้สึกเป็น ปรากฏการณ์ที่มักเกิดขึ้นในกระบวนการให้การปรึกษา กล่าวคือ ผู้รับการปรึกษามีแนวโน้มที่จะตอบสนอง ต่อความสัมพันธ์ต่อผู้ให้การปรึกษาด้วยวิธีการที่เคยใช้ในอดีต หรือถ่ายโยงความรู้สึกและทัศนคติทั้งในด้าน บวกและลบ เช่น ความรู้สึกรัก โกรธ อิจฉา เกลียดหรือต่อต้าน เป็นต้น ที่เคยมีกับบุคคลที่มีความสําคัญกับ ตนเองในชีวิตวัยเด็ก เช่น บิดา มารดา ไปยังผู้ให้การปรึกษา ดังนั้นผู้ให้การปรึกษามีหน้าที่สําคัญที่จะช่วยให้ ผู้รับการปรึกษาได้เกิดการหยั่งรู้ถึงการติดยึดความรู้สึกของตนเองในอดีต หรืออิทธิพลของบุคคลต่างๆ ที่มี ต่อตนเองในช่วงชีวิตวัยเด็กที่มีผลต่อบุคลิกภาพและพฤติกรรมในปัจจุบันและการแปลความหมายการถ่าย โยงความรู้สึก จะช่วยให้ผู้รับการปรึกษาเกิดความเข้าใจตนเอง และหาทางออกในการแสดงออกทางอารมณ์ ความรู้สึกและพฤติกรรมของตนเองในทางที่เหมาะสม

          ตัวอย่างเช่น ผู้รับการปรึกษาที่เคยมีมารดาเป็นคนโมโหร้าย และทําโทษรุนแรง ซึ่งผู้รับการปรึกษา กลัวมากในขณะเป็นเด็ก ในระหว่างการให้บริการปรึกษาที่มีผู้ให้การปรึกษาเป็นเพศหญิง เมื่อเกิดภาวะการ ถ่ายโยงความรู้สึก เขาจะเกิดความคิดว่า ผู้ให้การปรึกษา

ควรจะเป็นคนโมโหร้ายและก้าวร้าว หรือมีลักษณะ อื่นเช่นเดียวกับมารดาของเขา ดังนั้น ผู้ให้การปรึกษาต้องรักษาบทบาทหน้าที่ของตนเองที่เป็นกลางเอาไว้ เพื่อจะได้ให้การแปลความหมายของภาวะการถ่ายโยงความรู้สึกที่เหมาะสมถูกต้องว่า ผู้ให้การปรึกษามิได้ เป็นบุคคล เช่น มารดาของผู้รับการปรึกษา แต่เป็นเรื่องที่ผู้รับการปรึกษาเอาเรื่องในอดีตที่เกี่ยวกับคุณแม่ ของเขาเองมาถ่ายโยงให้กับผู้ให้การปรึกษา

          นอกจากนี้ ในการให้การปรึกษาตามแนวจิตวิเคราะห์ ยังมีปรากฏการณ์ที่เรียกว่าการถ่ายโยงความ รู้สึกย้อนกลับ (Counter-transference) ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อผู้ให้การปรึกษาถ่ายโยงความรู้สึกที่ค้างคาใจต่อบุคคล สําคัญในชีวิตในอดีตไปยังผู้รับการปรึกษา ทําให้ผู้ให้การปรึกษาอาจมีปฏิกิริยาไม่เหมาะสมโดยที่ตนเอง ไม่รู้ตัว และส่งผลการให้การปรึกษาที่กําลังดําเนินอยู่ได้ ดังนั้น ผู้ให้การปรึกษาต้องมีความระมัดระวังและ มีสติรู้ตัวอยู่เสมอที่จะไม่ทําให้เกิดภาวะการถ่ายโยงความรู้สึกย้อนกลับในระหว่างการให้การปรึกษา

          4.3 การวิเคราะห์และการตีความการต่อต้าน (Analysis and Interpretation of Resistence) การต่อต้านเป็นแนวคิดพื้นฐานของกระบวนการให้การปรึกษาตามแนวจิตวิเคราะห์ กล่าวคือ เป็นสิ่งใดก็ตาม ที่ออกมาในรูปแบบของการต่อต้านไม่ให้เกิดความก้าวหน้าในการให้การปรึกษาและทําให้ผู้รับการปรึกษา ไม่สามารถเปิดเผยความรู้สึกเก็บกดในจิตไร้สํานึกออกมาได้ (Gerald Corey, 1996: 119)

          ฟรอยด์ให้ความเห็นว่า การต่อต้านเป็นพลวัตของจิตไร้สํานึก (Unconscious Dynamic) ที่บุคคล ใช้ป้องกันตนจากความวิตกกังวลที่เขาไม่อาจเผชิญหรือยอมรับได้ ในระหว่างการระบายความรู้สึกนึกคิด อย่างอิสระหรือการวิเคราะห์ความฝัน บุคคลอาจจะไม่พึงพอใจที่จะแสดงออกซึ่งความคิด ความรู้สึกและ ประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องเพราะเกิดการต่อต้านซึ่งจะมีผลทําให้การให้การปรึกษาหยุดชะงักหรือเกิดการไม่ให้ ความร่วมมือในการให้การปรึกษาได้ (นรา สมประสงค์ 2533: 111) การต่อต้านอาจแสดงออกมาในลักษณะ ของการมาสาย การผิดนัด การลืมนัด การง่วงนอน การเงียบเฉย การไม่สนใจ หรือการโต้แย้งที่รุนแรง การวิเคราะห์และการตีความการต่อต้านจะช่วยให้เขาได้ตระหนักถึงเหตุผลกระบวนการของการต่อต้านและ กลไกป้องกันที่เขาใช้ ทําให้กล้าที่จะเผชิญกับสาเหตุที่แท้จริง รับรู้ถึงแรงขับที่เก็บกดไว้ในจิตไร้สํานึก หยั่งรู้ วิธีการที่จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขพฤติกรรมของตนเองให้เหมาะสมขึ้น

          4.4 การวิเคราะห์ความฝัน (Dream Analysis) การวิเคราะห์ความฝันเป็นเทคนิคสําคัญในการช่วย เปิดเผยสิ่งที่อยู่ในจิตไร้สํานึกของผู้รับการปรึกษา และทําให้เขาเกิดการหยั่งรู้ ในบางปัญหาที่เขาไม่สามารถ แก้ไขได้ในขณะที่นอนหลับ กลไกการป้องกันตนเองจะลดน้อยลง และเก็บกดอารมณ์จะปรากฏขึ้น ฟรอยด์มี ความคิดต่อความฝันว่าเป็น “เป็นหนทางที่ยิ่งใหญ่ที่จะนําไปสู่จิตไร้สํานึก” เพราะว่าในความฝันของผู้รับการ ปรึกษาจะมีสิ่งที่เก็บซ่อนไว้ในจิตไร้สํานึก ได้แก่ ความปรารถนา ความต้องการและความกลัวจะแสดงออกมา หรือแรงจูงใจบางอย่างที่ไม่อาจยอมรับได้หรือไม่สามารถแสดงออกมาได้โดยตรง ดังนั้นบุคคลจึงแสดงออก มาในรูปสัญลักษณ์ทางความฝันแทน (Gerald Coray, 1996: 118) ความฝันมีเนื้อหา (Content) 2 ระดับคือ ระดับแฝง (Latent Content) และระดับเนื้อหาเปิดเผย หรือฝันบ่อยๆ (Manifest Content) (Gerald Coray, 1996: 119) ความฝันที่มีเนื้อหาแฝงจะประกอบด้วยสิ่งที่ซ่อนเร้น สัญลักษณ์ แรงจูงใจของจิตไร้สํานึก ความ ปรารถนา และความกลัว เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะแสดงให้เห็นถึงแรงกระตุ้นของสัญชาตญาณทางเพศของ สัญชาตญาณความก้าวร้าวที่คุกคามและก่อให้เกิดความเจ็บปวดให้แก่ตนเอง เพราะไม่เป็นที่ยอมรับของ ตนเองและสังคมจึงใช้การผันแปรเปลี่ยนบิดเบือนเปิดเผยออกมาในลักษณะของสัญลักษณ์ที่พอจะยอมรับ หรือเผชิญได้ในเนื้อหาเปิดเผย (Mainifest Content) กระบวนการดังกล่าวนี้เรียกว่า การทํางานของความฝัน การวิเคราะห์ความฝันจะช่วยเปิดเผยความหมายต่างๆ ได้จากการศึกษาสัญลักษณ์ของความฝันที่มีเนื้อหา เปิดเผยโดยการให้ผู้รับการปรึกษาได้ระบายความรู้สึกนึกคิดอย่างอิสระ ฟรอยด์เน้นในความสําคัญของ ความฝันที่มีเนื้อหาแฝงว่าเป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นถึงบุคลิกภาพของผู้รับการปรึกษาได้ (นราสมประสงค์ 2533 110)

          4.5 การตีความ (Interpretation) การตีความประกอบด้วยการบ่งชี้ การอธิบายและการแนะนําให้ ผู้รับการปรึกษาเข้าใจความหมายพฤติกรรมที่ปรากฏออกมาในรูปของความฝันที่เกิดขึ้นบ่อยๆ ในการระบาย ความรู้สึกอย่างเสรี ในการต่อต้าน และสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในกระบวนการให้การปรึกษา การตีความจะช่วย ให้อีโก้ของบุคคลซึมซับเอาการรับรู้ใหม่ๆ และเริ่มเปิดเผยสิ่งที่อยู่ในจิตไร้สํานึกออกมาได้เร็วขึ้น (Gerald Coray, 1996: 118)

          เทคนิคการตีความเป็นพื้นฐานในกระบวนการช่วยเหลือบุคลิกภาพของผู้รับการปรึกษาและสาเหตุที่ ทําให้ผู้รับการปรึกษาประสบปัญหายุ่งยากต่างๆ การตีความประกอบด้วยการชี้ประเด็นการทําความกระจ่าง และการแปลความสิ่งต่างๆ ที่ปรากฏออกมาจากผู้รับการปรึกษา เป็นเรื่องสําคัญที่ผู้ให้การปรึกษาต้องตีความ ในช่วงเวลาที่เหมาะสม มิฉะนั้นแล้วผู้รับการปรึกษาจะต่อต้านและปฏิเสธได้การตีความต้องอาศัยทักษะเป็น อย่างมากสําหรับนักจิตบําบัดหรือผู้ให้การปรึกษา เมื่อผู้รับการปรึกษาพร้อมที่จะรับการตีความ เขาจะเกิด หยั่งรู้ (Insight) ซึ่งเป็นก้าวสําคัญที่จะนําไปสู่ความเข้าใจตนเอง (Self-understanding) ในการตีความมี หลักการที่ควรคํานึงคือ จะนําเสนอเมื่อปรากฏการณ์ในการตีความนั้นอยู่ใกล้เคียงกับการตระหนักรู้ของ จิตสํานึก การตีความจะเริ่มจากสิ่งที่ผิวเผินไปเรื่อยๆ จนถึงการเจาะลึกเท่าที่ผู้รับการปรึกษาจะสามารถ รับได้ และเป็นการดีที่สุดที่จะชี้ให้เห็นถึงการต่อต้านหรือการป้องกันตนก่อนที่การตีความทางอารมณ์หรือ ความขัดแย้ง ซึ่งอยู่ภายใต้การต่อต้านหรือการป้องกันตนนั้น (Gerald Coray, 1996: 118)

หมายเลขบันทึก: 687352เขียนเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2020 14:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2020 14:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท