10 ขั้นตอนการตรวจรังสีวินิจฉัยพิเศษ


การให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วย ผู้รับบริการ มีความสำคัญ

การให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วย ผู้รับบริการ มีความสำคัญ

การตรวจรังสีวินิจฉัยพิเศษ (x-ray special examination) มีหลายชนิดการตรวจ เช่น การตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่องฟลูออร์โรสโคปี (Fluororoscopy) เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computed Tomography; CT scan) เป็นการตรวจวินิจฉัย เพื่อหาความผิดปกติในร่างกาย หรือติดตามการรักษา

ผู้ป่วย ผู้รับบริการ ต้องมีการเตรียมตัว หลายอย่างเพื่อให้สามารถเข้ารับการตรวจได้อย่างเหมาะสม เช่น

- การงด ดื่มน้ำ หรือ งดกินอาหาร ประมาณ 4-6 ชั่วโมง ก่อน เข้ารับการตรวจ เพื่อไม่ให้มีอาหารตกค้างในช่องท้อง ที่จะทำให้เกิดเงามาบดบังอวัยวะที่ต้องการตรวจวินิจฉัยหรือ ลดความเสี่ยงภัยจากการตรวจให้ผู้ป่วย ผู้รับบริการ กรณีที่ต้องฉีดสารตัวกลาง หรือ สารทึบรังสี (contrast media) เข้าหลอดเลือด ซึ่งระหว่างการฉีดสารทึบรังสีเข้าร่างกาย อาจกระตุ้นให้มีการไอ หรือ จาม ระหว่างการตรวจ การสำลัก มีเศษอาหารเข้าหลอดลม

- ผู้ป่วย ผู้รับบริการ ต้องการกินยาระบาย ประมาณ 1-2 วัน ก่อนวันตรวจ เพื่อช่วยขับกากอาหารที่อยู่ในลำไส้ออก ลดปริมาณของกากอาหาร ที่จะทำให้เกิดเงามาบดบังอวัยวะที่ต้องการตรวจวินิจฉัย

- การเจาะเลือด ก่อนการตรวจ (ไม่เกิน 1 เดือน)เพื่อประเมินความสามารถของไต ในการขับของเสียออกจากร่างกาย กรณีที่ต้องมีการฉีดสารตัวกลาง หรือ สารทึบรังสี เข้าหลอดเลือด
ที่นำเสนอ เป็นข้อมูลและภาพ แบบย่อ

เพื่อให้ผู้ป่วย ผู้รับการได้ ทราบขั้นตอน แนวการเตรียมตัวก่อนตรวจ บางส่วนของการตรวจ

ซึ่งได้ นำเสนอ เนื้อหาแบบเดียวกัน แต่... เปลี่ยนพื้นหลังหลายๆ รูปแบบ
หวังว่า จะเป็นข้อมูลที่ช่วยการสร้างความเข้าใจ ก่อนการตรวจรังสีวินิจฉัยพิเศษ ได้




หมายเลขบันทึก: 687135เขียนเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2020 10:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2020 10:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท