กลุ่มผู้เปราะบาง ไม่สร้างความวุ่นวาย ต้องการความช่วยเหลือ


‘ประชากรกลุ่มเปราะบาง’ คนไทยที่ถูกลืมในระบบสุขภาพ

          “ประชากรกลุ่มเปราะบาง” คนไทยที่ถูกลืมในระบบสุขภาพ ทั้งกลุ่มคนชายแดน คนไร้สัญชาติ ผู้ต้องขัง ผู้สูงอายุที่ถูกทอดทิ้ง ผู้พิการ ระบุปัจจุบันเน้นลดเหลื่อมล้ำระหว่างกองทุน แต่ยังไม่เน้นการดูแลประชากรเปราะบางที่แฝงในแต่ละกองทุน แนะพัฒนาระบบตอบสนองประชากรกลุ่มนี้ ให้สิทธิที่เข้าถึงมีคุณภาพและเป็นธรรม                

           ประชากรกลุ่มเปราะบาง โดยทั่วไปหมายถึง กลุ่มประชากรที่มีความอ่อนแอมีความสุ่มเสี่ยงสูงที่จะถูกชักจูง ครอบงำ และคุกคามจากปัจจัยเสี่ยงด้านต่างๆ เช่น วงจรชีวิต สุขภาพ สังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และภัยพิบัติทางธรรมชาติต่างๆ ตลอดจนขาดศักยภาพในการจัดการกับปัจจัยเสี่ยงที่เผชิญอยู่และผลกระทบที่ตามมา กลุ่มประชากรที่ด้อยโอกาสทางเศรษฐกิจ ชาติพันธุ์ชนกลุ่มน้อย ผู้ไม่มีหลักประกันสุขภาพ เด็กในครัวเรือนยากจน ผู้สูงอายุ คนเร่ร่อนไร้บ้าน ผู้ติดเชื้อ HIV และผู้ที่มีภาวะเจ็บป่วยเรื้อรังซึ่งรวมถึงการเจ็บป่วยทางจิต

           ผู้คนในสังคมต้องปรับเปลี่ยนความคิดจากแนวความเชื่อดั้งเดิมที่มองว่า ความพิการหรือกลุ่มเปราะบางเป็นเรื่องของสิ่งที่ไม่ดี เป็นเรื่องของ บาป การถูกลงโทษ ซึ่งแนวความคิดดั้งเดิมนั้นมีลักษณะเป็นการจำกัดสิทธิของคนพิการหรือกลุ่มเปราะบาง ไม่สนับสนุนให้คนพิการหรือกลุ่มเปราะบางได้พัฒนาศักยภาพของตนเอง ซึ่งแนวความคิดเหล่านี้ไม่ได้จำกัดเฉพาะปัจเจกชนเท่านั้น หากแต่ได้ขยายขอบเขตไปถึง “รัฐ” ด้วย ซึ่งรัฐที่มีแนวคิดแบบดั้งเดิมนี้ก็จะมีแนวโน้มที่จะกำหนดนโยบาย ตรากฎหมายในลักษณะที่เป็นการสงเคราะห์และกีดกันคนพิการ เป็นแนวความคิดสมัยใหม่ซึ่งปรัชญาความเชื่อใหม่นี้ได้แก่ “หลักความเช่ือในศักยภาพของคนพิการหรือกลุ่มเปราะบาง และ “หลักความเสมอภาคและเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนพิการหรือกลุ่มเปราะบาง” ซึ่งความเชื่อใหม่นี้ช่วยให้คนพิการหรือกลุ่มเปราะบางพัฒนาความสามารถของตนเองได้อย่างเต็มตามศักยภาพจนสามารถพึ่งตนเองได้และเข้าไปมีส่วนร่วมกับสังคมได้อย่างเต็มที่ โดยรัฐที่ได้ให้การยอมรับแนวความคิดใหม่นี้ ตรากฎหมายและกำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องกับคนพิการหรือกลุ่มเปราะบางในลักษณะที่เป็น “รัฐสวัสดิการ” และ “สนับสนุนให้คนพิการหรือกลุ่มเปราะบางเข้าสู่สังคม” เช่น การจัดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ, จัดมาตรการการมีงานทำ            

           มนุษย์ที่เกิดมาทุกคนย่อมมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ดังนั้นในการปฏิบัติต่อกันของมนุษย์จึงต้อง “เคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” ห้ามกระทำการใดๆ อันมีลักษณะเหยียดหยามความเป็นมนุษย์ของผู้อื่น ทุกคนมีคุณค่าเท่าเทียมกัน กลุ่มเปราะบางก็มีความสามารถ มีทักษะที่ทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตได้และสามารถประสบความสำเร็จได้ด้วยตนเอง ถึงเเม้ว่าจะเป็นกลุ่มเปราะบางในสังคมไทย เเต่ด้วยความเชื่อ ความศรัทธา การเห็นคุณค่าในตัวเอง และความเท่าเทียม สิ่งเหล่านี้จะช่วยพัฒนากลุ่มเปราะบางให้สามารถทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตได้อย่างมีสุขภาวะสมบูรณ์ แต่ก็มีกลุ่มเปราะบางบางส่วนที่ต้องการความช่วยเหลือ การฝึก การบำบัดจากคนรอบข้าง และโมเดล MOHO  หรือ  Model of Human Occupation ก็สามารถช่วยพัฒนากลุ่มเปราะบางได้เช่นกัน

           MOHO  หรือ  Model of Human Occupation  ซึ่งเป็นแบบจำลองกิจกรรมการดำเนินชีวิตของมนุษย์ เพื่อการสร้างความสัมพันธ์ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความคิด การกระทำร่วมกันระหว่างผู้รับบริการและนักกิจกรรมบำบัด โดยการประเมินแยกแยะปัญหาเพื่อตั้งเป้าหมายรายบุคคลจากปัจจัยต่างๆ ดังนี้  MOHO  หรือ  Model of Human Occupation  เป็นแบบจำลองหรือกรอบแนวคิดที่นักกิจกรรมบำบัดใช้ในการประเมิน แยกแยะปัญหา เพื่อตั้งเป้าหมายรายบุคคลจากปัจจัยดังต่อไปนี้ 


          1. Assets : ความรู้ ความเข้าใจ นามธรรมในตัวบุคคล ความคิดบวก

           2. Liabilities : สิ่งที่บุคคลหามาได้เป็นรูปธรรม เช่น รางวัล ที่ดิน บ้าน รถ หนี้สิน

          3. Performance :  ความสามารถบุคคลที่แสดงออกมา      

           4. Influence : สิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวบุคคลและมีผลต่อตัวบุคคล หรือ มีผลต่อพฤติกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงได้ (Occupational Behavior) 

          ผู้เขียนมีความเห็นว่ากรอบแนวคิดนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับผู้อ่านทุกคนในการช่วยพัฒนากลุ่มเปราะบาง เพื่อให้พวกเขามีสุขภาวะสมบูรณ์ สามารถทำกิจกรรมที่มีความหมายต่อพวกเขาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น บรรลุเป้าหมายในการทำกิจกรรม โดย MOHO มีหลักการในการถามกลุ่มเปราะบางเพื่อให้พวกเขาทราบถึงเป้าประสงค์และวิธีนำไปสู่เป้าประสงค์อยู่ด้วยกัน 7 ข้อ ดังที่ผู้เขียนจะนำเสนอต่อไปนี้ 

           1. Occupational Identity  คือ การรับรู้ว่าตนเองชอบทำอะไร อยากจะทำอะไร          

           2. Occupational Component  คือ ศักยภาพของตนเอง             

           3.  Participation  คือ การมีส่วนร่วมในการทำงาน การเล่น การทำกิจกรรม             

           4. Performance  คือ ความสามารถที่ตนเองแสดงออกมา                                     

           5. Skill  คือ ทักษะ ถูกเเบ่งออกเป็น 3 ด้าน คือ Communication (การสื่อสาร) ,Motor (การเคลื่อนไหว) ,Process skill (กระบวนการคิด)                                

           6. การถามตนเอง 3 ขั้น โดยใช้ประโยคคำถามชนิด ‘อย่างไร’ 

              Volition (เจตจำนง) คือ ความตั้งใจที่จะทำ อยากทำสิ่งนั้นจริงๆ            

              Habituation (พฤตินิสัย) คือ ทำจนเป็นนิสัยหรือเป็นบทบาท เช่น ชอบทำอาหารจึงทำอาหารทุกๆวัน               

              Performance capacity (เเสดงความสามารถอย่างเต็มที่)              

          7. Environment  คือ สิ่งเเวดล้อมรอบตนเองที่มีผลต่อการทำกิจกรรม        


           ผู้อ่านมีความเชื่อมั่นว่า ถ้าบุคคลในสังคมรวมถึงรัฐบาลเห็นความสำคัญในเรื่องดังกล่าวมากขึ้น และช่วยกันพัฒนา สังคมไทยจะเต็มไปด้วยกลุ่มเปราะบางที่มีสุขภาวะสมบูรณ์              

หมายเลขบันทึก: 685571เขียนเมื่อ 27 ตุลาคม 2020 23:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 ตุลาคม 2020 14:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท