“กลุ่มคนเปราะบาง” อยากเลิกโมโห (แต่อยากเริ่มMoHo)


สวัสดีค่ะ ดิฉันนักศึกษากิจกรรมบำบัดปีที่1 จากคณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล วันนี้ดิฉันได้มีโอกาสเขียนบทความในเรื่อง “กลุ่มคนเปราะบาง” อยากเลิกโมโห(แต่อยากเริ่ม MoHo) ทุกท่านคงสงสัยแล้วใช่ไหมคะว่า คำว่ากลุ่มคนเปราะบางคืออะไรแล้วอะไรคือการเลิกโมโห แต่อยากเริ่มMoHo ดิฉันจะพาท่านไปทำความเข้าใจผ่านบทความนี้ค่ะ



“กลุ่มคนเปราะบาง” คือ?

      กลุ่มคนเปราะบางคือ กลุ่มคนที่ด้อยโอกาส ขาดโอกาสในด้านต่างๆ เช่น ผู้สูงวัย, คนยากจน รวมถึงผู้ที่ต้องการพัฒนาความสามารถ เช่นด้านอารมณ์ ด้านร่างกายต่างๆเช่น ผู้พิการเป็นต้น



      การนำMoHo มาใช้พัฒนากลุ่มคนเปราะบางนั้น เป็นการสร้างแนวทางใหม่ หรือช่วยกำหนดเป้าหมายใหม่ในชีวิตให้แก่พวกเขา แน่นอนเลยว่าการเป็นกลุ่มคนเปราะบาง อาจมีบ้างที่ทำให้พวกเขารู้สึกเหมือนโดนลดทอนคุณค่าของตัวเองลงไป สิ่งที่เคยทำได้ดีมาวันนี้กลับทำไม่ได้ สิ่งที่เป็นเครื่องมือหาเลี้ยงชีพตัวเองมาวันนี้กลับไม่สามารถใช้เป็นเครื่องมือหาเงินเพื่อเลี้ยงชีพได้อีกต่อไป เพราะฉะนั้นการสร้างคุณค่าใหม่หรือการช่วยให้กลุ่มคนเหล่านี้ได้มองเห็นถึงคุณค่าใหม่ๆ เพิ่มความสามารถใหม่ๆให้กับเขาตามศักยภาพสูงสุดของตนเองถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เพื่อให้พวกเขาได้กลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ เแน่นอนว่าเรายังคงยึดตามหลักการ7ข้อเดิมอยู่  


“ทำไมต้องโมโห?” 

      ดิฉันขอยกตัวอย่างเป็น ผู้สูงอายุท่านหนึ่งที่เป็นอัมพาตท่อนล่าง จากการประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ ทำให้ไม่สามารถเดินได้ ต้องนั่งรถเข็นตลอดชีวิต ช่วงครึ่งท่อนล่างลงไปไร้ซึ่งความรู้สึก แน่นอนค่ะว่าทุกอย่างที่เกิดขึ้นมีผลกระทบต่อจิตใจผู้สูงอายุท่านนี้มาก ก่อนที่จะประสบอุบัติเหตุ เขาชอบปลูกต้นไม้และชอบให้อาหาร อาบน้ำให้สุนัขที่บ้านเสมอๆ แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นเขาไม่สามารถกลับไปทำได้ ซึ่ง2สิ่งที่ดิฉันกล่าวไปล้วนเป็นสิ่งที่มีคุณค่าในชีวิตของเขา บ่อยครั้งที่เขาจะเกิดความเสียใจ หงุดหงิด เศร้า ที่ทุกอย่างเป็นแบบนี้ ท่านพอจะเห็นภาพของหัวข้อบทความดิฉันหรือยังคะว่าทำไม กลุ่มคนเปราะบางจึงโมโห



ต่อไปคือเราจะนำหลักการMoHo มาพัฒนาผู้สูงอายุท่านนี้อย่างไรดี?”  

Occupational Identity

-มีสิ่งไหนที่อยากจะทำ นอกเหนือจากการปลูกต้นไม้หรือการดูแลสุนัข?


 Occupational Competency

-มีความสามารถอะไร ที่จะทำให้เกิดปรับตัวใหม่ได้บ้าง?


Participation 

-ในการทดลองทำกิจกรรมประเภทงานฝีมือ มีส่วนไหนที่คิดว่าเป็นปัญหา?


Performance

-สามารถแสดงความสามารถใดได้บ้างที่จะช่วยลดปัญหาการฝึกประเภทงานฝีมือ?


Skills 

-อยากฝึกหรือเพิ่มเติมทักษะอะไรเพิ่มเติมที่คิดว่าจำเป็นต่อการทำงานฝีมือ?


Volition-Habituation-Performance Capacity 

-ถามเจตจำนงที่แท้จริงว่าผู้รับบริการคิดอย่างไรเกี่ยวการฝึกงานฝีมือ มีความสนใจหรือไม่อย่างไร(Volition)

-แนะนำให้อย่าเพิ่งถอดใจในกิจกรรมใหม่ๆเช่นงานฝีมือ หมั่นฝึกฝนเพื่อสร้างเป็นนิสัยใหม่ๆ(Habituation)

-ตั้งเกณฑ์การประเมิน ความสามารถที่เพิ่มขึ้นหรือทักษะที่เพิ่มขึ้น(Performance Capacity)


Environment 
 -สิ่งแวดล้อมใดที่จะทำให้การฝึกมีศักยภาพสูงสุด?


จะเห็นได้ว่า MoHo Model ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลย เราสามารถนำมาปรับใช้ได้ด้วยตัวเองเพื่อตัวเองหรือคนอื่นอย่างเหมาะสม ดิฉันหวังว่าท่านผู้อ่านจะได้รับประโยชน์จากบทความนี้ค่ะ

ขอบคุณค่ะ






          


    

         

       

หมายเลขบันทึก: 685518เขียนเมื่อ 27 ตุลาคม 2020 23:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 ตุลาคม 2020 23:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท