Day41 ในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพที่เทศบาลตำบลตาก้อง วันที่ 4 กันยายน พ.ศ.2563


การทำงานในวันนี้

วันนี้มีโอกาศได้ลงพื้นที่ไปศึกษาวิธีการเพาะเห็ดฟางจากทะลายปาล์ม ในพื้นที่หมู่ที่4

ความรู้
การเพาะเห็ดฟางแบบโรงเรือน : เป็นการใช้ความรู้ทางด้านการเกษตรแผนใหม่เข้าช่วยในทุกขั้นตอนของการเจริญเติบโต จนกระทั่งเกิดดอกและเก็บเกี่ยว ผู้ที่จะเพาะเห็ดฟางแบบโรงเรือน จึงควรจะผ่านการเพาะเห็ดแบบกองสูงหรือกองเตี้ยมาแล้ว เพื่อจะได้ทราบถึงความต้องการปัจจัยต่าง ๆ ในการเจริญเติบโตของเห็ดฟางทุกขั้นตอนตั้งแต่เริ่มแรกจนกระทั่งเก็บเกี่ยวผลผลิต ทั้งนี้เพราะการเพาะเห็ดฟางด้วยวิธีนี้ต้องลงทุนครั้งแรกสูงมากในด้านการก่อสร้างโรงเรือน เครื่องกำเนิดไอน้ำ และอุปกรณ์อื่น ๆ มีขั้นตอนในการเพาะเห็ดมากขึ้น โดยจะต้องหมักปุ๋ยที่จะใช้เพาะ, นำมาตีให้ละเอียด, ใส่ในโรงเรือน, เลี้ยงเชื้อรา, อบฆ่าเชื้อ, ปรับอุณภูมิความชื้นและแสง เป็นต้น หากปรับสภาพแวดล้อมไม่ถูกวิธีอาจทำให้เสียทั้งหมดได้การเพาะเห็ดฟางแบบโรงเรือน เป็นการใช้ความรู้ทางด้านการเกษตรแผนใหม่เข้าช่วยในทุกขั้นตอนของการเจริญเติบโต จนกระทั่งเกิดดอกและเก็บเกี่ยว ผู้ที่จะเพาะเห็ดฟางแบบโรงเรือน จึงควรจะผ่านการเพาะเห็ดแบบกองสูงหรือกองเตี้ยมาแล้ว เพื่อจะได้ทราบถึงความต้องการปัจจัยต่าง ๆ ในการเจริญเติบโตของเห็ดฟางทุกขั้นตอนตั้งแต่เริ่มแรกจนกระทั่งเก็บเกี่ยวผลผลิต ทั้งนี้เพราะการเพาะเห็ดฟางด้วยวิธีนี้ต้องลงทุนครั้งแรกสูงมากในด้านการก่อสร้างโรงเรือน เครื่องกำเนิดไอน้ำ และอุปกรณ์อื่น ๆ มีขั้นตอนในการเพาะเห็ดมากขึ้น โดยจะต้องหมักปุ๋ยที่จะใช้เพาะ, นำมาตีให้ละเอียด, ใส่ในโรงเรือน, เลี้ยงเชื้อรา, อบฆ่าเชื้อ, ปรับอุณภูมิความชื้นและแสง เป็นต้น หากปรับสภาพแวดล้อมไม่ถูกวิธีอาจทำให้เสียทั้งหมดได้

วัสดุ-อุปกรณ์ที่ใช้ในการเพาะเห็ด :
1. ทะลายปาล์มน้ำมันจากโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม / แปลงเกษตรกร
2. อาหารเสริม เป็นสิ่งสำคัญในการเพาะเห็ด เพราะวัสดุที่นำมาใช้มีธาตุอาหารน้อย เราจำเป็นต้องเพิ่มอาหารเสริมให้แก่แปลงเห็ด ซึ่งอาหารเสริมที่นำมาประกอบด้วย กากฝ้าย ไส้นุ่น ผักตบชวาแห้งสับ หากต้องการให้มีสารอาหารมากขึ้น ก็นำมาคลุกกับรำละเอียด ก็จะเป็นอาหารเสริมชั้นดีของเห็ดได้
3. เชื้อเห็ดฟาง ควรเป็นเชื้อเห็ดพันธุ์ดีที่ให้ผลผลิตสูง และเชื้อเห็ดไม่ควรแก่หรืออ่อนจนเกินไป
ขั้นตอนการเพาะเห็ด :ในการเพาะเห็ดควรเลือกพื้นที่ให้เหมาะสม หากพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีธาตุอาหารสูงก็ช่วยเพิ่มผลผลิตของเห็ด ควรปฏิบัติดังต่อไปนี้
1. นำทะลายเปล่าปาล์มน้ำมันมาทำการแช่น้ำไว้ ประมาณ 3 วัน คลุมด้วยผ้าพลาสติก
2. หลักจากหมักครบกำหนดแล้วจึงนำทะลายเปล่าปาล์มน้ำมันมาเรียงเป็นแถวๆ บนชั้นเพาะเห็ด
3. ทำการอบฆ่าเชื้อ โดยก่อไฟแล้วปล่อยควันไฟให้เข้าไปในโรงเพาะเห็ด ประมาณ 6 – 7 ชั่วโมง ให้อุณหภูมิอยู่ที่ 70 องศา ในระยะเวลา 2 – 3 ชั่วโมง โดยจะต้องทำการอบทั้งวัน
4. เตรียมเชื้อเห็ดฟางผสมกับอาหารเสริม หว่านบนแถวที่เตรียมไว้
5. ปิดโรงเพาะเห็ดให้สนิท หลังจากนั้นประมาณ 3 วัน แล้ววันที่ 4 ค่อยเปิดดู เมื่อเห็ดเดินใยก็เอาน้ำฉีด ฉีดทุกชั้น และให้อุณหภูมิอยู่ที่ 35 องศา(ห้ามให้เกินถ้าเกินเห็ดจะฝ่อ) จากนั้นก็ต้องทำการเปิดประตูโรงเพาะเพื่อระบายอากาศ
6. หลังจากนั้นเปิดดูทุกวันได้ อีกประมาณ 7 - 10 วัน ดอกเห็ดก็จะออก และสามารถเก็บผลผลิตขายได้
การใช้ทะลายปาล์มเพาะเห็ดฟางนั้นจะต้องทำการหมักทะลายปาล์มไว้ก่อนนำมาใช้ : ซึ่งจะทำการหมักพร้อมกับส่วนผสมอื่นๆ โดยจะหมักเป็นระยะเวลา 3 วัน การใช้ทะลายปาล์มเพาะ 1 ครั้ง นั้นสามารถใช้เพาะเห็ดได้ 3 รุ่น ซึ่งถือว่าคุ้มค่าและช่วยลดต้นทุนให้กับเกษตรกรได้เป็นอย่างดี โดยคุณลุงจันทร์ได้เล่าให้ฟังว่าตนจะสั่งซื้อทะลายปาล์มจากจังหวัดชุมพร ครั้งละประมาณ 16 ตัน ตันละ 750 บาท ใช้เพาะเห็ดครั้งละ 3 ตัน


เชื้อเห็ดที่คุณลุงจันทร์เพาะอยู่นั้น จะรับซื้อมาจาก 2 แหล่ง โดยซื้อมาจากวิหารแดง(เพชรวิหาร) ขวดละ 8 บาท จะให้ดอกเห็ดที่ใหญ่ แต่ให้ผลผลิตน้อย และอีกที่หนึ่งก็คือ ชัยบาดาล(เชื้อ 3 เอ) ขวดละ 10 บาท ให้ดอกเล็กกว่า แต่ให้ดอกในปริมาณที่เยอะกว่า ซึ่งปัจจัยอีกอย่างหนึ่งที่จะทำให้ได้ผลผลิตดอกเห็ดเยอะนั่นก็คือทะลายปาล์ม ลงทะลายปาล์มหนึ่งครั้งสามารถเพาะเห็ดได้ 3 รุ่น จะให้ผลผลิตเยอะสุดคือรุ่นที่ 1 แต่จะต้องลงทุนค่อนข้างสูง


หมายเลขบันทึก: 685384เขียนเมื่อ 27 ตุลาคม 2020 21:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 ตุลาคม 2020 21:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท