สมดุลของสมองและจิตใจที่มีผลต่อความผิดปกติทางจิตใจ


ร่างกายของคนเรามีอวัยวะคือสมองซึ่งถือเป็นอวัยวะที่สำคัญในร่างกาย โดยมีการทำงานเกี่ยวข้องกับจิตใจ หน้าที่ของสมองเอื้อให้มนุษย์มีความสามารถในการมีความคิดความเข้าใจทั้งในระดับพื้นฐานและระดับสูงซึ่งส่งผลต่อการดำเนินชีวิตที่พอความคิดที่สนใจหรือให้คุณค่ากับกิจกรรมเริ่มหายไปต้องกลับมาดูนิสัยของตัวเองใหม่ โดยถ้าเปลี่ยนบทบาทนิสัยได้ ความสามารถก็จะเกิดขึ้นมาได้โดยไม่ต้องมีแรงบันดาลใจ และถ้าหากเกิดความคิดผิดพลาด จะบำบัดโดยใช้การถามอย่างลึกซึ้ง(ทำไมหรืออย่างไร) ใช้การสัมภาษณ์ถึงสาเหตุและวางแผนในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน และใช้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยการปรับที่ความคิดของผู้ที่ได้รับการบำบัด ทำให้มีความสามารถในการควบคุมจิตใจและอารมณ์ของตัวเอง(เศร้า โกรธ กลัว)มีความมั่นคง ซึ่งหากเกิดอารมณ์เหล่านี้ สามารถผ่อนคลายได้โดยการเคาะอารมณ์ ใช้สองนิ้วของมือทั้งสองข้างเคาะไปที่ส่วนของร่างกายที่รู้สึกตึง นอกจากนี้ยังมีความสามารถในการที่จะมีปฎิสัมพันธ์ต่อสังคม โดยจะแบ่งเป็นการมีปฎิความสัมพันธ์กับตัวเอง มีวิธีการบำบัดคือการกอดตัวเอง การมีปฎิสัมพันธ์กับผู้อื่น มีวิธีบำบัดคือการพูดคุยหรือได้ยินเสียงกัน การมีปฎิสัมพันธ์ภายในกลุ่ม(เพื่อน) บำบัดโดยให้ตัดสินใจหรือแก้ปัญหาร่วมกันและสุดท้ายการมีปฎิสัมพันธ์ภายนอกกลุ่ม(คนที่ไม่รู้จัก) บำบัดโดยทำกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวร่างกายร่วมกัน สุดท้ายการคิดที่ไตร่ตรองทั้งร่างกายและจิตใจผ่านการมีสังคมจะนำไปสู่การมีภาวะจิตสังคมที่ดี


หมายเลขบันทึก: 685203เขียนเมื่อ 27 ตุลาคม 2020 10:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 ตุลาคม 2020 10:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท