อยากชวนทุกคนมา “MoHo” เพื่อพัฒนาตนเอง


           สวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่านค่ะ ก่อนอื่นขออนุญาตแนะนำตนเองก่อนนะคะดิฉันชื่อ นางสาวภควดี สุทธิประทีป หรือจะเรียกว่าออมสินก็ได้ค่ะ ดิฉันเป็นนักศึกษาชั้นปีที่1 คณะกายภาพบำบัด สาขากิจกรรมบำบัด เมื่อวันที่17 ตุลาคม 2563ที่ผ่านมา ดิฉันได้รับความรู้ใหม่ที่เกี่ยวกับวิชาชีพกิจกรรมบำบัด ซึ่งตอนเรียนยอมรับเลยว่ามีความสับสน และเกิดคำถามขึ้นมากมาย แต่เมื่ออาจารย์ยกตัวอย่างกรณีศึกษา ก็ทำให้มีความเข้าใจมากขึ้น สิ่งนั้นก็คือโมเดล “MoHo”นั่นเองค่ะ 

           ก่อนอื่นต้องขอเกริ่นก่อนว่าโมเดล “MoHo”เป็นโมเดลที่ใช้ประเมินแยกแยะปัญหาเพื่อตั้งเป้าหมายรายบุคคลและเพื่อเพิ่มความสามารถของผู้รับบริการในการแสดงบทบาทที่มีความหมายในชีวิต โดยจะใช้การตั้งคำถาม7หัวข้อเพื่อประเมินและพัฒนาความสามารถตามเป้าประสงค์ ซึ่งสิ่งที่ดิฉันจะพูดถึงวันนี้คือ ประโยชน์ของMoHoต่อการพัฒนาตนเอง ขอบอกไว้ก่อนว่าที่ดิฉันจะพูดถึงเป็นเพียงการแชร์ไอเดียเท่านั้น ซึ่งจริงๆแล้วทุกคนสามารถนำโมเดลMoHoไปประยุกต์ใช้ในแบบของตัวเองได้ แต่สำหรับตัวดิฉันแล้วการนำหลักการการตั้งคำถามจากMoHoมาใช้ทำให้เราได้ทบทวนและประเมินตนเองอยู่เสมอว่าเรากำลังทำหน้าที่อะไร หมกมุ่นกับสิ่งใดอยู่ แล้วเราเต็มใจทำสิ่งนั้นหรือไม่ ถ้าเราทำแล้วเราทำเต็มศักยภาพมากแค่ไหน แล้วเราจะต่อยอดสิ่งนั้นได้อย่างไร พูดแบบนี้อาจจะยังไม่เห็นภาพมากนัก ดังนั้นดิฉันจึงขอยกตัวอย่างกับการฝึกทำขนมของตัวดิฉันเอง

1.Occupational Identity เป็นการตั้งคำถามถึงสิ่งที่ต้องการจะทำก็คือการฝึกทำขนม เพราะถ้าทำแล้วออกมาอร่อยอาจจะทำขายเป็นการหารายได้เสริม

2.Occupational Competency เป็นการตั้งคำถามถึงความสามารถที่จะทำให้ไปถึงเป้าหมายที่อยากทำ เช่น มีความรู้หรือความสามารถอะไรเกี่ยวกับการทำขนมบ้าง คำตอบคือ มีความรู้ในการทำบราวนี่ สามารถประยุกต์กับขนมแบบอื่นได้เล็กน้อย ส่วนมากถนัดทำขนมอบ

3.Participation เป็นการตั้งคำถามต่อยอดจากข้อ 2. เช่น อยากฝึกทำขนมอะไรแล้วมีปัญหาอย่าไรในการทำบ้าง คำตอบก็คือ อยากฝึกทำบราวนี่หน้าฟิล์ม เพราะปกติทำแล้วหน้าไม่ค่อยขึ้นเงาสาเหตุมาจากตีส่วนผสมไม่ค่อยเข้ากันเพราะใช้ตะกร้อมือ

4.Performance เป็นการถามว่าทำอะไรได้หรือไม่ได้ และเพิ่มความสามารถอะไรได้บ้าง เช่น แล้วได้ลองแก้ปัญหาดังกล่าวอย่างไรบ้าง คำตอบคือ ลองตีด้วยความเร็วที่มากขึ้น และนำน้ำมันพืชไปอุ่นก่อนเพื่อให้น้ำตาลละลายได้ดีขึ้น หลังจากลองทำก็ยังรู้สึกว่าหน้าไม่ขึ้นฟิล์มมากเท่าที่ควร

5.Skills คำนึงถึงทักษะในแต่ละด้านที่ใช้ในกิจกรรมเป้าหมายทั้งในด้าน motor process และcommunication เช่นในปัญหาที่พูดไปในข้อต้นๆ อาจจะเกิดจากการตีส่วนผสมในเวลาที่น้อยไปเนื่องจากหมดแรงเมื่อยแขน ในครั้งหน้าอาจจะขอให้น้องมาช่วย

6.Volition-Habituation-Performance Capacity ในส่วนนี้จะต้องพิจารณาทั้งหมด 3 ขั้น โดยดูจาก volition (เจตจำนง ความตั้งใจทำจริงจัง) , Habituation (การทำจนเป็นนิสัย/ทำตามบทบาทหน้าที่) และ Performance capacity ว่าทำสิ่งนั้นเต็มศักยภาพหรือไม่ต่อยอดอย่างไร

7.Environment ในข้อนี้พิจารณาและตั้งคำถามเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบตัวของตนเองว่ามีสิ่งใดที่ส่งผลกับพฤติกรรมหรือนิสัยที่เรากำลังเป็นอยู่บ้าง

และทั้งหมดนี้ก็คือการใช้หลักการ MoHoในการพัฒนาตนเองในด้านที่ยกตัวอย่างไป จริงๆแล้วMoHoสามารถประยุกต์ใช้ได้ในอีกหลายด้านถ้าท่านผู้อ่านพอจะได้ไอเดียแล้ว ลองนำไปปรับใช้ในชีวิตของท่านดูสิคะ

หมายเลขบันทึก: 685083เขียนเมื่อ 26 ตุลาคม 2020 23:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 ตุลาคม 2020 00:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท