สรุปบทเรียนกิจกรรมบำบัดจิตสังคม


   ในทางกิจกรรมบำบัดจิตสังคมสมองส่วนหน้า(frontal brain)จะเป็นส่วนที่มีผลต่อจิตใจที่สุดซึ่งจะแบ่งเป็นส่วนที่ควบคุมอารมณ์ต่างๆเช่น กลัว เศร้า โกรธ เรียกสมองส่วนนี้ว่า “Limbic brain”  ส่วนต่อมาคือส่วนที่ควบคุมการรับความรู้สึก การเคลื่อนไหว(Sensorimotor brain)รวมไปถึงการสื่อสาร และความจำ ส่วนต่อมาคือส่วนที่ควบคุมความคิดระดับสูงซึ่งเมื่อเรามีสติจะทำให้เราสามารถตัดสินใจและแก้ปัญหาได้ดี และส่วนสุดท้ายคือส่วนที่ควบคุมระดับความคิดทำให้ตัวบุคคลเกิดแรงบันดาลใจที่ต้องการทำกิจกรรม(volition) เมื่อมีการลงมือทำจะกลายเป็นพฤติกรรมที่ทำบ่อยๆจนเป็นนิสัย(habituation) มีผลทำให้ตัวบุคคลเกิดทักษะความสามารถในการทำกิจกรรม(performance)  แต่ถ้าสมองเกิดการทำงานผิดปกติจะมีผลต่อความคิดที่ผิดปกติ(Thinking errors)ซึ่งนักกิจกรรมบำบัดจะใช้เทคนิคต่างๆเช่น CBT, MI, 5why เป็นต้น สำหรับความสามารถในการทำกิจกรรมของตัวบุคคลจะเริ่มตั้งแต่ระดับcomfort zoneคือทำกิจกรรมที่ตนคุ้นเคย รู้สึกสบายใจ และเมื่อก้าวออกมาอีกระดับคือsafe zoneจะอยู่ในพื้นที่ปลอดภัย ในระดับต่อมาคือchallenging zoneจะมีความกล้าเผชิญกับความท้าทาย แต่ในระดับนี้ถ้ามีความกลัวเกิดขึ้นก็จะอยู่ในระดับrisk zone และสุดท้ายเมื่อตัวบุคคลมีการพัฒนาตนเอง และสามารถปรับตัว ปรับสิ่งแวดล้อม  จะส่งผลให้ความสามารถในการทำกิจกรรมของตัวบุคคลมีประสิทธิภาพ สามารถทำกิจกรรมได้ตามเป้าหมายที่ตั้งใจ และเกิดความพึงพอใจในตนเอง(occupational adaptation)

คำสำคัญ (Tags): #worldOTday
หมายเลขบันทึก: 685080เขียนเมื่อ 26 ตุลาคม 2020 23:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 ตุลาคม 2020 23:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท