สรุปผังความคิดกิจกรรมบำบัดจิตสังคม



การบำบัดรักษาทางกิจกรรมบำบัดเพื่อสุขภาวะที่ดี (well-being) ตัวนักกิจกรรมบำบัดจะใช้ตนเองเป็นสื่อในการบำบัด(Therapeutic use of self) โดยเริ่มจากให้ผู้รับบริการออกมาจาก Comfort zone ของตนเองด้วยวิธีการสัมผัสเพื่อการบำบัด เช่น การเขย่าตัว ซึ่งจะให้ใช้ภาษากายเป็นหลัก เมื่อผู้รับบริการสามารถออกจาก Comfort zone ของตนเองได้จะนำไปสู่ Safe zone ซึ่งโซนนี้ผู้บำบัดจะใช้เสียงเพื่อการบำบัด อาจเป็นการตั้งคำถามหรือการใช้น้ำเสียงที่อ่อนโยน ถ้าผู้รับบริการมีอารมณ์ โกรธ เส้า กลัว เนื่องมาจากผลของสมองส่วน limbic brain จึงต้องใช้สมองส่วนหน้ามาช่วยทำให้อารมณ์มั่นคงขึ้นโดยวิธีการ State examination ที่เป็นการถามระดับความตึงตัวในร่างกาย เพื่อปรับอารมณ์ของผู้รับบริการผ่านการเคาะอารมณ์ หรือการขยับร่างกาย จากนั้นจะนำไปสู่ Challenging zone ในโซนนี้ผู้บำบัดจะกระตุ้นความรู้ความเข้าใจ เมื่อผู้รับบริการเกิดความคิดที่บิดเบือนผู้บำบัดจะใช้การตั้งคำถามเพื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและความคิดนำไปสู่การแก้ปัญหาและการบูรณาการกระบวนการรู้คิด(EF) ผู้บำบัดจะขจัด Risk zone ที่เกิดขึ้น โดยใช้การเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อการบำบัด เช่น การขยับร่างกายไปในทิศทางต่างๆ ซึ่งแต่ละกิจกรรมที่ทำควรคำนึงถึงความสมดุลกันระหว่างตัวผู้รับบริการ สิ่งแวดล้อม และกิจกรรม

หมายเลขบันทึก: 685028เขียนเมื่อ 26 ตุลาคม 2020 20:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 ตุลาคม 2020 08:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท