ใช้MOHOเเล้วไม่โมโหกับการพัฒนากลุ่มเปราะบาง


       ในปัจจุบันนี้คนเรานั้นมีความเท่าเทียมกันหมด คนเราทุกคนมีคุณค่า มีความสำคัญ และมีความสามารถเฉพาะตัว ถ้าหากเราเห็นคุณค่าในตัวเองและมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี แม้ว่าจะเจอกับปัญหาที่ยากลำบากก็จะทำให้เรานั้นผ่านอุปสรรคต่างๆมาได้และมีความสุขในการใช้ชีวิต

       เราทุกคนมีสิทธิ เสรีภาพ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ กลุ่มเปราะบางก็เช่นกัน พวกเขานั้นก็มีสิทธิ เสรีภาพ ในการเลือกกระทำการต่างๆได้โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติ  เราก็สามารถนำ MOHO (Model of Human Occupation)มาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนากลุ่มเปราะบางได้เช่นกัน

MOHO เป็นการประเมินแยกแยะปัญหาเพื่อตั้งเป้าหมายรายบุคคล เพื่อเพิ่มความสามารถของผู้รับบริการในการแสดงบทบาทที่มีความหมายกับชีวิต โดยใช้สิ่งแวดล้อมเป็นสื่อในการพัฒนาร่วมกับการปรับตัวและทักษะชีวิต 
          เนื่องจากเราทุกคนนั้นย่อมมีเป้าหมายในชีวิตอยู่แล้ว เหลือเเต่เเค่เราลงมือทำ กลุ่มเปราะบางนั้นพวกเขาก็มีความสามารถ มีทักษะที่ทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตได้ไม่ต่างกับบุคคลคนทั่วไป กลุ่มเปราะบางหลายคนสามารถประสบความสำเร็จได้ด้วยตนเอง เเม้ร่างกายอาจมีการบกพร่องไม่เอื้ออำนวยเหมือนคนอื่น เเต่ด้วยความที่เขามีความคิดที่ดี มองโลกในเเง่ดี มีทัศนคติที่ดี ทำให้เขาข้ามผ่านสิ่งนั้นมาได้ ด้วยความตั้งใจ เเละความพยายาม เเละมีอีกสิ่งที่คำสัญเป็นอย่างมากคือการมีสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวที่ดี สามารถเอื้ออำนวยกลุ่มเปราะบางได้ เช่น ทางลาดรถวีลแชร์ อักษรเบรลล์สำหรับผู้พิการทางสายตา หรือการให้โอกาสในการแสดงความสารถของประชาชนที่อยู่ในบริเวณที่ไม่ได้รับการพัฒนา สิ่งเหล่านี้จะสามารถช่วยพัฒนากลุ่มเปราะบางได้

ยกตัวอย่างการใช้MOHO กับกลุ่มเปราะบาง ตัวอย่างที่นำมาวันนี้คือผู้สูงอายุอยากทำอาหาร เนื่องจากตอนนี้มีผู้สูงอายุเป็นจำนวนมากขึ้น

    โดยMOHOนั้นประกอบไปด้วย 7 ด้าน ได้เเก่

  1. Occupational Identity คือ การรับรู้ว่าตนเองชอบทำอะไร อยากทำอะไร เช่น อยากทำอาหาร ทำเพื่ออะไร เพื่อรับประทานเอง เพื่อให้ลูกหลาน 
  2. Occupational Component คือ ศักยภาพของตนเอง เช่นถ้าอยากทำอาหาร ศักยภาพ คือ สามารถทำอาหารเเล้วรสชาติดี
  3. Participation คือ การมีส่วนร่วม เช่น ทำอาหารอาจจะมีคนคอยช่วยเหลือ
  4. Performance คือ ความสารถ เช่น สามารถเตรียมวัตถุดิบ อุปกรณ์การทำอาหารได้
  5. Skill คือ ทักษะโดยถูกเเบ่งออกเป็น 3 ด้าน คือ Communication(การสื่อสาร)เช่น สื่อสารได้ว่าจะทำอะไร พูดคุย ขอความช่วยเหลือได้ Motor(การเคลื่อนไหว) เช่น การเดินไปหยิบของ การยืนเป็นเวลานาน การใช้มือ การใช้มีด Process skill(กระบวนการคิด) เช่น รู้ขั้นตอนการทำอาหาร รู้ว่าขั้นตอนต่อไปต้องทำอะไรต่อ 
  6. Volition(เจตจำนง) คือ ความตั้งใจที่จะทำ อยากทำสิ่งนั้นจริงๆ  Habituation(พฤตินิสัย) คือ ทำจนเป็นนิสัยหรือเป็นบทบาท เช่น ชอบทำอาหารจึงทำอาหารทุกๆวัน Performance capacity(เเสดงความสามารถอย่างเต็มที่)
  7. Environment คือ สิ่งเเวดล้อม เช่น ในการทำอาหารนั้นมีอุปกรณ์ในการทำอาหารไหม มีวัตถุดิบไหม  

จะเห็นได้ว่าการใช้MOHOนั้นเป็นเหมือนการตั้งเป้าหมายและรับรู้สามารถของตนเอง เหลือแต่เราที่ต้องลงมือทำ เราต้องคิดว่าเราทำได้ เป้าหมายนั้นอยู่ไม่ไกล เราเพียงต้องพยายามและอดทน สักวันหนึ่งเราจะไปได้ถึงเป้าหมายของเรา 

นางสาว ภวิดา รัตนพงษ์วิเศษ

หมายเลขบันทึก: 684958เขียนเมื่อ 26 ตุลาคม 2020 10:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 ตุลาคม 2020 10:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท