Unlock กลุ่มเปราะบางด้วย MoHo Model


        ปัจจุบันในสังคมมนุษย์ทุกคนมีสิทธิ เสรีภาพและความเท่าเทียมกัน ทุกคนมีความเป็นมนุษย์เท่า ๆ กันไม่มีใครดีกว่าใคร หรือ มีคุณค่าไปกว่าใคร มนุษย์ทุกคนมีสิทธิที่จะได้ทำกิจกรรมที่ตนเองสนใจและชื่นชอบ แต่ก็เป็นอันปฏิเสธไม่ได้ว่าในสังคมจริง ๆ แล้ว ยังมีกลุ่มคนที่ถูกมองว่าไม่มีคุณค่า หรือมองว่าไม่มีประโยชน์ อีกทั้งยังไม่มีสิทธิที่จะทำกิจกรรมที่มนุษย์ทั่วไปได้ทำหรือกิจกรรมตนเองอยากทำ เราจะได้ยินในนามของ “กลุ่มเปราะบาง”  


        กลุ่มเปราะบาง คือ กลุ่มประชากรที่มีข้อจำกัดในการช่วยเหลือตนเองไม่สามราถช่วยเหลือตนเองได้อย่างเต็มร้อย ต้องการการดูแลเป็นพิเศษทั้งในด้านร่างกาย จิตใจ สังคม เช่น ผู้พิการทางกาย ผู้ป่วยจิตเภท ผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาส กลุ่มเด็กพิเศษ เป็นต้น


    MoHo Model สามารถนำมาใช้ในการช่วยเหลือ ประเมิน และรักษาผู้รับบริการในกลุ่มเปราะบางได้ในหลากหลายด้านไม่ว่าจะเป็นด้านจิตใจ ที่จะช่วยเยียวยาให้ผู้รับบริการกลับมาเห็นคุณค่าในตนเองสามารถตั้งเป้าหมาย เจตจำนงค์ที่ชัดเจนให้ตนเอง , ด้านสังคม จะช่วยให้ผู้รับบริการสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุขสามารถสร้างอาชีพ ทำกิจกรรมที่ตนเองสนใจ อีกทั้งนักกิจกรรมบำบัดจะสามารถใช้ MoHo Model ในการให้คำปรึกษา กระตุ้นให้ผู้รับบริการเกิดนิสัย บทบาทใหม่ (New Normal Habits-Roles) โดยจะมาในรูปแบบของคำถามเพื่อให้ผู้รับบริการได้คิด วิเคราะห์ตนเองว่าอะไรคือสิ่งที่เป็นเป้าประสงค์หลักของตนเอง กิจกรรมอะไรที่ทำแล้วตนเองมีความสุข ทำกิจกรรมนั้นแล้วได้อะไร คิดเห็นอย่างไรกับกิจกรรมนั้นๆ เมื่อผู้รับบริการสามารถตอบคำถามได้ทั้งหมด ผู้รับบริการก็จะเห็นถึงคุณค่าภายในตนเองและสามารถจัดระบบความคิดได้ รับรู้ได้ว่าชีวิตจะเดินต่อไปทางไหน(Volition) จนเกิดไปเป็นบทบาท หน้าที่ อุปนิสัย(Habituation&Roles) และเกิดเป็นทักษะความสามารถต่อไป(Performance)

ยกตัวอย่าง Case ผู้พิการทางกายที่ต้องใช้วิลแชร์ ไม่สามารถกลับไปทำงานได้เช่นเดิม

1.Occupational Identity : ให้ผู้รับบริการค้นหาตนเองว่าตนเองต้องการทำอะไร เพราะอะไร อาจเป็นกิจกรรมที่ผู้รับบริการชอบอยากทำอยู่แล้วหรือเป็นกิจกรรมที่สามารถทดแทนการทำงานที่ผู้รับบริการเคยทำมาก่อน สามารถทำเป็นอาชีพได้ เช่น ผู้รับบริการอยากทำอาหาร

2. Occupational Competence : วิเคราะห์ว่ากิจกรรมที่ผู้รับบริการอยากทำนั้นต้องใช้ความสามารถอะไรในการทำกิจกรรม  เช่น หากจะทำอาหารต้องมีความสามารถอะไรบ้าง ? 

3. Participation : การประเมินว่าในปัจจุบันผู้รับบริการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมอย่างไร เช่น ผู้รับบริการมีส่วนร่วมในการทำอาหารอย่างไร?     มีปัญหากับกิจกรรมการทำอาหารอย่างไรบ้าง?

4. Performance : การบอกว่าตนเองมีความสามารถอะไร อย่างไร เช่น การทำอาหารต้องใช้ทักษะอะไร? ตัวผู้รับบริการมีทักษะในการทำอาหารอย่างไรบ้าง?

5. Skills : ทักษะต่างๆของตนเองไม่ว่าจะเป็นด้าน Communication skill (ทักษะด้านการสื่อสาร) Motor skill (ทักษะด้านการเคลื่อนไหว) Process skill (ทักษะด้านการคิด) เช่น ผู้รับบริการมีทักษะกระบวนการคิดที่จะนำไปต่อยอดการทำอาหารอย่างไร ?

6. Volition-Habituation-Performance : เป็นกระบวนการที่สำคัญมากๆในการประเมินผู้รับบริการ จะทำให้ทั้งผู้รับบริการและตัวนักกิจกรรมบำบัดเองจะได้รับรู้ถึงความคิด อุปนิสัยและความสามารถของผู้รับบริการได้อย่างแท้จริง                                                           
    6.1 Volition คือ เจตจำนงค์ของตนเองว่าต้องการทำอะไร volition เป็นสิ่งเริ่มแรกที่เราต้องประเมินและต้องรับรู้ให้ได้ว่าเราต้องการจะทำกิจกรรมอะไรซึ่งจะส่งผลทำให้เกิดเป็นอุปนิสัยและความสามารถในภายภาคหน้า เช่น ผู้รับบริการจะทำอะไรต่อไป ?                                            6.2 Habituation คือ อุปนิสัยที่จะนำไปสู้เป้าหมายที่ตั้งไว้จะทำได้อย่างไร  เช่น พฤติกรรมนิสัยอะไรที่จะนำไปสู่การทำอาหาร ? 
    6.3Performance Capacity คือ ความสามารถสูงสุด ต้องใช้ความสามารถอะไรในการทำกิจกรรมนั้นบ้าง ทำได้อย่างไร  เช่น การทำอาหารต้องใช้ความสามารถอย่างไร ?

7. Environment : สิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัวมีผลต่อการทำกิจกรรมของผู้รับบริการเป็นอย่างมาก นอกจากตัวของผู้รับบริการแล้วสิ่งแวดล้อมก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความคิด จิตใจ การใช้ชีวิตของผู้รับบริการเช่นเดียวกัน เช่น สิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัวของผู้รับบริการส่งผลอย่างไรต่อการทำอาหาร ?  ห้องครัวที่บ้านของผู้รับบริการมีผลกระทบต่อการทำอาหารอย่างไร ?   


นางสาวอรุณี ดอกมะลิ นักศึกษากิจกรรมบำบัด ชั้นปีที่ 1/2563 มหาวิทยาลัยมหิดล

หมายเลขบันทึก: 684937เขียนเมื่อ 25 ตุลาคม 2020 23:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 ตุลาคม 2020 13:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท