Day69 ในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพที่เทศบาลตำบลตาก้อง วันที่ 15 ตุลาคม 2563


การทำงานในวันนี้

วันนี้มีการจัดประชุมให้ความรู้ ให้ชาวบ้านหมู่ที่6 ในแต่ละหมู่ของตำบลตาก้องจะมีการจัดประชุม ประจำเดือนในแต่ละหมู่ กิจกรรมก็จะแตกต่างกันออกไปแล้วแต่ความเหมาะสม วันนี้กิจกรรมของหมู่ที่6 คือการสาธิตการดองไข่เค็ม

ประโยชน์ในการแปรรูปอาหารการทำไข่เค็ม

1. ได้รับความรู้ด้านการแปรรูปอาหาร เรื่องการทำไข่เค็ม 

2. เพื่อให้เกิดความเข็มแข็งในการผลิตและแปรรูปอาหารที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน

3. เกิดการบริหารจัดการด้านการแปรรูปอาหารการทำไข่เค็มอย่างมีคุณภาพและ

   ประสิทธิภาพ

4. เกิดการพึ่งพาตนเอง ครอบครัว ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขื้น

5. ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

6. เป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวอย่างน้อย เดือนละ 800 – 12000 บาท 

7. เป็นการเพิ่มมูลค่าจากการขายไข่เป็ด ใบละ 4 บาท เมื่อทำไข่เค็มแล้วขายได้ใบละ 8 บาท

8. เป็นการถนอมอาหาร เก็บไว้รับประทานนอกฤดูการ 

9. ประหยัดต้นทุน ลดรายจ่าย           10.เป็นความภาคภูมิใจและสามารถถ่ายทอดความรู้เรื่องการทำไข่เค็มให้กับชุมชนและผู้ที่สนใจได้เป็นอ่างดี

การทำไข่เค็ม (Salted Egg)

วัสดุ-อุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต 

1. ไห หรือ โถแก้ว ภาชนะสำหรับดอง

2. เกลือเม็ด 1 ถ้วยตวง ต่อไข่ 10 ฟอง

3. น้ำ 4 ถ้วยตวง หรือ 1 ลิตร ต่อไข่ 10 ฟอง

4. ไข่เป็ดสด 10 ฟอง(หากเพิ่มไข่ ให้เพิ่ม น้ำ และเกลือตามสัดส่วน)

5. หม้อต้ม

6. เตาไฟ

7. ถุงพลาสติก

8. ยางรัด

9. ผ้าขาวบาง

 วิธีทำ

  1. 1.เลือกไข่เป็ดสดเปลือกเขียว(ไข่จะแดงกว่าไข่เปลือกขาว) ดูที่เปลือก 

     ไม่บุบหรือ แตกร้าว

  1. 2.ล้างไข่เป็ดให้สะอาด ผึ่งลมให้แห้ง วางเรียงในภาชนะบรรจุ
  1. 3.ตวงน้ำและเกลือตามอัตราส่วน ต้มให้เกลือละลายทำการกรองทิ้ง ไว้ให้เย็น
  1. 4.เทน้ำเกลือลงในภาชนะบรรจุ
  1. 5.นำถุงพลาสติกใส่น้ำเกลือมัดปากถุงให้แน่นนำมาวางกดทับไข่ 

     (ไข่ ต้องจมอยู่ในน้ำเกลือตลอดเวลา) 

6.นำผ้าพลาสติกหรือจาน ปิดปากไห/โถ ให้แน่นมิดชิด เก็บไว้ ประมาณ 21 วัน

7. เมื่อดองครบ 14 วัน นำมาทอดไข่ดาวได้

8. และเมื่อครบ 21 วันนำไข่ออกมาล้างให้สะอาดนำไปต้มใช้ไฟปาน กลาง 

    นานประมาณ 20 นาที (ในขั้นตอนนี้ให้ใส่สารส้มเล็กน้อย เพื่อให้สารส้มกัดสีผิว

    ของเปลือกไข่ ให้ขาวนวลดู สะอาดสวยงาม น่าซื้อ น่ารับประทาน) ไข่เค็มสูตรนี้

    เมื่อต้มเสร็จแล้วสามารถเก็บไว้ในตู้เย็นได้นาน อย่างน้อย 30 วัน 

ไข่เค็มสมุนไพรใบเตย

วัตถุดิบและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต

1. ไข่เป็ดสด 200 ฟอง/วัน

2. ใบเตย 1 กิโลกรัม

3. ดินสอพอง 15 กิโลกรัม

4. เกลือไอโอดีน 4 กิโลกรัมน้ำสะอาด 5 กิโลกรัม

5. น้ำสะอาด 5 กิโลกรัม

6.แกลบดำ ขี้เถ้าแกลบ 3 กิโลกรัม

ขั้นตอนในการทำ

  1. 1.นำดินสอพอง เกลือ ใบเตยปั่นละเอียด มาคลุกเคล้าให้เข้ากัน เติมน้ำ สะอาดให้พอดีจนส่วนผสมทั้งหมดเข้ากันเป็นเนื้อเดียวกัน ให้มีความเข้มข้นที่พอเหมาะ ไม่เหลวหรือข้นมากเกินไป

2.  นำไข่เป็ดคลุกเคล้าในส่วนผสม

3.  นำไข่ที่คลุกเคล้าในส่วนผสมแล้ว นำมาคลุกขี้เถ้าแกลบเผา เพื่อป้องกันไม่ให้ไข่ติดกันและป้องกันการระเหยของน้ำ

4.  นำไข่ใส่ถุงพลาสติกและบรรจุกล่อง

5.  การรับประทานไข่เค็ม หลังจากบรรจุกล่องแล้ว สามารถนำมามาบริโภคได้หลาย

     รูปแบบตามอายุของไข่เค็ม ซึ่งเริ่มนับจากวันบรรจุกล่อง ดังนี้

1-5 วัน ต้มไข่หวาน      

7-10 วัน ทอดไข่ดาว    

10-20 วัน ต้มให้สุก

ผลิตภัณฑ์จากไข่เค็มสมุนไพรใบเตย

ไข่เค็มพอกดินสอพอง

วัตถุดิบและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต

1.ไข่เป็ด      50     ฟอง

2.เกลือป่น  300     กรัม

3.ดินสอพอง  1     กิโลกรัม

4.น้ำสะอาด   1     ลิตร

วิธีทำ

1.ล้างไข่ให้สะอาด หรือเช็คให้สะอาด

2.ต้มน้ำเกลือ ให้เกลือละลาย

3.นำน้ำเกลือมาผสมกับดินสอพอง คนให้เข้ากัน ทิ้งไว้ให้เย็น

4.นำมาพอกไข่ ให้ทั่วเสมอ

5.นำไข่ไปคลุกกับขี้เถ้าแกลบ เก็บใส่ภาชนะ เมื่ออายุได้ 7 วัน มาทอดรับประทานหรือ 

15 วัน ต้มรับประทาน             

สาระสำคัญ

        " ไข่เค็ม " เป็นอาหารพื้นบ้านของคนไทยมาตั้งแต่สมัยโบราณและเป็นที่นิยมในการบริโภคของคนไทย ในทุกๆภาค การผลิตไข่เค็มนั้นมีขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อนในการทำ จึงเหมาะที่จะส่งเสริมการทำไข่เค็มให้เป็นที่แพร่หลายสำหรับบุคคลและชุมชนต่างๆ ที่มีความสนใจในวิชาการทำไข่เค็มนี้ การผลิตไข่เค็มถือเป็นเทคโนโลยีชาวบ้านวิธีหนึ่งที่ทำกันมานานจนถึงทุกวันนี้ โดยเริ่มแรกจุดประสงค์ในการทำไข่เค็มนั้น เพื่อเป็นการยืดอายุการเก็บของไข่เป็ดซึ่งเหลือจากการบริโภคสด ต่อมาความนิยมในการบริโภคไข่เค็มมีมากขึ้น จนพัฒนาจากการผลิตไข่เค็มเพื่อการบริโภคในครัวเรือนมาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อการค้า ซึ่งการจำหน่ายอาจจะเป็นในรูปของผลิตภัณฑ์ไข่เค็มเพื่อการรับประทานโดยตรงหรือนำไปทำไปเป็นไส้ขนม เช่น ขนมเปี๊ยะ ขนมไหว้พระจันทร์ ขนมบ๊ะจ่าง ตลอดจนใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารต่างๆ ปัญหาของการผลิตไข่เค็มเพื่อการค้าในปัจจุบันคือ ไข่เค็มที่ได้มีคุณภาพไม่ค่อยสม่ำเสมอ เนื่องจากขาดการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานของไข่เค็ม โดยทั่วไปไข่เค็มที่มีในตลาด เป็นไข่เค็มที่ดองในสารละลายเกลือและไข่เค็มที่พอกด้วยดิน

หมายเลขบันทึก: 684083เขียนเมื่อ 16 ตุลาคม 2020 23:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 ตุลาคม 2020 00:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท