การแบ่งแยกทางสีผิว: การสร้างความแตกต่างของสีผิวในประเทศไทย


Teerapon Anmai มาถึงกรุงเทพฯช่วยปลายทศวรรษที่ 1980 เขาเป็นสามเณรจากจังหวัดสุรินทร์ และเข้ามาที่กรุงเทพฯ เพื่อมาหาที่พักที่เป็นวัด แต่พระสงฆ์ในกรุงเทพฯต่างปฏิเสธเขา เพราะว่าพวกเขาคิดว่า Teerapon เป็นพระลาว

Teerapon กล่าวว่า “ฉันรู้สึกสับสน เพราะฉันมาจากจังหวัดสุรินทร์ แล้วจะเป็นพระลาวได้อย่างไร?”

ตอนนี้ Teerapon เป็นอาจารย์คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เขาได้ตีพิมพ์งานเขียนเชิงวิชาการ และงานวรรณกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการเหมารวม และการแบ่งแยกต่อคนชนบทในประเทศไทย โดยเฉพาะอีสาน

ตัว Teerapon เองเป็นคนเคารพในความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรม และมองว่าคนกรุงเทพฯจะมองพวกชนบทเป็นคนชั้นสอง

“พวกเขาเชื่อมโยงกันระหว่างอีสานกับลาว พวกเขาดูถูกคนลาว และคนพูดภาษาลาว ติดป้ายให้พวกเขาเป็นคนภายนอก”

ตามที่ Teerapon ได้เสนอไว้ว่าการแบ่งแยกทางชาติพันธุ์จะไม่รุนแรงเหมือนเมื่ออดีต อย่างไรก็ตาม ยังมีการเหมารวมอยู่ 2 ประเภทที่ยังอยู่จนตอนนี้ ได้แก่ การปรากฏที่รูปร่างภายนอก และภาษา

วิธีการที่เธอมอง  

อีดำ, อีกรามใหญ่, ไอ้ดั้งแหมบ

มีการเย้าคนอีสานว่าเป็นคนที่อดทน แต่พวกเขาจะคุ้นเคยกับสำเนียงภาษาในหนังน้ำเน่า และหนังโรงที่ดูหมิ่นตัวละคอนที่มาจากอีสาน

Teerapon ยังกล่าวด้วยว่า “ปัญหาที่ยังคงอยู่กับเรา เพราะคนพวกนี้ไม่ได้ตระหนักว่านั่นเป็นการแบ่งแยก หรือการกดทับ”

อคติทางสีผิวฝังรากลึกในวัฒนธรรมไทย ผิวดำจะถูกมองว่าเกี่ยวข้องกับชนชั้นล่าง ในขณะที่ผิวขาวบ่งบอกถึงชนชั้นกลาง และชนชั้นสูง

Teerapon อธิบายว่า “คนที่ผิวขาวเพราะอยู่ในห้องแอร์ แต่หากทำงานกลางแดดภายนอกแล้วหละก็ ผิวจะเริ่มดำขึ้นคล้ำขึ้น อคติทางสีผิวนี้แบ่งแยกระหว่างคนในเมืองจากคนในชนบท”

“ในประเทศนี้คนมีทางเลือกแค่ทางเดียวก็คือเป็นคนในเมืองหรือเป็นคนชนบท”

วิธีการที่เธอพูดคุย

ประเทศไทยเป็นบ้านที่มีภาษามากกว่า 70 ภาษา ในจังหวัดเล็กๆ เช่นศีรษะเกตุ อย่างน้อยจะมีภาษาที่ 4 ภาษาที่ใช้พูดคุยกันอยู่ อย่างไรก็ตาม ภาษาท้องถิ่นโดยมากจะถูกดูถูก

“จะมีการกดข่มทางภาษาในสังคมไทยต่อไป เมื่อคุณพูดผสมกันระหว่างภาษาไทยกับภาษาลาว พวกเขาจะหัวเราะเยาะคุณ” Teerapon กล่าว

หากพูดตามหลักวิชาการแล้ว การกดขี่ทางภาษาเริ่มเกิดขึ้นสมัยจอมพลแปลก พิบูลสงครามยังอยู่ในอำนาจ ยกตัวอย่างเช่น คนอีสานจะถูกบังคับให้พูดภาษาไทย มีการสร้างชาตินิยมไทยในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง

เขากล่าวเพิ่มเติมว่า “คนไทยจำเป็นต้องรู้ว่าภาษาลาวเป็นอีก 1 ภาษาที่ใช้ในที่ของเขา มันไม่ใช่ภาษาที่สองแต่อย่างใด”

ทุกวันนี้นักแสดงชายและนักแสดงหญิงจากภาคอีสานไม่อายที่จะพูดภาษาลาว ในทางกลับกัน พวกเขาจะได้รับความเชื่อถือจากแฟนๆ เพราะสามารถพูดภาษาท้องถิ่นได้ อย่างไรก็ตาม Teerapon กล่าวว่าความชื่นชมจากแฟนๆจะทำให้ภาษามีลักษณะแปลกใหม่ ซึ่งก็เป็นการแบ่งแยกทางภาษาเช่นเดียวกัน

เขากล่าวเพิ่มเติมว่า “ปัญหาคือการพูดภาษาลาวจะต้องไม่ทำให้เป็นสิ่งแปลกใหม่ ประเทศนี้มีคนจำนวนมากที่พูดคนละภาษาอย่างเห็นได้ชัดเจน”

“ทำไมการที่คนที่ดูดีจะพูดภาษาลาวหรือกัมพูชาจะเป็นเรื่องแปลก? การพูดภาษาต่างๆควรจะเป็นสิ่งปกติสามัญเหมือนคนอื่นๆทั่วไปที่ใช้ภาษามาสื่อสาร”

การเปลี่ยนแปลงที่คุณสามารถเชื่อถือได้

ทุกวันนี้ นักสร้างภาพยนตร์บางคนนำคนชายขอบมาเป็นวีรบุรุษ

“หากคุณลองดูภาพยนตร์ที่กำกับโดย Aphichatpong Weerasethakul ตัวละคอนหลักของเขาไม่ใช่คนท้องถิ่นอีกต่อไป พวกเขาจะเป็นพวกผู้อพยพหรือไม่ก็คนชายขอบ”

เขายังกล่าวอีกด้วยว่าเพลงทุกวันนี้จะไม่พูดแต่ความยากลำบากของคนชนบทและความสะดวกสบายสบายของชีวิตในเมืองอีกต่อไป พวกเขาจะสรรเสริญชีวิตคนจน

แม้กระนั้นเขายังกล่าวปิดท้ายว่าวัฒนธรรมหลักของไทยยังคงดูถูกคนชนบทอยู่นั่นเอง

แปลและเรียบเรียงจาก

Songwut  Jullanan. Skin Deep: the discrimination of dark skin color in Thailand.

https://thisrupt.co/society/discrimination-ethnic-minorities-thailand/

หมายเลขบันทึก: 684027เขียนเมื่อ 15 ตุลาคม 2020 18:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 ตุลาคม 2020 18:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

I think this article serves more to ‘divide’ rather than to ‘heal’. But maybe it is a ‘strong medicine’ from a zealous’ advocate.

I also have an uncomfortable feeling about the author’s choice of words. For example: –culture–

**…วัฒนธรรมหลักของไทยยังคงดูถูกคนชนบทอยู่นั่นเอง

From Royal Institute Dictionary (2542 Th-Th)

**วัฒนธรรม : น. –สิ่งที่ทำความเจริญงอกงามให้แก่หมู่คณะ– เช่น วัฒนธรรมไทย วัฒนธรรมในการแต่งกาย, วิถีชีวิตของหมู่คณะ เช่น วัฒนธรรมพื้นบ้าน วัฒนธรรมชาวเขา.

Perhaps ‘prejudice’ should have been used instead of ‘culture’.

And to be fair (balanced in reporting) prejudice against ‘urban dwellers’, (Chinese) against (lazy) Thais, (Thais) against ‘farangs’, … also exist. These prejudices will diminish if we do not keep scratching.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท