เงินทุนหมุนเวียน (1)


เงินทุนหมุนเวียน

การจัดตั้งเงินทุนหมุนเวียน สามารถทำได้เพื่อการดังนี้

1. เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานทางด้านการศึกษาและวิจัย

2. เพื่อเผยแพร่ผลงาน และให้บริการทางวิชาการ

3. เพื่อสงเคราะห์คณาจารย์ ข้าราชการ ลูกจ้าง และนิสิต

4. เพื่อการอื่นใดตามที่สภามหาวิทยาลัยอนุมัติ

การที่จะตั้งเงินทุนหมุนเวียนให้จัดทำเป็นโครงการและต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย แล้วจะต้องเสนอต่อสภามหาวิทยาลัยเพื่อขออนุมัติวงเงินและแหล่งที่มาของเงินทุน และเมื่อได้รับอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยให้อธิการบดีแต่งตั้งคณะกรรมบริหารโครงการเงินทุนหมุนเวียนขึ้นแต่ละโครงการ จำนวนไม่น้อยกว่า 5 คน แตะไม่เกิน 10 คน ในจำนวนนี้จะต้องเป็นข้าราชการมหาวิทยาลัยไม่น้อยกว่า 3 คน ซึ่งคณะกรรมการบริหารโครงการเงินทุนหมุนเวียนแต่ละโครงการมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

1. บริหารกิจการเงินทุนหมุนเวียนให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามโครงการที่ได้รับอนุมัติ

2. แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของโครงการ

3. ควบคุมการรับ-จ่ายเงิน

4. ควบคุมดูแลและจัดทำการเกี่ยวกับทรัพย์สินของโครงการ

5. พิจารณาจัดสรรเงินเพื่อส่งให้คืนเงินทุน และจัดแบ่งผลกำไรจากการดำเนินงานเงินทุนหมุนเวียนโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย

6. ปฏิบัติหน้าที่อื่นใดเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ

 ซึ่งเงินทุนหมุนเวียนจะมีบางหน่วยงานในมหาวิทยาลัยส่วนมากจะเป็นหน่วยงานเสริมศึกษาทั้งหมด ซึ่งจะเป็นเงินทุนหมุนเวียน ส่วนหน่วยงานต่าง ๆ จะเป็นเงินทดรองจ่าย และจะมาเล่าเงินทดรองจ่ายให้ฟังในวันหลัง และเงินทุนหมุนเวียนก็ยังไม่จบจะเล่าต่อวันพรุ่งนี้นะครับ

หมายเลขบันทึก: 67999เขียนเมื่อ 18 ธันวาคม 2006 13:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • รู้ไว้ ใช่ว่า ใส่บ่า แบกหาม
  • ขอบคุณครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท