การเห็นปาตานีโดยถ้วนทั่ว: การตรวจสอบร่างกายเพื่อยืนยันการมีอยู่จริงในจังหวัดชายแดนภาคใต้


ในจังหวัดชายแดนที่มีมาเลย์มุสลิมที่เป็นคนส่วนใหญ่ หรือภูมิภาคที่มีความขัดแย้งกันในนามของ ปาตานี ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือตามรายงานมีว่าจะมีการไม่ให้ใช้กับผู้คนที่ไม่สามารถลงทะเบียนซิมพร้อมๆกับการใช้ระบบการตรวจจับหน้าตาของรัฐบาลได้ หรือกล่าวโดยย่อคือระบบสแกนซิมและการรวบรวมใบหน้าของผู้ใช้ ในเดือนมิถุนายนปีที่แล้ว กอ. รมน. ได้วางกฎระเบียบกับคนที่ใช้โทรศัพท์มือถือทุกคนในการลงทะเบียนเพื่อเป็นยุทธศาสตร์ในการต่อสู้กับพวกกบฏ

ตามโฆษกของ กอ.รมน. พันเอก Pramote Prom-in กล่าวว่า เจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายมีแผนการจะใช้ข้อมูลที่ได้จากการลงทะเบียนเพื่อที่จะแยกคนก่อการร้ายเวลาใช้โทรศัพท์มือถือเป็นระเบิด ระยะเวลาการลงทะเบียนจะสิ้นสุดในวันที่ 30 เมษายน ปี 2020

เกือบ 2-3ปีล่วงมาแล้ว การตรวจสอบร่างกายเพื่อยืนยันการมีตัวตนเป็นเครื่องมือในการสงครามสำหรับรัฐบาลไทยเพื่อต่อสู้กับพวกกบฏใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยได้เก็บข้อมูลการตรวจสอบร่างกายเพื่อยืนยันการมีตัวตน เช่น รหัสดีเอ็นเอ และข้อมูลเกี่ยวกับหน้าตา ราวกับเป็นกลยุทธ์ในการควานหาผู้ก่อการในหมู่พลเรือน  กลยุทธ์ดังกล่าวสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การต่อสู้กับพวกกบฏแบบประเพณี เช่น การตั้งด่าน, การค้นบ้าน, สอบถามผู้ต้องสงสัยในการหาข่าวที่เป็นความลับ

สำหรับรัฐบาลแล้ว เทคโนโลยีที่อยู่ในขั้นสูงเหล่านี้สามารถแก้ปัญหาความขัดแย้งที่ดำเนินมาหลายทศวรรษในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้  อย่างไรก็ตาม แนวคิดการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับร่างกายเพื่อยืนยันตัวตน ทำให้พลเรือนไม่เชื่อใจในรัฐ และส่งผลต่อความเจริญงอกงามของพวกกบฏก็ได้

ปาตานีที่เห็นได้ทุกส่วนสัด

การใช้ข้อมูลที่เกี่ยวกับร่างกายในการยืนยันตัวตนเพื่อต่อต้านพวกแบ่งแยกไม่ใช่เรื่องใหม่ ในปี 2012 เจ้าหน้าที่ความมั่นคงในจังหวัดชายแดนภาคใต้เคยเก็บรหัสดีเอ็นเอ และวิเคราะห์ดีเอ็นเอในที่เกิดเหตุอาชญากรรม และหาผู้ต้องสงสัยด้วยการจับคู่ยีน นอกจากนี้เจ้าหน้ารักษาความปลอดภัยต้องทำงานในการสร้างธนาคารดีเอ็นเอ เพื่อเก็บยีนของคนที่เป็นผู้ก่อการที่มีความสามารถในการก่อการร้าย  เพื่อทำให้ข้อมูลแบบนี้มีความเชื่อมั่นเข้าไปอีก

เจ้าหน้าที่ต่างกระตือรือร้นในการเก็บตัวอย่างดีเอ็นเอจากพวกมาเลย์มุสลิมระหว่างที่ไปตรวจค้นที่ด่าน, บุกเข้าไปในบ้าน, หรือได้จากโรงเรียนเอกชน โดยเฉพาะตรงที่มีสีแดง ซึ่งเป็นถิ่นที่ผู้ก่อการดำรงตนอย่างเข้มแข็ง ในวันที่ 3 เมษายน ปี 2015 นักกิจกรรมมาเลย์มุสลิม และหัวหน้านักเรียนมีการทดสอบดีเอ็นเอแบบบังคับขึ้น หนึ่งเดือนต่อมา คณะกรรมการสหประชาชาติด้านการขับไล่ทางเชื้อชาติได้ส่งจดหมายถึงรัฐบาลไทยถึงความอึดอัดที่ไทยมีการบังคับการตรวจดีเอ็นเอที่อาจส่งผลให้เกิดการเหมารวมทางชาติพันธุ์ การบังคับการเก็บดีเอ็นเอเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมในเดือนเมษายน ปี 2019 เมื่อกองทัพไทยตัดสินใจในการเก็บดีเอ็นเอเพราะเป็นส่วนหนึ่งในการเกณฑ์ทหาร เพื่อจุดประสงค์ความปลอดภัยแห่งชาติ นโยบายนี้ประยุกต์ใช้ในจังหวัดปาตานี, ยะลา, นราธิวาส, และบางส่วนของจังหวัดสงขลาที่มีมาเลย์มุสลิมอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น สะบ้าย้อย, เทพา, นาทวี, และจะนะ ผลลัพธ์อันหลีกเลี่ยงไม่ได้คือมีการรหัสดีเอ็นเอในข้อมูลที่เป็นทางการจำนวนมาก และเจ้าหน้าที่สามารถสอดส่องประชากรเหล่านี้

รัฐบาลเพิ่งออกนโยบายการลงทะเบียนซิมเพียงแค่ 2 เดือนหลังจากมีการเก็บดีเอ็นเอของทหารเกณฑ์ใหม่ ต่อมาในวันที่ 20 มกราคม ปี 2020 รองนายกฯ ประวิตรวงษ์สุวรรณ ได้ไปเยี่ยมชมศูนย์ควบคุม CCTV ของเทศบาลปัตตานี และประกาศว่ารัฐบาลจะได้นำปัญญาประดิษฐ์ หรือเอไอ เข้ามาในกล้องสอดแนมอย่างน้อยก็ประมาณ 8,200 ตัวในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามรายงานปัญญาประดิษฐ์จะเพิ่มประสิทธิภาพให้เจ้าหน้าที่จับจ้องและสังเกตเหตุร้ายได้ดียิ่งขึ้น เพื่อรับประกันความปลอดภัยของประชาชนในพื้นที่ จนถึงทุกวันนี้ มันก็ยังไม่ชัดเจนเลยว่าจะมีการทำงานประสานสอดคล้องระหว่างปัญญาประดิษฐ์ที่ประวิตรพูดถึงกับระบบการจดจำหน้าตานั้นได้หรือไม่?

ประวัติศาสตร์ที่น่าผยองของจีที200

ยุทธศาสตร์การเก็บข้อมูลระบุบุคคลตั้งอยู่บนรากฐานที่ว่าคนทุกคนในมาเลย์มุสลิมมีความผิด หรือเป็นประชากรที่เป็นศัตรู การเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วของการระบุตัวบุคคลแสดงให้เห็นถึงความฝันหวานทางการเมืองของรัฐไทยในการควบคุมประชากร โดยการใช้อำนาจในการสอดส่องเพราะเห็นถึงประโยชน์ของมัน มันคล้ายๆกับว่าเจ้าหน้าที่กำลังสร้างคุกที่เห็นได้ทั่วๆของ Jeremy Bentham ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่ที่ไมเหมือนกันก็คือคุกของ Bentham นักโทษจะไม่รู้สึกว่าตนเองถูกสอดส่อง ในขณะที่ประชากรในท้องถิ่นรู้ว่าตนเองจะถูกตรวจสอบโดยผู้คุมที่ใส่ชุดเขียว

ตรงกันข้ามจากการตีความของฟูโกต์ในเรื่องคุกที่เห็นได้โดยทั่วไปในหนังสือเรื่อง Discipline and Punish นั่นคือการสร้างระบอบที่เห็นได้ทั่วๆในปาตานีไม่ได้ผลิตตัวตนที่เชื่องๆที่ยอมต่อรัฐอย่างศิโรราบ สำหรับคนบางคนแล้ว การเป็นตัวตนที่ถูกระบุด้วยการทดสอบกลับสร้างจิตสำนึกอันใหม่ที่ต่อต้านการใช้อำนาจรัฐที่ผิดแปลกและยาวนานในภูมิภาค

Abdullah (นามสมมติ) ที่เป็นนักกิจกรรมในสงขลา กล่าวว่า “ฉันไม่ได้ลงทะเบียนซิมเลย การสแกนหน้าตาทำให้ฉันนึกถึงจีที 200  เขายังได้เอ่ยถึงการจับผู้ต้องสงสัยที่เป็นตัวปลอม ที่เจ้าหน้าที่ความมั่นคงของไทยได้แกะรอยสารระเบิดที่ติดตามร่างกายในจังหวัดชายแดนภาคใต้ตั้งแต่ปี 2007-2010

ในปี 2007 เจ้าหน้าที่ความมั่นคงได้ใช้เครื่องตรวจจับจีที 200 ไปค้นหาตามบ้าน และจับชายมาเลย์มุสลิมจำนวน 400 คนที่ถูกกล่าวหาว่าเกี่ยวข้องกับผู้ก่อการ กลุ่มผู้ชายเหล่านี้ถูกจับส่งไปฝึกอาชีพในจังหวัดภาค ซึ่งเป็นที่รู้กันว่านี่เป็นการใส่อุดมการณ์ความเป็นชาติใหม่อีกครั้ง ต่อมาในวันที่ 9 มีนาคม ปี 2008 Iman vYapa Kaseng ชายอายุ 56 ปี ถูกจับและถูกกักกันในค่ายทหาร ด้วยเครื่องจับจีที 200 เขาถูกทรมานและถูกฆ่าระหว่างการกักตัว

2 ปีต่อมา กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ทดสอบจีที 200 และพบว่ามีอัตราการในการตรวจสอบสารระเบิดแค่ 20 % ตามรายงานข้อค้นพบนี้ การกระทำทางกฎหมายใดๆที่เกี่ยวข้องกับการอ่านโดยการใช้จีที 200 มีแนวโน้มว่าจะไม่มีพื้นฐานรองรับหรือไม่ถูกต้องในทางวิทยาศาสตร์ ในตอนสุดท้ายรัฐบาลเลิกใช้จีที 200 และค้นหาการซื้อที่คดโกงที่อยู่เบื้องหลังมัน อย่างไรก็ตาม เหยื่อที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนอันเนื่องมาจากจีที 200 ยังไม่ได้ถูกลดโทษ และการกระทำผิดของพวกเขายังไม่ขึ้นไปสู่ศาล

 Abdullah กล่าวว่า “ฉันจะเชื่อรัฐบาลที่จะใช้ข้อมูลของเราให้ได้ถูกต้องได้อย่างไร? มันยากที่จะเชื่อว่าเจ้าหน้าที่จะไม่ใช้ประโยชน์อื่นๆเหนือข้อมูล และกระทำกับเครื่องมือวัดแบบอคติทางชาติพันธุ์แบบเดิมอีก”

เมื่อการตรวจสอบร่างกายเพื่อยืนยันบุคคลเริ่มเป็นจุดศูนย์กลางในยุทธศาสตร์การต่อต้านการกบฏ แต่ประวัติศาสตร์ของจีที 200 ที่เกี่ยวข้องกับการคดโกง, อคติทางชาติพันธุ์, และวัฒนธรรมการไม่เอาผิดความผิดอย่างลึกซึ้ง ได้กลายมาเป็นสิ่งที่หลอกหลอนรัฐไทย แทนที่จะทำให้คนอื่นๆว่าง่าย แต่การตรวจสอบร่างกายเพื่อยืนยันตัวตนกลับสร้างจิตสำนึกใหม่ในการต่อต้านรัฐที่ไม่เป็นธรรม

การตรวจสอบร่างกายเพื่อยืนยันตัวตนในยุคของโควิด 19

ความรู้สึกเชิงลบในหมู่คนท้องถิ่นต่อการตรวจสอบร่างกายเพื่อยืนยันตัวตนกำลังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในโควิด 19 ในขณะที่สาธารณะชนให้ความใส่ใจกับคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข แต่กอ. รมน. ยังคงเก็บดีเอ็นเอของผู้คนในระหว่างการบุกรุกบ้าน เพราะต้องใกล้ชิดกัน และไม่ให้ใช้โทรศัพท์มือถือที่ยังไม่ลงทะเบียนซิม มาตรการนี้ถูกวิจารณ์หนักมาก เพราะประชากรในท้องถิ่นไม่สามารถปฏิบัติตามคำสั่งของกระทรวงสาธารณสุขได้ ยกตัวอย่างเช่น การเก็บดีเอ็นเอ ทำให้เจ้าหน้าที่และผู้คนต้องอยู่ติดกัน ที่มีแนวโน้มว่าจะติดเชื้อมากเข้าไปอีก นอกจากนี้การไม่ให้ใช้โทรศัพท์ที่ยังไม่ลงทะเบียนซิมทำให้ผู้คนขาดคำแนะนำทางการแพทย์ หรือการช่วยเหลือฉันท์มนุษย์เพราะไม่สามารถติดต่อทางโทรศัพท์ได้

ในวันที่ 1 พฤษภาคม ปี 2020 บีอาร์เอ็น ซึ่งเป็นพวกกบฏตัวสำคัญในภูมิภาค ออกข่าวตำหนิยุทธศาสตร์ต่อต้านกบฎในรัฐบาลไทย เช่น บังคับให้มีการเก็บดีเอ็นเอ ระหว่างมีวิกฤตการณ์โควิด คำแถลงอันนี้ดูเหมือนจะเป็นการเสียดสี เพราะบีอาร์เอ็นได้ชื่อว่าเป็นกลุ่มที่ทำลายสิทธิมนุษยชนด้วยการที่ฆ่าทุกคนแบบไม่เลือกหน้า อย่างไรก็ตาม การตำหนิของบีอาร์เอ็นเกี่ยวกับการรวมรวมดีเอ็นเอก่อให้เกิดความไม่แน่ใจของสาธารณะชน ทำให้ความชอบธรรมของรัฐบาลในสายตาของคนในพื้นที่ลดลง แทนที่จะยกระดับประสิทธิภาพยุทธศาสตร์การก่อการร้าย แต่การตรวจสอบร่างกายเพื่อยืนยันตัวตนกลับก่อให้เกิดพื้นที่ที่มีการถกเถียงกันในความขัดแย้ง

ในช่วงเวลาที่อ่อนไหว รัฐบาลต้องคิดเรื่องยุทธศาสตร์การต่อต้านกบฏใหม่อย่างมีวิจารณญาณ การสร้างโครงสร้างส่วนบนโดยการสอดส่องแบบยืนยันตัวตนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ก่อให้เกิดความไม่เชื่อถือทางสาธารณะและลดทอนความชอบธรรมของรัฐบาลและทหารในภูมิภาค เทคนิคการตรวจร่างกายเพื่อยืนยันตัวตนอาจช่วยเจ้าหน้าที่ที่ใช้กฎหมายแยกผู้ก่อการออกจากพลเรือนได้ แต่ส่วนนี้ก็เป็นเพียงจุดประสงค์ส่วนเล็กน้อยในการกดทับความรุนแรง จริงๆแล้วหากรัฐบาลจะย้ายจากการจลาจลประจำวันไปสู่สาเหตุของความขัดแย้งในภูมิภาคน่าจะเป็นการดีขึ้น สาเหตุเหล่านี้น่าจะเกิดมาจากการทำลายสิทธิมนุษยชน, ความเหลื่อมล้ำทางโครงสร้าง, และความไม่สมดุลกันระหว่างกรุงเทพฯกับปาตานี

แปลและเรียบเรียงข้อมูลจาก

Chanatip Tatiyakaroonwong. The Patani Panopticon: biometrics in Thailand’s deep south.

 https://www.newmandala.org/the-patani-panopticon-biometrics-in-thailands-deep-south/

หมายเลขบันทึก: 679465เขียนเมื่อ 24 กรกฎาคม 2020 18:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 กรกฎาคม 2020 18:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท