ช้างไทย


พระราชบัญญัติรักษาช้าง ปี พ.ศ. 2465  (ออกในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ 6)

ได้กำหนดลักษณะพิเศษ ไว้ 3 ชนิด ตามมาตรา 4  ระบุไว้ว่าช้างสำคัญมีคชลักษณะ 7 ประการ คือ

1.ตาขาว

2.เพดานขาว

3.เล็บขาว

4.ขนขาว

5.พื้นหนังขาวหรือสีคล้ายหมอใหม่

6.ขนหางขาว

7.อัณฑะโกศขาวหรือคล้ายสีหม้อใหม่ช้างเนียม หมายถึง ช้างที่มีลักษณะประหลาด มีลักษณะ 3 ประการ

      พื้นหนังดำ

      งานมีลักษณะดังรูปปลีกกล้วย

      เล็บดำ

ช้างเผือกในรัชกาลต่างๆ

รัชกาลที่  1    10  เชือก

รัชการที่ 2   6  เชือก

รัชกาลที่ 3     20 เชือก

รัชกาลที่ 4     15  เชือก

รัชกาลที่ 5     19  เชือก

รัชกาลที่ 6      1  เชือก

รัชกาลที่ 7      1  เชือก

รัชกาลที่ 8             -

รัชกาลที่ 9       10 เชือก

ชนิดของช้างตามตำราคชลักษณ์

ช้างศุภลักษณ์ คือ ช้างที่มีลักษณะดีเป็นมงคลแก่เจ้าของ  

แบ่งช้างช้างออกเป็น 4 ตระกูล

ช้างตระกูลอิศวรพงศ์    เชื่อว่าพระอิศวรเป็นผู้สร้าง

ช้างตระกูลพรหมพงศ์    เชื่อว่าพระพรหมเป็นผู้สร้าง

ช้างตระกูลวิษณุพงศ์     เชื่อว่าพระนารายณ์เป็นผู้สร้าง

ช้างตระกูลอัคนีพงศ์      เชื่อว่าพระเพลิงเป็นผู้สร้าง

ช้างตระกูลอิศวรพงศ์  มีอยู่ 8 ช้าง

1.อ้อมจักรวาล  งาข้างขวายาวโอบรอบงวง งาช้างซ้ายสั้นเห็นเล็กน้อย

2.กัณฑ์หัตถ์     งาข้างซ้ายโอบรอบงวงมาจรดปากช้างขวา ส่วนงาช้างขวาก็ยาวจนโอบรอบงวงจนจรดปากด้านซ้าย

3.เอกทันต์       มีงาเดียวงอกมาจากเพดาน

4.กาฬทันต์หัตถี ตัวดำ งานดำ เล็บดำ ตาสีดำ

5.จตุรสก        มีงาข้างละคู่ รวมเป็นสี่งา

6.ทันตรำพาน   งาไขว้กันแต่ต้นงา ปลายงาข้างขวากลับไปอยู่ด้านซ้าย ปลายงาด้านซ้ายกับมาอยู่ด้านขวา

7.สีหชงค์        เท้าหน้าสูง เท้าหลังต่ำ เท้าเรียว รูปทรงดั่งราชสีห์

8.จุมปราสาท    ปลายงามีสีแดงดั่งย้อมด้วยครั่ง

ช้างตระกูลพรหมพงศ์

ช้างสิบตระกล

          1.ฉัททันต์                 สีตัวขาวเหมือนเงิน

          2.อุโบสถ                  สีตัวเป็นสีทอง

          3.เหมหัตถี                สีตัวเป็นสีเหลือง

          4.มงคลหัตถี              สีตัวเป็นสีดอกอัญชัน คือ สีน้ำเงินอมม่วง

          5.คันธหัตถี               สีตัวเป็นสีไม้กฤษณา คือ สีเหลืองอ่อน

          6.บิงคัล                   สีดั่งตาแมว คือ สีเหลืองอมเขียวอ่อน

          7.ดามพหัตถี             สีทองแดง คือ แดงแก่

          8.บัณฑุระ                สีตัวสีขาว

          9.คังไทย                  สีตัวสีน้ำไหล คือ สีเหลืองแก่อมเขียว

          10.กาลวกะหัตถี         สีตัวเป็นสีดำ

ช้างอัฏฐทิศ      ตามตำราว่าอยู่เชิงเขาพระสุเมรุทั้งแปดทิศ

          ไอยราพต                  อยู่ทิศบูรพา(ตะวันออก)

          บุณฑริก                   อยู่ทิศอาคเนย์(ตะวันออกเฉียงเหนือ)          พราหมณ์โลหิต           อยู่ทิศทักษิณ(ใต้)

           กระมุท                     ยู่ทิศหรดี(ตะวันตกเฉียงต์

           อัญชัน                     อยู่ทิศประจิม(ตะวันตก)

          บุษปทันต์                  อยู่ทิศพายัพ(ตะวันตกเฉียงเหนือ)

          เสาวโภม                   อยู่ทิศอุดร(เหนือ)

          สุประดิษฐ์                 อยู่ทิศอิสาน(ตะวันออกเฉียงเหนือ)

ช้างตระกูลวิษณุพงศ์

          1.สังขสุวรรณ            สีกายสีทอง

          2.ดามพหัสดินทร์         กายสีทองแดงแก่

          3.ชมลบ                   เมื่อนำหูมาโอบด้านหน้าศรีษะ ปลายหูจะบรรจบกันพอดี

          4.ลบชม                   เมื่อนำหูมาโอบด้านหลัง ปลายหูจะบรรจบกันพอดี

          5.ครบกระจอก           มีเล็บเท้าครบทั้งยี่สิบเล็บ สีเล็บครบทั้งยี่สิบเล็บ สีเล็บเป็นมันดั่งแก้ว

          6.พลุกสะดำ              งาข้างขวางอนขึ้นมากกว่าข้างซ้าย

          7.สังขทันต์               งาขาวดั่งสีสังข์ กายสีดำสนิท

          8.โคบุตร                  หางเป็นพวงดั่งหางโค งานทั้ง

หมายเลขบันทึก: 678284เขียนเมื่อ 8 กรกฎาคม 2020 17:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 กรกฎาคม 2020 17:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท