โคก หนอง นา : ปรัชญาที่กินได้


โคก หนอง นา : ปรัชญาที่กินได้

   การระบาดของโรคโควิต หลายชีวิตต้องต้องเป็นอยู่แบบเรียบง่าย สิ่งที่เคยได้ก็หายหด ลดภาระการใช้จ่าย เพราะทุกหน่วยต่างปิดตัวลงงดให้บริการ ภายใต้ความวิกฤติของโรคภัย ที่กระจายไปอย่างรวดเร็วด้วยการสัมผัส รัฐเองก็พยายามหามาตรการเพื่อป้องกันจนได้วัคซีนที่สามารถบรรเทาได้ คือ พรก.ฉุกเฉิน และร่ายยาวมาจนถึงปัจจุบัน หากแต่เป็นที่รำคาญของผู้ประกอบการหลากหลายอาชีพ แต่ยังมีอีกกลุ่มอาชีพหนึ่งที่พึ่งพาตนเอง แบบค่อยเป็นค่อยไป แต่ก็ไม่วายที่จะโดนเอารัดเอาเปรียบของกลุ่มชนชั้น คือกลุ่มเกษตรกร ไม่ว่าราคาของผลผลิต ต้นทุนการผลิต ที่สำคัญคือแหล่งน้ำ  ถึงแม้รัฐจะพยายามเข้ามาช่วยเหลือด้วยการขุดบ่อ แต่ก็ไม่เพียงพอ เพราะขาดการวางแผนเกี่ยวกับชลประทาน  ประชาชนจึงจนต่อไป เพราะการทำเกษตรเชิงเดี่ยว กลุ่มที่พอมีทุนได้พยายามปรับพื้นที่ของตนเองให้เหมาะแก่การทำเกษตรแบบผสมคือกลุ่มโคก หนอง นา ด้วยการปรับที่ดินให้เป็นสามส่วน คือมีโคก มีหนองน้ำ และมีนา

       ในโคกนั้นมีทั้งป่าหมาก ป่าพลูและสัตว์ลี้ยง  ในน้ำนั้นมีสัตว์น้ำทุกชนิด และในนาก็ทำข้าว ปีละสองครั้ง  ตัวอักษรหรือข้อความเหล่านี้ มันเป็นเพียงหลักการ ทฤษฎี หรือปรัชญา เท่านั้น หากแต่นำไปสู่การปฏิบัติ มันจึงเป็นหลักปรัชญาที่กินได้ ภายใต้หลักเศรษฐกิจพอเพียง        

หมายเลขบันทึก: 677805เขียนเมื่อ 5 มิถุนายน 2020 09:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2020 09:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท