รูปแบบการจัดการเรียนรู้ MACRO model


รูปแบบการจัดการเรียนรู้ MACRO model

ทฤษฎีหรือหลักการแนวคิด
ดิเรก วรรณเศียร (2560) ได้บูรณาการแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ทั้งหมดแล้วนำเสนอ MACRO model

แนวคิดการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คือแนวการจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนสร้างความรู้ใหม่และสิ่งประดิษฐ์ใหม่ โดยการใช้กระบวนการทางปัญญา(กระบวนการคิด) กระบวนการทางสังคม (กระบวนการกลุ่ม) ให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์และมีส่วนร่วมในการเรียน สามารถ
นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้ ผู้สอนมีบทบาทเป็นผู้อำนวยความสะดวก จัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้ผู้เรียน การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียน
เป็นสำคัญต้องจัดให้สอดคล้องกับความสนใจ ความสามารถและความถนัดของผู้เรียน เน้นการบูรณาการความรู้ในศาสตร์สาขาต่างๆ
ใช้วิธีการสอน แหล่งความรู้ที่หลากหลาย ทำให้สามารถพัฒนาปัญญาอย่างหลากหลาย คือ พหุปัญญา รวมทั้งเน้นการวัดผลด้วยวิธีการที่
หลากหลาย


องค์ประกอบของ MACRO Model
M  motivation การสร้างแรงจูงใจ แรงบันดาลใจ ความสนใจและความต้องการในการเรียนรู้
A  active learning การเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้มีโอกาสได้ความรู้โดยตรงจากการลงมือกระท้าด้วยตนเอง ด้วยวิธีการเรียนรู้ที่หลากหลาย
จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆที่หลากหลายเป็นการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
C  conclusion ผู้เรียนสรุปองค์ความรู้หรือสังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้ตามความคิดและภาษาของตนเอง 
R  reporting ผู้เรียนสื่อสารและนำเสนอผลการเรียนรู้ด้วยภาษาวิธีการและเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม
O  obtain ผู้เรียนนำผลการเรียนรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์เผยแพร่ความรู้สู่ครอบครัว ชุมชน และสังคม ด้วยวิธีการ สื่อ หรือเทคโนโลยีที่เหมาะสม


ความสำคัญของ MACRO Model 
1. ฝึกให้ผู้เรียนกล้าตั้งค่าถาม กล้าคิด กล้าตัดสินใจ กล้าแสดงออก เปลี่ยนการเรียนจากแบบรับฟังอย่างเดียว (passive) เป็นการเรียนรู้ด้วยตนเอง (active) การตั้งค่าถามเพราะเกิดข้อสงสัย เป็นจุดเริ่มต้นของ Lifelong Learning ถามแบบสร้างสรรค์ก่อให้เกิดประโยชน์ เป็นการตั้งต้นหาค่าตอบอย่างถูกวิธี กระตุ้นให้เด็กมีความสนใจใฝ่รู้เป็นการเรียนรู้และแก้ปัญหา

2. เป็นการสอนให้สามารถสืบค้นความรู้จากแหล่งข้อมูลที่มีมากมายในโลก ตามแนวคิดของปราชญ์ชาวจีนที่ว่า สอนชาวบ้านหาปลา ดีกว่าเอาปลาไปให้ชาวบ้าน ท่าให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการเรียนรู้ตลอดชีวิต

3. การสรุปความรู้ โดยแสดงให้ผู้เรียนเห็นว่าความรู้ที่ตกผลึกของผู้เรียนเองเป็นความรู้ใหม่ที่ผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่ถูกต้อง ผู้เรียนจะจดจำ
ความรู้นี้ได้นานกว่าแบบท่องจำ

4. ก่อนสรุปองค์ความรู้ ครูเปิดโอกาส ให้นักเรียนได้อภิปรายกัน ดูเหตุผลที่มีทฤษฎีรองรับก่อนสรุป ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมทักษะการท่างานเป็นทีม ความร่วมมือ และวิถีชีวิตตามระบอบประชาธิปไตยด้วย ฝึกความเป็นผู้น่า ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม

5.การสื่อสารและน่าเสนอเป็นสมรรถนะสำคัญที่จำเป็นในระดับสากล ทำให้ผู้เรียนได้มีพัฒนาการทางด้านการสื่อสาร ภาษา และมีความสามารถ
ในการน่าเสนอ มีทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

6. ความรู้ที่นำไปใช้และเผยแพร่ เป็นการส่งเสริมให้มีการพัฒนานวัตกรรมเพื่อใช้ในการพัฒนาประเทศต่อไป



แนวการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ MACRO แบ่งเป็น 5 ขั้นตอนดังนี้
1. ขั้นสร้างแรงจูงใจ (Motivation)
ครูผู้สอนร่วมมือกับผู้เรียนในการกำหนดหรือตั้งประเด็นความรู้ หรือหัวข้อเกี่ยวกับการเรียนรู้ตามแผนที่ยึดโยงกับหลักสูตร ขั้นนี้ผู้เรียนจะ
รับรู้ถึงจุดหมายและมีแรงจูงใจในการเรียนรู้บทเรียน ผู้สอนสามารถเลือกใช้กิจกรรมต่าง ๆ ในการนำเข้าสู่บทเรียนและการเรียนรู้ เช่น การเล่าเรื่องต่าง ๆ ให้ผู้เรียนซักถาม หรือตั้งคำถาม การฉายภาพนิ่งให้ผู้เรียนชมและติดตามการชวนสนทนา เพื่อให้ผู้เรียนตั้งประเด็นที่ต้องการรู้ การกระตุ้นความสนใจด้วยเกม เพลงภาพ การอ่าน / ฟังข่าวจากหนังสือพิมพ์ การยกตัวอย่างประโยค คำพังเพย บทกวี จุดที่สำคัญในขั้นตอนนี้คือ
การตั้งประเด็นอภิปราย การใช้คำถามสร้างพลังความคิด ประเด็นความรู้ หรือหัวข้อเกี่ยวกับการเรียนรู้ในขั้นตอนต่อไป ให้ผู้เรียนได้เล็งเห็นประโยชน์ที่จะได้รับจากการเรียนรู้หรือเกิดแรงบันดาลใจ

2. ขั้นการเรียนรู้โดยตรง (Active Learning)
ในการสอนครั้งแรก ครูควรให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการสร้างองค์ความรู้ 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 แนวทางการสืบค้นความรู้เพื่อให้ได้ความรู้ที่ต้องการ ส่วนที่ 2 ศาสตร์ สาขา แขนงความรู้และแหล่งความรู้ที่เกี่ยวข้อง ส่วนที่ 3 การเรียบเรียงข้อมูล ข้อค้นพบ ความคิด ความคิดเห็น
การให้เหตุผลโต้แย้งและสนับสนุน เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจถึงการกระบวนการสร้างองค์ความรู้ในการจัดการเรียนรู้แต่ละครั้ง ครูผู้สอนควรมีเทคนิค
การจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายได้แก่ การอภิปรายกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การระดมพลังความคิด การเรียนรู้โดยใช้ 8 สถานการณ์จำลอง โดยเน้นกระบวนการคิดซึ่งเป็นหัวใจของขั้นตอนการเรียนรู้ ผู้เรียนจะศึกษาค้นคว้าตามประเด็นความรู้หรือหัวข้อที่ตกลงกัน ครูผู้สอนจะกระตุ้นให้
ผู้เรียนดำเนินกิจกรรมเพื่อสืบค้นข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ โดยใช้วิธีการ ค้นคว้าจากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ สัมภาษณ์ผู้รู้ ปฏิบัติการค้นหา (ทดลอง สืบเสาะ สังเกต สำรวจ) ร่วมมือเพื่อเขียนค่าอธิบาย แบ่งงานความรับผิดชอบภายในกลุ่ม โดยแหล่งความรู้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 

3.ขั้นสรุปองค์ความรู้ (Conclusion) 
ผู้เรียนนำผลการอภิปรายและสาธิตที่เป็นผลจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันมากำหนดเป็นความคิดใหม่หรือความรู้ใหม่ โดยใช้วิธีการ
เขียนด้วยแผนผังความคิดเขียนโครงงาน โครงการ เขียนบรรยาย เขียนรายงาน จดบันทึกวาดภาพ แต่งคำประพันธ์ โดยสรุปเป็นภาษาไทย
หรือภาษาอังกฤษ ฯลฯ ในขั้นตอนนี้ผู้สอนสามารถประเมินความรู้และความคิดใหม่ ของผู้เรียน โดยใช้วิธีการอภิปราย ตรวจสอบผลงาน
สอบถามความคิดของกลุ่ม ทดสอบความรู้

4. ขั้นรายงานและน่าเสนอ (Reporting)

ขั้นนี้จะช่วยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสแสดงผลงานการสร้างความรู้ของตนให้ผู้อื่นรับรู้ เป็นการช่วยให้ผู้เรียนได้ตรวจสอบความเข้าใจของตน
ช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้ความคิดสร้างสรรค์ แต่หากต้องมีการปฏิบัติตามความรู้ที่ได้ ขั้นนี้จะเป็นขั้นปฏิบัติ และมีการแสดงผลงานที่ได้ปฏิบัติด้วย ผู้เรียนสามารถแสดงผลงานด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การจัดนิทรรศการ การอภิปราย การแสดงบทบาทสมมติ เรียงความ วาดภาพ การน่าเสนอด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ อาจเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษตามความเหมาะสม และอาจจัดให้มีการประเมินผลงานโดยมีเกณฑ์ที่เหมาะสม

5. ขั้นการเผยแพร่ความรู้ (Obtain)

เป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนการนำความรู้ความเข้าใจของตนไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่หลากหลาย เพิ่มความชำนาญ
ความเข้าใจ ความสามารถในการแก้ปัญหาและความจำในเรื่องนั้น ๆ เป็นการให้โอกาสให้ผู้เรียนใช้ความรู้ให้เป็นประโยชน์ ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ หลังจากประยุกต์ใช้ความรู้แล้วควรท่าการเผยแพร่ความรู้ไปยังครอบครัว ชุมชน และสังคม หรือแม้แต่ในเครือข่ายสังคมออนไลน์
โดยการเผยแพร่อาจจัดท่าเป็นเอกสาร จัดป้ายนิเทศ จัดกิจกรรม หรือการเผยแพร่ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เช่น websites FaceBook Line YouTube หรือสื่อและวิธีการอื่นๆ

ขั้นที่ 1-3 เป็นกระบวนการของการสร้างความรู้ 
ขั้นที่ 4-5 เป็นขั้นตอนที่ช่วยให้ผู้เรียนได้นำเสนอและนำความรู้ไปใช้ รวมทั้งเผยแพร่องค์ความรู้ไปยังสาธารณชน


บทบาทผู้สอนและผู้เรียน 
บทบาทของผู้สอน 
- ผู้สอน คือ ผู้สนับสนุน (Supporter) และเป็นแหล่งความรู้ (Resource Person) ของผู้เรียน
- ผู้สอนเตรียมเนื้อหาวิชาให้สอดคล้องกับประสบการณ์เดิมและความต้องการของผู้เรียน โดยเลือกสิ่งที่สอน (เนื้อหา) และวิธีที่ใช้สอน
(เทคนิคการสอน) ให้เหมาะสม
- ผู้สอนคือผู้อำนวยความสะดวกและเป็นแหล่งความรู้ในการจัดการเรียนการสอน ช่วยเหลือโดยไม่มีเงื่อนไข ผู้สอนจะให้ทุกอย่างแก่ผู้เรียน
ไม่ว่าจะเป็นความเชี่ยวชาญ ความรู้เจตคติและการฝึกฝนโดยผู้เรียนมีอิสระที่จะรับหรือไม่รับการให้นั้นก็ได้


บทบาทของผู้เรียน

- ผู้เรียนมีบทบาทรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตน ผู้เรียนเป็นผู้เรียนรู้
- ผู้เรียนจะรับผิดชอบตั้งแต่เลือกและวางแผนสิ่งที่ตนจะเรียนหรือเข้าไปมีส่วนร่วมในการเลือกและจะเริ่มต้นการเรียนรู้ด้วยตนเอง ด้วยการศึกษาค้นคว้ารับผิดชอบการเรียนตลอดจนประเมินผลการเรียนรู้ด้วยตนเอง
- ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน ผู้เรียนจะได้รับความสนุกสนานจากการเรียน หากได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ได้ทำงาน
ร่วมกันกับเพื่อน ๆ ได้ค้นพบข้อคำถามและค่าตอบใหม่ๆ สิ่งใหม่ๆ ประเด็นที่ท้าทายและความสามารถในเรื่องใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น รวมทั้งการบรรลุผล
สำเร็จของงานที่พวกเขาริเริ่มด้วยตนเอง


ข้อเสนอแนะ
ผู้สอนจัดการเรียนรู้ในลักษณะที่ให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเรียนรู้ด้วยตนเองมากที่สุด โดยผ่านการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง ลงมือปฏิบัติ คิด แก้ปัญหา
ริเริ่มสร้างสรรค์ ท่างานเป็นกลุ่ม สรุปเป็นความรู้และสามารถนำเสนอได้อย่างเหมาะสม


สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
- ความพร้อมด้านห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ อุปกรณ์เทคโนโลยี รวมไปถึงสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ หนังสือ สื่อสิ่งพิมพ์ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอน ช่วยให้นักเรียนสามารถค้นคว้า ดำเนินกิจกรรมไปอย่างสะดวก เรียบร้อย และบรรลุเป้าหมาย รวมไปถึงการแลกเปลี่ยน ติดตาม และเสนอแนะจากผู้สอน


อ้างอิงข้อมูลจาก : เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2563

https://regis.dusit.ac.th/images/news/1421308421_MACRO%20%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A8%E0%B8%95%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%2021.pdf

หมายเลขบันทึก: 677674เขียนเมื่อ 27 พฤษภาคม 2020 16:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤษภาคม 2020 20:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้าจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท