Chapter 8 : Storyteller



                 ในบทก่อน ๆ เราได้ทราบถึงว่า ทำไมเรื่องเล่าบางเรื่อง ถึงเป็นที่จดจำของผู้คนเป็นเพราะอะไร หรือทำไมเรื่องเล่าบางเรื่องที่เราเคยได้ยินทำไมถึงจำได้ไม่เคยลืมเป็นเพราะอะไร และเรายังได้ทราบถึงการทำ Storytelling เอาไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง ทั้งประโยชน์ในทางธุรกิจ และประโยชน์ในการสื่อสาร อีกทั้งเครื่องมือต่าง ๆ ในการสร้าง หรือร้อยเรียงเรื่องราวของเราให้เป็นที่น่าจดจำมีวิธีการแบบไหน ไปกันแล้วนะครับ

                  คำถามต่อมา คือ แล้วตัวผู้เล่าเรื่องละ มีความสำคัญไหม? ทุกท่านลองนึกภาพตามนะครับ ว่าต่อให้เรื่องเล่าของเรามีเทคนิควิธีการที่ถูกต้อง หรือเรื่องเล่าของเราจะน่าสนใจมากแค่ไหน แต่ถ้าคนเล่าเรื่อง เล่าแบบตะกุกตะกัก ก้มหน้าก้มตาเล่าเรื่องไปเรื่อย ๆ หรือเสียงที่เล่าเรื่องนั้น ราบเรียบไร้อารมณ์ คนฟังจะรู้สึกเช่นไร?

                  ผมเชื่อว่าทุกท่านก็จะตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า ไม่อยากฟัง หรือเรื่องนั้นน่าเบื่อไปเลยใช่ไหมล่ะครับ ดังนั้นตัวผู้เล่าเรื่องจึงมีความสำคัญไม่แพ้กัน ที่จะนำเสนอเรื่องเล่าที่ดีออกมาทำให้ผู้คนจดจำ และวิธีการเป็นผู้เล่าเรื่องที่ดีต้องทำอย่างไรล่ะ?

                  วันนี้ผมจะมาแนะนำวิธีการ หรือทักษะที่จะทำให้เรานั้น เป็นผู้เล่าเรื่องที่ดีต้องทำอย่างบ้าง เพื่อที่จะได้สร้างเรื่องเล่าของเรานั้นให้ไปอยู่ในใจของผู้ฟังกันนะครับ


  • Good eye contact (สบตา) อย่างแรกที่สำคัญของผู้เล่าเรื่อง หรือการ present งาน คือ การสบตาผู้ฟังครับ เพราะเป็นหนึ่งในอวัจนภาษาที่แสดงถึงความตั้งใจฟัง และให้ความสำคัญกับคู่สนทนา เมื่อเราเป็นผู้พูดการสบตาผู้ฟังจะช่วยดึงความสนใจของผู้ฟังอีกด้วยครับ ซึ่งวิธีการสบตาผู้ฟังนั้น มีวิธีการง่าย ๆ คือ ทำใจให้สบาย ๆ ผ่อนคลาย สบตาอย่างเป็นธรรมชาติ ไม่จ้องเขม็งไปที่ผู้ฟังมากจนเกินไป เพราะจะทำให้เกิดความอึดอัดได้ครับ หรือถ้าจะให้ดียิ่งขึ้นควร ยิ้มจากตา เพราะการสบตาด้วยความเป็นมิตรอย่างจริงใจจะช่วยเสริมบรรยากาศในการฟังมากยิ่งขึ้นครับ
  • Good enthusiasm & expressions (ความกระตือรือร้น และการแสดงออกที่ดี) ผู้เล่าเรื่องควรจะต้องมีความกระตือรือร้น ที่อยากจะเล่าเรื่องราวนั้นออกมา เพราะเป็นการกระตุ้น หรือสื่อให้ผู้ฟังรู้สึกได้ ถึงความน่าสนใจของเรื่องเล่านั้น เพราะแม้แต่ผู้เล่าเองยังอยากจะเล่าจนแทบอดใจไม่ไว้เลย
  • Good preparation (เตรียมการที่ดี) ผู้เล่าเรื่องควรจะมีการเตรียมการให้พร้อมสำหรับการเล่า เช่น ลำดับเรื่องราวต่าง ๆ ให้พร้อม, มีซักซ้อมให้ชำนาญ, timing ของเรื่องราวจะเป็นอย่างไร หรือการเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบของเรื่องเล่า ฯลฯ เพื่อให้เมื่อเวลาเราเล่าเรื่องแล้วจะได้ไม่เกิดความผิดพลาด มีความต่อเนื่องของเรื่องราว อารมณ์ของผู้ฟังไม่เกิดการสะดุดหรือติดขัด
  • Good use of voice & good volume (ใช้เสียงและระดับเสียงได้ดี) ผู้เล่าเรื่องควรจะมีการใช้เสียง หรือระดับเสียงให้เหมาะสมกับเรื่องราวในแต่ละช่วง เน้นย้ำคำที่เราต้องการสื่อสารให้กระแทกใจผู้ฟัง เพราะการเลือกใช้เสียง หรือโทนเสียงนั้น เป็นส่วนช่วยเสริมใจความ และเน้นย้ำความสำคัญของสิ่งที่เราพูดออกไปได้เป็นอย่างดีครับ
  • Appropriate talking speed (ความเร็วในการพูดที่เหมาะสม) บางครั้งผู้เล่าเรื่องโดยทั่วไปอาจจะเกิดความตื่นเต้นจนอาจจะเล่าเรื่องเร็วเกินไป จนทำให้ผู้ฟัง ฟังไม่ทัน ทำให้ใจความสำคัญของเรื่องเล่าที่เราต้องการจะสื่อสารนั้นตกหล่น หรือเข้าไม่ถึงใจผู้ฟังได้ หรือหากพูดช้าจนเกินไปก็จะทำให้ผู้ฟังรู้สึกเบื่อได้ครับ ซึ่งผู้เล่าเรื่องควรจะใช้ความเร็วในการเล่าเรื่องให้เหมาะสมกับเรื่องของเรา เช่น ถ้าเป็นเรื่องที่ตื่นเต้น ก็อาจพูดเร็วกว่าปกติได้ หรือเรื่องที่มีเนื้อหาซับซ้อน เป็นทางการ หรือเรื่องเศร้าก็สามารถดึงจังหวะการพูดให้ช้าลงเล็กน้อยได้ครับ เพราะจังหวะการพูดเร็วขึ้นหรือช้าลงเล็กน้อย จะมีผลต่ออารมณ์ของผู้ฟังครับ
  • Good use of body & hand gestures (ใช้ท่าทางร่างกายและมือได้ดี) ผู้เล่าเรื่องควรจะใช้ท่าทาง หรือมือ ประกอบการเล่าเรื่องเป็นอย่างดี เช่น การแสดงออกทางสีหน้าให้เข้ากับเรื่องราวที่กำลังเล่า เพราะการแสดงออกทางสีหน้าเป็นตัวช่วยสนับสนุนในสิ่งที่เรากำลังพูด และสื่อถึงอารมณ์ต่อเรื่องที่เรากำลังพูดถึงอยู่ครับ

คำสำคัญ (Tags): #storytelling#management
หมายเลขบันทึก: 677568เขียนเมื่อ 21 พฤษภาคม 2020 11:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤษภาคม 2020 11:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท