เครือข่ายความรู้


เครือข่ายความรู้ ถือว่าเป็นประเด็นยุทธศาสตร์ที่เกิดขึ้นมาเพื่อสนับสนุนการสร้า งสังคมความรู้สังคมแห่งการเรียนรู้ในยุคข้อมูลข่าวสารไร้พรมแดน เป็นแนวงานใหม่สำหรับ สกว.สำนักงานภาคที่เชื่อมโยงกับงานเดิมที่ทำอยู่แล้วทั้งในแง่ก ารยกระดับการเรียนรู้และการขยายผลงานสู่วงกว้าง เป็นการนำเอาแนวความคิดสองเรื่องมาประยุกต์เข้าด้วยกันและนำไปผ สมผสานกับแนวความคิดงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นอีกต่อหนึ่งจึงเป็นเร ื่องที่ซับซ้อนและยากขึ้นไปอีก แต่มันท้าทายขบวนการวิจัยเพื่อท้องถิ่นอย่างมากทีเดียว

 เครือข่ายความรู้ : การพัฒนาจากฐานราก

โกมล สนั่นก้อง

                              เครือข่ายความรู้ ถือว่าเป็นประเด็นยุทธศาสตร์ที่เกิดขึ้นมาเพื่อสนับสนุนการสร้า งสังคมความรู้สังคมแห่งการเรียนรู้ในยุคข้อมูลข่าวสารไร้พรมแดน เป็นแนวงานใหม่สำหรับ สกว.สำนักงานภาคที่เชื่อมโยงกับงานเดิมที่ทำอยู่แล้วทั้งในแง่ก ารยกระดับการเรียนรู้และการขยายผลงานสู่วงกว้าง เป็นการนำเอาแนวความคิดสองเรื่องมาประยุกต์เข้าด้วยกันและนำไปผ สมผสานกับแนวความคิดงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นอีกต่อหนึ่งจึงเป็นเร ื่องที่ซับซ้อนและยากขึ้นไปอีก แต่มันท้าทายขบวนการวิจัยเพื่อท้องถิ่นอย่างมากทีเดียว

                               แนวความคิดเรื่องเครือข่ายยังฝังอยู่ในหัวสมองของผมด้วยว่าในอดีตผมทำงานเกี่ยวกับการพัฒนาเครือข่ายผู้นำและเครือข่ายองค์กรชาวบ้านในหลายพื้นที่หลากประเด็นปัญหาแต่ก็ไม่สามารถพัฒนาไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ได้ แต่ขณะที่พัฒนาอยู่นั้นได้พบ จุดอ่อนที่เป็นอุปสรรคต่อการเติบโตของเครือข่ายฯซึ่งเป็นปัจจัย ภายในอยู่หลายประการ เช่น การแย่งชิงอำนาจของผู้นำ การเข้าถึงงบประมาณของกลุ่มผู้นำ การแลกเปลี่ยนปัญหาสถานการณ์ซ้ำๆซากๆ การถกเถียงกันแต่เรื่องโครงสร้างอำนาจหน้าที่และการบริหารจัดกา รงบประมาณ ขณะที่ข้อมูลความรู้และประสบการณ์ใหม่ๆเกิดจากการไปอบรมและการศ ึกษาดูงานจากภายนอกเป็นหลักนำไปสู่การกำหนดกิจกรรมในเครือข่ายต ามมา ซึ่งเป็นการเลียนแบบผลสำเร็จจากภายนอกตั้งแต่ระดับแนวความคิดจน ถึงแนวทางปฏิบัติ จนหลายครั้งผมได้ข้อสรุปว่ามันเป็นการพึ่งพาภายนอกค่อนข้างมาก ไม่มีทางเลือกใหม่ๆที่เกิดขึ้นจากภายในเลย แม้จะมีทางออกอยู่บ้างแต่ก็เป็นเพียงทางเลือกเดียวที่มาจากกลุ่ มผู้นำที่มีอำนาจในเครือข่ายเท่านั้น

                             แนวทางและกิจกรรมของเครือข่ายหลายเรื่องอิงอยู่กับความสนใจของอ งค์กรสนับสนุนโดยเฉพาะผู้นำองค์กรที่มีความเชื่อและศรัทธาต่ออุ ดมการณ์บางอย่างที่มุ่งไปในแนวทางเดียวและเป็นทางเดี่ยว ส่งผลให้เครือข่ายไม่ได้สร้างอะไรใหม่ในการเรียนรู้ร่วมกัน และไม่มีอะไรใหม่ที่เกิดจากการเรียนรู้ด้วยตัวเอง แต่สำหรับองค์กรที่มีผู้นำเป็นนักประดิษฐ์คิดค้นและเป็นคนไฝ่ศึ กษาหาความรู้อยู่แล้วก็สามารถทำให้เครือข่ายพัฒนาไปได้โดยไม่สะ ดุด แต่ภาพของเครือข่ายก็ยังคงติดอยู่กับความรู้ความคิดของผู้นำและ รอคอยผู้นำอยู่ดี สภาพเช่นนี้น่าจะเกิดขึ้นกับหลายๆเครือข่ายทั้งในอดีตและที่กำล ังดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน หลายคนอาจได้ข้อสรุปว่ามันเป็นเช่นนั้นเอง หรืออาจมองว่านั่นคือการดำรงอยู่ของเครือข่าย แต่สำหรับผมคิดว่ามันเป็นสภาพที่นำไปสู่ทางตันและทางเต็มที่ไม่ ต้องการเรียนรู้อะไรใหม่อีกเลยเพราะเครือข่ายไม่ได้สร้างวัฒนธร รมแห่งการเรียนรู้ร่วมกันแต่กลับสร้างวัฒนธรรมการพึ่งพิงผู้นำแ ละศูนย์กลางอำนาจซึ่งก็คือการพึ่งพาภายนอกนั่นเอง

                           หากมองกระแสสังคมแล้วพบว่ามันมีความเคลื่อนไหวทั้งแนวดิ่งและแน วราบตลอดเวลาซึ่งมีผลกระทบต่อเครือข่ายและชุมชนท้องถิ่นอย่างหล ีกเลี่ยงไม่ได้และยังมีแนวโน้มไปสู่ความซับซ้อนและหนักหน่วงยิ่ งขึ้น โดยเฉพาะกระแสเสรีนิยมที่มีทุนนิยมและบริโภคนิยมเป็นแรงผลักดัน ทำให้ปัจเจกบุคคลให้ความสำคัญกับความสะดวกสบายของตัวเองมากขึ้น ดังนั้นผู้นำในฐานะปัจเจกคนหนึ่งจึงอ่อนไหวได้ง่ายกับความเคลื่ อนไหวของกระแสดังกล่าว

                              ในช่วงที่ผมเข้ามาทำงานใน สกว.สำนักงานภาค เป็นจังหวะที่มีการคิดงานเรื่องเครือข่ายความรู้อยู่พอดีด้วยว่ างานวิจัยเพื่อท้องถิ่นได้ขยายครอบคลุมไปทุกภูมิภาคแล้ว มีนักวิจัยชาวบ้านที่ศึกษาหลากหลายประเด็นกระจายตามพื้นที่ต่าง ๆและมีพี่เลี้ยงและหน่วยประสานงานจำนวนหนึ่งทำงานสนับสนุน ซึ่งแต่ละคนก็มีวิธีคิดวิธีทำงานที่แตกต่างกัน การคิดงานเรื่องเครือข่ายความรู้จึงเริ่มต้นจาก RC/Node เป็นฐานรองรับในฐานะผู้นำการเปลี่ยนแปลง โดยมองเป้าหมายไปที่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ความรู้จาก การทำงานร่วมกัน

                                 การเริ่มต้นคิดงานตรงนี้พวกเราได้ถกเถียงกันค่อนข้างมากสำหรับแ นวทดลองปฏิบัติ แต่สำหรับผมแล้วได้ใช้บทเรียนจากการทำงานที่ผ่านมาช่วยในการกำห นดหลักการและแนวทางในการสร้างเครือข่ายความรู้ด้วยคำถามดังนี้ " จะทำอย่างไรให้สมาชิกเครือข่ายมีส่วนร่วมและมีบทบาทต่อกระบวนกา รสร้างการเรียนรู้ร่วมกัน" ไม่ใช่เป็นอำนาจและบทบาทของผู้นำหรือผู้จัดการคนใดคนหนึ่งเท่าน ั้น "จะทำอย่างไรให้เครือข่ายมีข้อมูลความรู้ใหม่ๆมาแลกเปลี่ยนเรีย นรู้กันอย่างสม่ำเสมอ" ไม่ใช่มีแต่เรื่องเดิมๆที่น่าเบื่อ  และ "จะทำอย่างไรให้สมาชิกเครือข่ายทุกคนสามารถสร้างและหาความรู้ให ม่ๆป้อนสู่การแลกเปลี่ยนในเครือข่ายได้ตลอดเวลา" ไม่ใช่การป้อนข้อมูลจากฝ่ายผู้นำผู้จัดการแต่เพียงฝ่ายเดียว คำถามเหล่านี้เกิดจากบทเรียนการทำงานเครือข่ายในช่วงที่ผ่านมาข องผมและน่าจะเป็นประเด็นสำคัญต่อนักพัฒนาที่มีเป้าหมายในเรื่อง ดังกล่าวด้วย และต้องมองให้รอบคอบมากขึ้นหากต้องการพัฒนางานในเรื่องนี้อีกไม ่เช่นนั้นเครือข่ายก็จะมุ่งสู่การสร้างเงื่อนไขที่เคยเป็นข้อจำ กัดมาแล้วในอดีต ดังนั้นพื้นฐานการสร้างเครือข่ายความรู้น่าจะมองในประเด็นต่อไป นี้

                  1) ความรู้ ตัวความรู้ถือว่าสำคัญมากในยุคแห่งการเรียนรู้และสังคมความรู้ นอกจากความรู้ใหม่ๆที่รับมาจากภายนอกซึ่งเราเป็นเพียงฝ่ายรับแล ้ว ต้องเป็นความรู้ที่เกิดจากการสร้างและสังเคราะห์จากประสบการณ์ภ ายในของเราด้วยซึ่งก็คือความรู้จากฐานรากนั่นเองและอาจเป็นความ รู้ที่เกิดจากการประยุกต์ผสมผสานทั้งจากภายในและภายนอกด้วย ประการสำคัญต้องเป็นความรู้ใหม่ที่ผ่านการตีความในความหมายใหม่ หรือการวิเคราะห์คุณค่าใหม่จากคุณค่าดั้งเดิม จึงจะทำให้ความรู้น่าสนใจและมีประโยชน์ต่อการพัฒนาท้องถิ่นและผ ลักดันกระแสสังคม เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มของความรู้ให้มีพลังในการขับเคลื่อนงาน มากขึ้นหรือมีอำนาจในการเปลี่ยนแปลงสังคมมากขึ้นนั่นเอง ขณะเดียวกันความรู้เหล่านี้ต้องมีการปรับตัวตามบริบทของท้องถิ่ นและสถานการณ์ความเคลื่อนไหวของสังคมด้วย ซึ่งจะทำให้เราเห็นเงื่อนไขข้อจำกัดบนสถานการณ์จริงและรูปธรรมจ ริงของแต่ละพื้นที่ จะทำให้เครือข่ายและพื้นที่สามารถเรียนรู้และปรับตัวได้เร็ว ที่สำคัญต้องเป็นความรู้ที่รับใช้ความเคลื่อนไหวของสังคมและการ แก้ปัญหาท้องถิ่นจริงๆ ไม่ใช่ความรู้ที่สำเร็จรูปตายตัวแต่นำไปใช้แก้ไขปัญหาอะไรไม่ได ้

                  2) เครือข่ายการเรียนรู้ หรืออาจมองว่าเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกันเลยก็ว่าได้ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอันหนึ่ง เครือข่ายการเรียนรู้เป็นกลไกถ่ายเทแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน ซึ่งเกิดขึ้นได้ในหลายลักษณะตามเงื่อนไขความสำคัญและความจำเป็น ต่อการรับรู้เรียนรู้ของสมาชิกเครือข่ายที่ร่วมกันประเมินแล้วว ่ามีการใช้ต้นทุนและเวลาน้อยแต่ส่งผลสะเทือนสูง เช่น เวทีพูดคุย การสัมมนา การฝึกอบรมและการศึกษาดูงาน วารสาร เอกสาร หนังสือ website และการทำกิจกรรมที่หวังผลบางอย่างร่วมกันตามวาระสำคัญๆ เป็นต้น ประเด็นสำคัญเครือข่ายต้องมีพื้นที่หรือต้องสร้างพื้นที่ให้สมา ชิกได้แสดงศักยภาพในภูมิปัญญาของเขาอย่างเต็มที่ แม้สมาชิกจะเริ่มต้นจากศูนย์ก็ตาม อาจมีมาตรฐานบางอย่างของเครือข่ายช่วยกำกับอีกระดับหนึ่ง ซึ่งสมาชิกเครือข่ายร่วมกันสร้างขึ้นมา แน่นอนว่าต้องมีกลไกและระบบพี่เลี้ยงที่คอยสนับสนุนสมาชิกเครือ ข่ายให้เกิดการพัฒนาขีดความสามารถของเขาเองในอันที่จะสร้างสรรค ์ความรู้และผลงานใหม่ๆป้อนสู่พื้นที่ของเครือข่ายอย่างสม่ำเสมอ ถ้าเราทำได้อย่างนี้ มันจะทำให้เครือข่ายมีชีวิตชีวา มีความเคลื่อนไหวตื่นตัวและเชื่อมโยงกันทั้งในแนวดิ่งและแนวราบ และมีพัฒนาการในทางที่เปิดตัวขยายขอบเขตการเรียนรู้สู่ภายนอกมา กขึ้น เพราะเครือข่ายมันเกิดจากการเรียนรู้และไฝ่รู้ของคนทำงานซึ่งจะ ได้พูดในลำดับต่อไป

                  3) คนทำงาน หรือสมาชิกเครือข่ายนั่นเอง เป็นองค์ประกอบที่สำคัญมากที่สุด เพราะคนเป็นผู้สร้างและเป็นผู้ควบคุมขอบเขตพื้นที่การเรียนรู้ข องเครือข่ายและความรู้ เป็นเงื่อนไขสำคัญต่อการเติบโตหรือสิ้นสุดลงของเครือข่ายความรู ้นั่นเอง ดังนั้นวิธีคิดวิธีจัดการเครือข่ายความรู้จึงมีความสำคัญมากในป ระเด็นที่ว่า "จะทำอย่างไรให้สมาชิกเครือข่ายข่ายพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของ ตัวเองจนสามารถสร้างและสังเคราะห์ความรู้ป้อนสู่เครือข่ายให้เก ิดการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางได้" ไม่ใช่คิดเพียงว่าจะหาความรู้อะไร จากที่ไหนมาป้อนให้เครือข่ายเพราะนั่นเป็นการให้ข้อมูลทางเดียว ซึ่งในระยะยาวเป็นไปได้ยากมากที่จะป้อนข้อมูลทางเดียวอย่างต่อเ นื่องและเข้มข้นได้ เนื่องจากการเรียนรู้ในยุคปัจจุบันไม่ได้เกิดขึ้นในวงจำกัด ขณะที่ข้อมูลและแหล่งข้อมูลเกิดขึ้นทุกหนทุกแห่ง ดังนั้นการกำหนดยุทธวิธีและแผนงานที่จะพัฒนาศักยภาพคนทำงานในฐา นะสมาชิกเครือข่ายให้เกิดทักษะในเรื่องดังกล่าว จึงเป็นแนวทางสำคัญที่จะทำให้เครือข่ายความรู้เคลื่อนไหวไปพร้อ มๆกับการสร้างสังคมความรู้ ซึ่งจะทำให้เครือข่ายสามารถตอบสนองความต้องการของสมาชิกซึ่งมีป ฏิสัมพันธ์กับสังคมภายนอกตลอดเวลา

                          หากนักพัฒนาหรือนักจัดการเครือข่ายความรู้มุ่งเพียงแต่สร้างและ ค้นหาข้อมูลความรู้ใหม่ๆมาป้อนให้เครือข่ายแต่เพียงฝ่ายเดียว นั่นแปลว่านักจัดการต้องมีทีมงานที่มากพอ มีเทคโนโลยีชั้นสูง มีเครื่องอำนวยความสะดวกเต็มกำลัง รวมถึงมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการและใช้เวลาในการทำงานมากด้วยโ ดยเฉพาะเวลาเดินทางไปแสวงหาข้อมูล เพื่อที่จะเข้าถึงข้อมูลความรู้ได้อย่างรวดเร็วและเป็นข้อมูลจร ิง ในขณะที่สังคมยุคใหม่ข้อมูลใหม่เกิดขึ้นทุกที่และเกิดขึ้นทุกวั น หมายความว่า ชุมชนท้องถิ่นและสังคมภายนอกมีความเชื่อมโยงกันเคลื่อนไหวและเป ลี่ยนแปลงตลอดเวลาและข้อมูลความรู้ใหม่ๆได้เกิดขึ้นและเคลื่อนไ หวไปตามกระแสและการเปลี่ยนแปลงนั้นเสมอ

                          ในสถานการณ์ที่สังคมเคลื่อนตัวเร็วเช่นนี้มีหลายองค์กรได้ปรับต ัวและพัฒนาเครือข่ายข้อมูลความรู้ไปมากแล้วโดยเฉพาะกลุ่มสื่อสา รมวลชน ทั้งหนังสือพิมพ์และโทรทัศน์ เพราะหนังสือพิมพ์ต้องออกทุกวัน ข่าวสดทางทีวีต้องออกทุกหนึ่งชั่วโมง ดังนั้น องค์กรเหล่านี้จึงต้องสร้างเครือข่ายข่าวและหานักข่าวนักเขียนร ะดับท้องถิ่นไว้เกาะติดสถานการณ์แทบทุกพื้นที่ ทั้งนี้เพื่อให้เข้าถึงข่าวสารและสามารถป้อนข่าวสู่สถานีเครือข ่ายได้อย่างทันท่วงที และที่สำคัญนักข่าวทุกคนสามารถทดแทนกันได้หากเกิดเหตุการณ์ที่ไ ม่ปกติขึ้น องค์กรเหล่านี้ให้ความสำคัญต่อเรื่องการพัฒนาศักยภาพของคนทำงาน อย่างมาก ภาคการเมืองและภาคธุรกิจก็เช่นกันถือว่ามีความก้าวหน้าในเรื่อง นี้มากแม้ว่าจะเติบโตบนฐานธุรกิจและมีอำนาจซื้อมหาศาลก็ตาม

                          มีประเด็นสำคัญบางอย่างในการพัฒนาศักยภาพคนทำงานข้อมูลและแหล่ง ข้อมูลให้กระจายไปสู่ท้องถิ่นและสามารถทำงานได้จริง ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการสร้างเครือข่ายความรู้จากฐานราก คือ

                     1. ในแง่ของฐานคิดการทำงาน ด้วยว่าเครือข่ายความรู้เกิดจากฐานคิดงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ดังนั้นต้องให้ความสำคัญกับคนท้องถิ่นที่มีความเข้าใจต่อพื้นฐา นชาติพันธุ์ ภูมิปัญญาและวัฒนธรรม โดยเฉพาะภาษาซึ่งเป็นเครื่องมือในการทำความเข้าใจต่อเรื่องราวต ่างๆที่เป็นความรู้ความเคลื่อนไหว ผมจึงคิดว่าคนท้องถิ่นน่าจะสร้างการรับรู้และเผยแพร่ความรู้ไปส ู่เครือข่ายและสังคมภายนอกได้ดีกว่าคนอื่น ทั้งในแง่การเข้าถึงความรู้ความจริงและการเข้าถึงผู้รู้และแหล่ งความรู้จากฐานรากด้วย ขณะเดียวกันต้องให้ความสำคัญกับความรู้จากท้องถิ่นด้วยเช่นกัน

                   2. ในแง่ศักยภาพของคนทำงาน ผมมีความเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนสามารถพัฒนาศักยภาพของตัวเองให้เก่ งขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่เขาไม่ชอบไม่ถนัดก็ตาม แต่หากเขาเห็นความสำคัญและเห็นความจำเป็นต่อชีวิตและสังคมแล้วเ ขาจะมุ่งมั่นที่จะเอาชนะตัวเองให้จนได้ เพียงแต่ต้องสร้างโอกาสเหล่านี้ให้เกิดขึ้นกับเขาจะมากบ้างน้อย บ้างขึ้นอยู่กับพื้นฐานของแต่ละคน

                             ดังนั้นเราต้องทำงานควบคู่กันไปใน 3 ลักษณะ คือ 1) ทำให้เขาเห็นว่าเรื่องนี้มันสำคัญต่อเขาและมันสำคัญต่อเขาอย่าง ไร 2) หาวิธีที่จะฝึกฝนเพื่อที่จะช่วยให้เขาเก่งขึ้นพัฒนาทักษะขึ้น และ 3)มีพื้นที่ให้เขาได้ทดลองทำจริง ให้เขาได้ภาคภูมิใจในผลงานของเขาเอง ซึ่งมันจะเป็นพลังที่ยิ่งใหญ่ที่จะทำให้เขากล้าเปลี่ยนแปลงตัวเ องและมุ่งมั่นที่จะสร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆ สำคัญว่าเราต้องให้โอกาสเขา แม้ว่าเขาจะบอกกับเราว่าเขาทำไม่ได้เขาไม่ถนัดก็ตาม

                            ผมจึงคิดว่าเครือข่ายความรู้จากฐานรากน่าจะเริ่มคิดและพัฒนาจาก เรื่องต่างๆเหล่านี้เป็นพื้นฐาน ขณะเดียวกันการศึกษาแนวคิดทฤษฎีและบทเรียนจากภายนอกจากบ้านอื่น เมืองอื่นก็เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นบนเงื่อนไขความจำเพาะของพื้น ที่ตามระบบและโครงสร้างทางสังคมนั้นๆ รวมทั้งการสั่งสมต้นทุนทางสังคมและเวลาที่เหมาะสม เพื่อนำมาพัฒนาความเข้มแข็งของเครือข่ายความรู้บนหลักการและแนว ความคิดที่ได้กล่าวไปแล้ว ผมจึงคิดว่าหัวใจของเครือข่ายความรู้ คือคนและเป็นคนท้องถิ่นซึ่งอยู่ในท้องถิ่น เพราะคนเป็นผู้สร้างเป็นผู้ควบคุมเครือข่ายและความรู้ให้เกิดขึ ้นอย่างมั่นคง และคนท้องถิ่นเท่านั้นที่เป็นผู้กำหนดชะตากรรมและอนาคตของพวกเข าเอง

หมายเลขบันทึก: 67743เขียนเมื่อ 17 ธันวาคม 2006 09:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท