พระไตรปิฎกอ่านง่าย เล่มที่ ๑๒ (พระสูตร เล่มที่ ๔) เรื่องที่ ๑ มูลปริยายสูตร เรื่องเหตุแห่งทุกข์


๑. มูลปริยายสูตร เรื่องเหตุแห่งทุกข์ 

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โคนไม้รังใหญ่ในสุภควัน เขตเมืองอุกกัฏฐา ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงมูลเหตุแห่งธรรมทั้งปวง แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”

กำหนดภูมิตามนัยที่ ๑ ว่าด้วยปุถุชน

 “ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชน ในโลกนี้ผู้ยังไม่ได้สดับ ไม่ได้พบพระอริยะทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้รับคำแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้พบสัตบุรุษทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับคำแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ หมายรู้ปฐวีคือดินโดยความเป็นปฐวี กำหนดหมายซึ่งปฐวี กำหนดหมายในปฐวี กำหนดหมายนอกปฐวี กำหนดหมายปฐวีว่าเป็นของเรา ยินดีในปฐวี 

ปุถุชนหมายรู้อาโปคือน้ำ  หมายรู้เตโชคือไฟ หมายรู้วาโยคือลม หมายรู้ภูต หมายรู้เทวดา หมายรู้ปชาบดีคือผู้เป็นใหญ่ในปวงประชา  หมายรู้พรหม  หมายรู้อาภัสสรพรหม หมายรู้สุภกิณหพรหม หมายรู้เวหัปผลพรหม หมายรู้อภิภูสัตว์ หมายรู้อากาสานัญจายตนพรหม วิญญาณัญจายตนพรหม หมายรู้อากิญจายนพรหม หมายรู้เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม  หมายรู้รูปที่ตน  หมายรู้เสียงที่ตนได้ยิน   หมายรู้อารมณ์ที่ตนทราบ  หมายรู้อารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง  หมายรู้ความที่จิตที่เป็นฌานสมาบัติเป็นอันเดียวกันโดยความเป็นอันเดียวกัน  หมายรู้ความที่กามจิตต่างกันโดยความเป็นของต่างกัน  หมายรู้สักกายะ ทั้งปวงโดยความเป็นสักกายะทั้งปวง  หมายรู้นิพพาน ครั้นหมายรู้แล้ว กำหนดหมายภายใน กำหนดหมายภายนอก กำหนดว่าเป็นของเรา โดยนัยนี้ เช่นนี้ เรากล่าวว่าเขาไม่ได้กำหนดรู้

กำหนดภูมิตามนัยที่ ๒ ว่าด้วยเสขบุคคล

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดยังเป็นเสขบุคคล คือผู้ยังต้องศึกษาเรียนรู้ ไม่ได้บรรลุอรหัตตผล ปรารถนาธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม แม้ภิกษุนั้นก็รู้ยิ่งปฐวีโดยความเป็นปฐวี ครั้นรู้ยิ่งปฐวีโดยความเป็นปฐวีแล้ว อย่ากำหนดหมายซึ่งปฐวีอย่ากำหนดหมายในปฐวี อย่ากำหนดหมายนอกปฐวี อย่ากำหนดหมายปฐวีว่าเป็นของเรา อย่ายินดีปฐวี

ภิกษุใดยังเป็นเสขบุคคล รู้ยิ่งอาโป เตโช วาโย ภูต เทวดา ปชาบดี พรหม อาภัสสรพรหม สุภกิณหพรหม เวหัปผลพรหม  อภิภูสัตว์ อากาสานัญจายตนพรหม วิญญาณัญจายตนพรหม อากิญจัญญายตนพรหม  เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม รูปที่ตนเห็น เสียงที่ตนได้ยิน อารมณ์ที่ตนทราบ อารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง ความที่จิตที่เป็นฌานสมาบัติเป็นอันเดียวกัน ความที่กามจิตต่างกัน สักกายะทั้งปวง รู้ยิ่งนิพพานโดยความเป็นนิพพาน ครั้นรู้ยิ่งนิพพานโดยความเป็นนิพพานแล้ว อย่ากำหนดหมายซึ่งนิพพาน อย่ากำหนดหมายในนิพพาน อย่ากำหนดหมายนอกนิพพาน อย่ากำหนดหมายนิพพานว่าเป็นของเรา อย่ายินดีนิพพาน  โดยนัยนี้ ข้อนั้น เรากล่าวว่า ‘เพราะเขาควรกำหนดรู้’

กำหนดภูมิตามนัยที่ ๓ ว่าด้วยพระขีณาสพ

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดเป็นอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้วทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์ แล้ว หลุดพ้นเพราะรู้โดยชอบ แม้ภิกษุนั้นก็รู้ยิ่งปฐวีโดยความเป็นปฐวีครั้นรู้ยิ่งปฐวีโดยความเป็นปฐวีแล้ว ไม่กำหนดหมายซึ่งปฐวี ไม่กำหนดหมายในปฐวีไม่กำหนดหมายนอกปฐวี ไม่กำหนดหมายปฐวีว่าเป็นของเรา ไม่ยินดีปฐวี 

ภิกษุใดเป็นอรหันตขีณาสพ รู้ยิ่งอาโป เตโช วาโย ภูต เทวดา ปชาบดี พรหม อาภัสสรพรหม สุภกิณหพรหม เวหัปผลพรหม  อภิภูสัตว์ อากาสานัญจายตนพรหม วิญญาณัญจายตนพรหม อากิญจัญญายตนพรหม  เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม รูปที่ตนเห็น เสียงที่ตนได้ยิน อารมณ์ที่ตนทราบ อารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง ความที่จิตที่เป็นฌานสมาบัติเป็นอันเดียวกัน ความที่กามจิตต่างกัน สักกายะทั้งปวง รู้ยิ่งนิพพานโดยความเป็นนิพพาน ครั้นรู้ยิ่งนิพพานโดยความเป็นนิพพานแล้ว ไม่กำหนดหมายซึ่งนิพพาน ไม่กำหนดหมายในนิพพาน ไม่กำหนดหมายนอกนิพพาน ไม่กำหนดหมายนิพพานว่าเป็นของเรา ไม่ยินดีนิพพาน ข้อนั้นเพราะเหตุไร  เรากล่าวว่า ‘เพราะเขากำหนดรู้แล้ว’

กำหนดภูมิตามนัยที่ ๔ ว่าด้วยพระขีณาสพ

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดเป็นอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้วทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นเพราะรู้โดยชอบ แม้ภิกษุนั้นก็รู้ยิ่งปฐวีโดยความเป็นปฐวีครั้นรู้ยิ่งปฐวีโดยความเป็นปฐวีแล้ว ไม่กำหนดหมายซึ่งปฐวี ไม่กำหนดหมายในปฐวีไม่กำหนดหมายนอกปฐวี ไม่กำหนดหมายปฐวีว่าเป็นของเรา ไม่ยินดีปฐวี

ภิกษุใดเป็นอรหันตขีณาสพ รู้ยิ่งอาโป เตโช วาโย ภูต เทวดา ปชาบดี พรหม อาภัสสรพรหม สุภกิณหพรหม เวหัปผลพรหม  อภิภูสัตว์ อากาสานัญจายตนพรหม วิญญาณัญจายตนพรหม อากิญจัญญายตนพรหม  เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม รูปที่ตนเห็น เสียงที่ตนได้ยิน อารมณ์ที่ตนทราบ อารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง ความที่จิตที่เป็นฌานสมาบัติเป็นอันเดียวกัน ความที่กามจิตต่างกัน สักกายะทั้งปวง รู้ยิ่งนิพพานโดยความเป็นนิพพาน ครั้นรู้ยิ่งนิพพานโดยความเป็นนิพพานแล้ว ไม่กำหนดหมายซึ่งนิพพาน ไม่กำหนดหมายในนิพพาน ไม่กำหนดหมายนอกนิพพาน ไม่กำหนดหมายนิพพานว่าเป็นของเรา ไม่ยินดีนิพพาน ข้อนั้นเพราะเหตุไร  เรากล่าวว่า ‘เพราะเขาปราศจากราคะ เนื่องจากราคะสิ้นไป’

กำหนดภูมิตามนัยที่ ๕ ว่าด้วยพระขีณาสพ

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดเป็นอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้วทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นเพราะรู้โดยชอบ แม้ภิกษุนั้นก็รู้ยิ่งปฐวีโดยความเป็นปฐวีครั้นรู้ยิ่งปฐวีโดยความเป็นปฐวีแล้ว ไม่กำหนดหมายซึ่งปฐวี ไม่กำหนดหมายในปฐวีไม่กำหนดหมายนอกปฐวี ไม่กำหนดหมายปฐวีว่าเป็นของเรา ไม่ยินดีปฐวี

ภิกษุใดเป็นอรหันตขีณาสพ รู้ยิ่งอาโป เตโช วาโย ภูต เทวดา ปชาบดี พรหม อาภัสสรพรหม สุภกิณหพรหม เวหัปผลพรหม  อภิภูสัตว์ อากาสานัญจายตนพรหม วิญญาณัญจายตนพรหม อากิญจัญญายตนพรหม  เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม รูปที่ตนเห็น เสียงที่ตนได้ยิน อารมณ์ที่ตนทราบ อารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง ความที่จิตที่เป็นฌานสมาบัติเป็นอันเดียวกัน ความที่กามจิตต่างกัน สักกายะทั้งปวง รู้ยิ่งนิพพานโดยความเป็นนิพพานครั้นรู้ยิ่งนิพพานโดยความเป็นนิพพานแล้ว ไม่กำหนดหมายซึ่งนิพพาน ไม่กำหนดหมายในนิพพาน ไม่กำหนดหมายนอกนิพพาน ไม่กำหนดหมายนิพพานว่าเป็นของเรา ไม่ยินดีนิพพาน ข้อนั้นเพราะเหตุไร  เรากล่าวว่า ‘เพราะเขาปราศจากโทสะ เนื่องจากโทสะสิ้นไป’

กำหนดภูมิตามนัยที่ ๖ ว่าด้วยพระขีณาสพ

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดเป็นอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้วทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นเพราะรู้โดยชอบ แม้ภิกษุนั้นก็รู้ยิ่งปฐวีโดยความเป็นปฐวีครั้นรู้ยิ่งปฐวีโดยความเป็นปฐวีแล้ว ไม่กำหนดหมายซึ่งปฐวี ไม่กำหนดหมายในปฐวีไม่กำหนดหมายนอกปฐวี ไม่กำหนดหมายปฐวีว่าเป็นของเรา ไม่ยินดีปฐวี

ภิกษุใดเป็นอรหันตขีณาสพ รู้ยิ่งอาโป เตโช วาโย ภูต เทวดา ปชาบดี พรหม อาภัสสรพรหม สุภกิณหพรหม เวหัปผลพรหม  อภิภูสัตว์ อากาสานัญจายตนพรหม วิญญาณัญจายตนพรหม อากิญจัญญายตนพรหม  เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม รูปที่ตนเห็น เสียงที่ตนได้ยิน อารมณ์ที่ตนทราบ อารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง ความที่จิตที่เป็นฌานสมาบัติเป็นอันเดียวกัน ความที่กามจิตต่างกัน สักกายะทั้งปวง รู้ยิ่งนิพพานโดยความเป็นนิพพานครั้นรู้ยิ่งนิพพานโดยความเป็นนิพพานแล้ว ไม่กำหนดหมายซึ่งนิพพาน ไม่กำหนดหมายในนิพพาน ไม่กำหนดหมายนอกนิพพาน ไม่กำหนดหมายนิพพานว่าเป็นของเรา ไม่ยินดีนิพพาน ข้อนั้นเพราะเหตุไร เรากล่าวว่า ‘เพราะเขาปราศจากโมหะ เนื่องจากโมหะสิ้นไป’

กำหนดภูมิตามนัยที่ ๗ ว่าด้วยพระตถาคต

ภิกษุทั้งหลาย แม้ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็รู้ยิ่งปฐวีโดยความเป็นปฐวี ครั้นรู้ยิ่งปฐวีโดยความเป็นปฐวีแล้ว ไม่กำหนดหมายซึ่งปฐวีไม่กำหนดหมายในปฐวี ไม่กำหนดหมายนอกปฐวี ไม่กำหนดหมายปฐวีว่าเป็นของเรา ไม่ยินดีปฐวี

ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า รู้ยิ่งอาโป เตโช วาโย ภูต เทวดา ปชาบดี พรหม อาภัสสรพรหม สุภกิณหพรหม เวหัปผลพรหม  อภิภูสัตว์ อากาสานัญจายตนพรหม วิญญาณัญจายตนพรหม อากิญจัญญายตนพรหม  เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม รูปที่ตนเห็น เสียงที่ตนได้ยิน อารมณ์ที่ตนทราบ อารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง ความที่จิตที่เป็นฌานสมาบัติเป็นอันเดียวกัน ความที่กามจิตต่างกัน สักกายะทั้งปวง รู้ยิ่งนิพพานโดยความเป็นนิพพานครั้นรู้ยิ่งนิพพานโดยความเป็นนิพพานแล้ว ไม่กำหนดหมายซึ่งนิพพาน ไม่กำหนดหมายในนิพพาน ไม่กำหนดหมายนอกนิพพาน ไม่กำหนดหมายนิพพานว่าเป็นของเรา ไม่ยินดีนิพพาน  ข้อนั้นเพราะเหตุไร  เรากล่าวว่า ‘เพราะตถาคตกำหนดรู้นิพพานนั้นแล้ว’

กำหนดภูมิตามนัยที่ ๘ ว่าด้วยพระตถาคต

ภิกษุทั้งหลาย แม้ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็รู้ยิ่งปฐวีโดยความเป็นปฐวี ครั้นรู้ยิ่งปฐวีโดยความเป็นปฐวีแล้ว ไม่กำหนดหมายซึ่งปฐวีไม่กำหนดหมายในปฐวี ไม่กำหนดหมายนอกปฐวี ไม่กำหนดหมายปฐวีว่าเป็นของเรา ไม่ยินดีปฐวี  ข้อนั้นเพราะเหตุไร

เพราะรู้ว่า ‘ความเพลิดเพลินเป็นมูลเหตุแห่งทุกข์ เพราะมีภพ ชาติจึงมี สัตว์ผู้เกิดแล้วต้องแก่ ต้องตาย’ เพราะเหตุนั้น เราจึงกล่าวว่า ‘ตถาคตตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เพราะสิ้นตัณหา คลายตัณหา ดับตัณหา สละตัณหา สลัดทิ้งตัณหาโดยประการทั้งปวง’

แม้ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า รู้ยิ่งอาโป เตโช วาโย ภูต เทวดา ปชาบดี พรหม อาภัสสรพรหม สุภกิณหพรหม เวหัปผลพรหม  อภิภูสัตว์ อากาสานัญจายตนพรหม วิญญาณัญจายตนพรหม อากิญจัญญายตนพรหม  เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม รูปที่ตนเห็น เสียงที่ตนได้ยิน อารมณ์ที่ตนทราบ อารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง ความที่จิตที่เป็นฌานสมาบัติเป็นอันเดียวกัน ความที่กามจิตต่างกัน สักกายะทั้งปวง รู้ยิ่งนิพพานโดยความเป็นนิพพานครั้นรู้ยิ่งนิพพานโดยความเป็นนิพพานแล้ว ไม่กำหนดหมายซึ่งนิพพาน ไม่กำหนดหมายในนิพพาน ไม่กำหนดหมายนอกนิพพาน ไม่กำหนดหมายนิพพานว่าเป็นของเรา ไม่ยินดีนิพพาน  ข้อนั้นเพราะเหตุไร  เพราะรู้ว่า ‘ความเพลิดเพลินเป็นมูลเหตุแห่งทุกข์ เพราะมีภพ ชาติจึงมีสัตว์ผู้เกิดแล้วต้องแก่ ต้องตาย’ เพราะเหตุนั้น เราจึงกล่าวว่า ‘ตถาคตตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เพราะสิ้นตัณหา คลายตัณหา ดับตัณหา สละตัณหาสลัดทิ้งตัณหาโดยประการทั้งปวง”

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมิได้มีใจยินดีชื่นชม พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้

เรียบเรียงโดย ดร.ศักดิ์ ประสานดี

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔  มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ ๑. มูลปริยายวรรค เรื่องที่ ๑ มูลปริยายสูตร  ข้อที่ ๑ – ๑๔  

หมายเลขบันทึก: 677182เขียนเมื่อ 25 เมษายน 2020 20:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 กรกฎาคม 2020 23:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท