คอลัมน์ ชาวเน็ต


ติดกับอยู่บ้านออกไปไหนไม่ได้ แก้เหงาโดยอ่านหนังสือพิมพ์ออนไลน์

เมื่อสมัยตอนเช้าต้องเดินออกไปซื้อหนังสือพิมพ์ที่แผง
ถามกันในกลุ่มเพื่อน ใครชอบอ่านหนังสือพิมพ์อะไรบ้าง
ส่วนใหญ่ชอบไทยรัฐ/เดลินิวส์
มายุคแดงกับเหลืองตีกัน ฝ่ายแดงชอบมติชน/ข่าวสด
ฝ่ายเหลืองชอบผู้จัดการ/ไทยโพสต์

เพื่อนคนหนึ่งตอบว่า ชอบBangkok Post กับ The Nation
ถามว่าทำไม เขาบอกว่า หนังสือพิมพ์ภาษาไทยฉบับละ5บาท อ่านวันเดียว/ครึ่งวันก็จบแล้ว
หนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ อ่านได้นานกว่า ฉบับละ20บาท อ่านได้1-2เดือนยังไม่จบเลย

*********************************

มีคอลัมน์ในหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษอ่านฟรี เดอะการ์เดียน เหมาะสำหรับผู้สนใจติดตามความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ใช้ชื่อว่า The networker แปลไทยก็คือ ชาวเน็ต
https://www.theguardian.com/profile/johnnaughton
หนังสือพิมพ์เขามีให้อ่านทุกวัน มีข่าวทางUK/USและทั่วโลก คอลัมน์ชาวเน็ตมีให้อ่านทุกวันเสาร์ ตรงกับบ้านเราก็คือวันอาทิตย์


คอลัมน์ The networker มาในโทนอ่านยาก(ง่าย) - อ่านฟรี - มีประโยชน์

อ่านยาก-เพราะเป็นภาษาอังกฤษ

ง่าย- เขาเขียนเรื่องเทตโนโลยี ให้คนทั่วๆไปเข้าใจง่าย


ตัวอย่างบทความ ในคอลัมน์ชาวเน็ต ที่ผ่านมา

ยุคโควิด สมาร์ทโฟนต้องเจ๋งกว่านี้ (11 เมย.2020)

Zoomต้องปรับปรุง (4 เมย.2020)

มีรัฐบาลไปทำไม ก้อ...อเมซอนทำได้ทุกอย่างอยู่แล้ว (28 มีค.2020)

สมาร์ทโฟนติดตามโควิด (21 มีค.2020)

ยุคโควิด เฟคนิวส์อันตรายพอๆกับไวรัส (14 มีค.2020)

วิกฤตรอบนี้ เป็นโอกาสสร้างระบบเฝ้าระวัง (7 มีค.2020)


ผู้เขียนคือ John Naughton เป็นศาสตราจารย์สอนวิชา Public Understanding of Technology สอนเรื่องเทคโนโลยีที่เข้าใจยากให้สาธารณชนเข้าใจ
ในวิกิให้ข้อมูลว่า จอห์นนอห์ตันเป็นคนไอริชเกิด1946 จบวิศวไฟฟ้าจากเคมบริดจ์ สนใจเรื่อง
Systems modelling & analysis เคยสอนที่ Open Universityลอนดอน เกษียณเมื่อปี2011 ตอนนี้เป็นศ.เกียรติคุณ สนใจสังคม/การเมือง/วัฒนธรรม ในยุคออนไลน์
https://en.m.wikipedia.org/wiki/John_Naughton

Open University (OU) เป็นมหาวิทยาลัยเปิด ตั้งเมื่อปี1969 สอนทางไกล มีนักศึกษาทั่วโลกประมาณ170,000คน

https://en.wikipedia.org/wiki/Open_University
มหาวิทยาลัยรามคำแหงเปิดปี1971(พศ.2514)
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เปิดปี1978(พศ.2521)

จอห์นนอห์ตัน เขียนหนังสือน่าสนใจไว้เล่มหนึ่ง เมื่อปี2012
From Gutenberg to Zuckerberg: What You Really Need to Know About the Internet
ก่อนยุคกลาง ความรู้อยู่ในวงจำกัด พอโจฮาน กูเต็นเบิร์ก ประดิษฐ์แท่นพิมพ์ ก็เกิดการกระจายความรู้ออกไปกว้างขึ้น
พอมีอินเทอร์เน็ต มีกูเกิ้ล เฟซบุ๊ก ยิ่งเป็นยุคที่ความรู้ขยายไปในวงกว้างและรวดเร็วมากขึ้น

หมายเลขบันทึก: 676900เขียนเมื่อ 12 เมษายน 2020 08:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 เมษายน 2020 12:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท