บ้านคลองจาน ปอดชุมชน หนุนเยาวชนรวมตัวกันทำเกษตรอินทรีย์


            แม้พื้นที่ในของชุมชนย่อย 12 บ้านคลองจาน จะอยู่ในเขตเทศบาลเมือง อ.เมือง จ.สระแก้ว แต่ก็เป็นชุมชนที่ยังคงทำการเกษตร แม้จะไม่เต็มรูปแบบเหมือนนอกอำเภอที่ห่างไกลออกไป แต่วิถีชีวิตคนเมืองที่นี่ยังคงมีความเป็นวิถีเกษตรผสมอยู่ด้วย จึงทำให้มีกลิ่นอายของความเป็นคนชนบทและคนเมืองผสมผานกัน

    เนื่องจากพื้นที่นี้อยู่ในความดูแลของเทศบาล ทำให้การผสมผสานของชนบทและคนเมืองเป็นการผสมผสานที่ลงตัว เพราะกิจกรรมต่าง ๆ ส่วนหนึ่งมีทางเทศบาลคอยให้การสนับสนุนดูแล ขณะเดียวกันก็ส่งเสริมให้เอาองค์ความความรู้จากข้างนอกเข้ามาพัฒนาพื้นที่ด้วย

        โครงการ”ปลูกผักปลอดสารเคมีและสมุนไพรไทยเพื่อบริโภคในครัวเรือน ชุมชนย่อยที่ 12 บ้านคลองจาน”ภายใต้การทำงานของหน่วยจัดการพื้นที่สระแก้ว จากการสนับสนุนของ สำนัก 6  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จึงเกิดขึ้นในพื้นที่แห่งนี้ ด้วยการขับเคลื่อนจากการทำงานของกลุ่มคนรุ่นใหม่ วัยรุ่น และ เด็ก ในชุมชน ที่ลุกขึ้นมากระตุกและชักชวนให้ชาวบ้านในพื้นที่หันมาสนใจสุขภาพของตัวเอง ด้วยการเปลี่ยนการทำเกษตรดั้งเดิมที่ใช้สารเคมี มาเป็นแบบปลอดสารเคมี

            คุณโหน่ง สถาพร สว่างอารมณ์ หัวหน้าโครงการเล่าให้ฟังว่า โครงการฯที่ทำอยู่นี้ เป็นการชักชวนน้อง ๆ ที่เป็นวัยรุ่นในชุมชนเข้ามาร่วมกัน โดยมีผูใหญ่ใจดีอย่างเทศบาลสระแก้ว จัดพื้นที่ว่างเปล่าม 26 ไร่ ให้เด็ก ๆ ได้ใช้ประโยชน์ ด้วยการทำเป็นแปลงตัวอย่าง ปลูกผักปลอดสารพิษ ซึ่งถือเป็นจุดฟอกปอดกลางเมืองก็ว่าได้ เพราะ ผักทุกชนิดที่ปลูกที่นี่เป็นเกษตรอินทรีย์ ผักปลอดสารพิษทั้งหมด

            หลังจากชักชวนน้อง ๆ วัยรุ่นและเด็กเข้าร่วมโครงการ ก็เริ่มทำการเกษตรแบบไร้สาร โดยเชิญวิยาการที่มีความรู้จากที่ต่าง ๆ มาสอน เช่น จาก กศน. เป็นต้น หลังจากมีความรู้อยู่กับตัวแล้ว ก็เริ่มทำแปลงของตัวเองในพื้นที่ และหลังจากนั้นก็ออกไปชักชวนชาวบ้านในหมู่บ้านให้เห็นประโยชน์ของการปลูกผักปลอดสารพิษ ชักชวนให้ปลูกโดยเริ่มจากการปลูกเองที่บ้าน โดยตั้งเป้าหมายไว้ว่า อยากให้มีชาวบ้านร่วมโครงการด้วย 50 ครัวเรือน และ น้อง 1 คน มีหน้าที่ไปชักชวนและดูแลชาวบ้านที่ร่วมโครงการ 5 ครัวเรือน

            ต้องยอมรับว่า โครงการฯนี้ ทำประโยชน์ได้หลายอย่างคือ น้อง ๆ ได้รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ไม่ติดกับอยู่กับการเล่นโทรศัพท์มือถือกหรือเล่นเกม แต่มีรายได้จากแปลงผักที่ปลูก เพราะหลังเก็บแล้วก็นำไปขายในตลาดสีเขียว มีรายได้เป็นของตัวเอง

            ส่วนการชักชวนชาวบ้านให้ปลูกผักปลอดสารกินเองที่บ้าน ก็จะช่วยลดปัญหาด้านสุขภาพของผู้ใหญ่หรือคนในชุมชนลงด้วย ซึ่งผู้ใหญ่ที่ว่านั่นอาจจะเป็นครอบครัว หรือ ญาติของน้อง ๆ ช่วยให้ไม่ต้องเสี่ยงต่อการเป็นโรคร้ายที่จะตามมาจากการทานอาหารที่มีสารเคมีเข้าไปทุกวัน จึงนับว่า มีประโยชน์ทั้งกับตัวน้อง ๆ เองและผู้ใหญ่ในชุมชน

หมายเลขบันทึก: 676850เขียนเมื่อ 11 เมษายน 2020 13:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 เมษายน 2020 17:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท