รายงานการวิจัยการพัฒนาแบบฝึกพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ ชั้นอนุบาลปีที่ 1


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบฝึกพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดบ้านอู่โลก ตำบลอู่โลก อำเภอลำดวน สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลอู่โลก ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) ศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดบ้านอู่โลก ตำบลอู่โลก อำเภอลำดวน สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลอู่โลก 3) เปรียบเทียบผลการพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดบ้านอู่โลก ตำบล อู่โลก อำเภอลำดวน สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลอู่โลก กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดบ้านอู่โลก ตำบลอู่โลก อำเภอลำดวน จังหวัดสุรินทร์ สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลอู่โลก ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 ในการเลือกกลุ่มเป้าหมาย ได้ทำการเลือกโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยผู้วิจัยได้ทำการศึกษาจากจำนวนประชากรทั้งหมด รวม 26 คน มาเป็นกลุ่มเป้าหมาย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ จำนวน 45 แผน จำแนกเป็นแผน การจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ จำนวน 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการสังเกต จำนวน 10 แผน 2) ด้านการจำแนก จำนวน 10 แผน 3) ด้านการเปรียบเทียบ จำนวน 15 แผน และ 4) ด้านการรับรู้ จำนวน 10 แผน แบบฝึกพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับแผนการจัดประสบการณ์ จำนวน 4 ชุด ได้แก่ ชุดที่ 1 ด้านการสังเกต ชุดที่ 2 ด้านการจำแนก ชุดที่ 3 ด้านการเปรียบเทียบ และชุดที่ 4 ด้านการรับรู้ และแบบทดสอบวัดความพร้อมทางคณิตศาสตร์เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบมีภาพประกอบทุกข้อ จำนวน 4 ฉบับ ประกอบด้วย ฉบับที่ 1 ด้านการสังเกต จำนวน 10 ข้อ ฉบับที่ 2 ด้านการจำแนก จำนวน 10 ข้อ ฉบับที่ 3 ด้านการเปรียบเทียบ จำนวน 15 ข้อ และฉบับที่ 4 ด้านการรับรู้ จำนวน 10 ข้อ รวมจำนวน 45 ข้อ โดยแบบทดสอบวัดความพร้อมได้ผ่านการหาคุณภาพแล้ว ดังนี้ ผลการหาค่าความยากง่าย อยู่ระหว่าง 0.37 – 0.53 ผลการหาค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.60 – 0.73 และผลการหาค่า ความเชื่อมั่นของแบบทดสอบแต่ละฉบับ คือ ฉบับที่ 1 – 4 เท่ากับ 0.86, 0.85, 0.81 และ 0.84 ตามลำดับ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติที (t – test) ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยพบว่า 1. แบบฝึกพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ ชั้นอนุบาลปีที่ 1 โดยภาพรวมมีประสิทธิภาพ 86.27/86.75 สูงกว่าเกณฑ์ประสิทธิภาพที่ตั้งไว้ 80/80 และเมื่อพิจารณาประสิทธิภาพเป็นรายด้านพบว่า แบบฝึกชุดที่ 1 ด้านการสังเกต มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 86.31/87.30 ชุดที่ 2 การจำแนก มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 86.62/88.10 ชุดที่ 3 การเปรียบเทียบ มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 86.36/86.13 และชุดที่ 4 ด้านการรับรู้ มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 85.77/85.802. ค่าดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียน ชั้นอนุบาลปีที่ 1 โดยภาพรวมเท่ากับ มีค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.7655 แสดงว่าผู้เรียนมี ความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 76.55 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ทั้ง 4 ด้าน พบว่า ดัชนีประสิทธิผล ของแบบฝึกเสริมพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ ด้านการสังเกต มีค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.7857 แสดงว่าผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 78.57 ด้านการจำแนก มีค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.7960 แสดงว่าผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 79.60 ด้านการเปรียบเทียบ มีค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.7300 แสดงว่าผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 73.00 และด้านการรับรู้ มีค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.7612 แสดงว่าผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 76.123. ผลการพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ก่อนและหลังจัดประสบการณ์โดยใช้แบบฝึกพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ พบว่า คะแนนทดสอบทดสอบหลังได้รับการจัดประสบการณ์เพิ่มขึ้นจากคะแนนทดสอบก่อนได้รับการจัดประสบการณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงให้เห็นว่าหลังได้รับการจัดประสบการณ์ โดยใช้แบบฝึกพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดบ้านอู่โลก ตำบลอู่โลก อำเภอลำดวน จังหวัดสุรินทร์ สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลอู่โลก นักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้เพิ่มขึ้น

หมายเลขบันทึก: 676824เขียนเมื่อ 10 เมษายน 2020 20:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 เมษายน 2020 20:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท