ปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวะนิยม (Existentialism)


ความเป็นมา

ปรัชญาอัตถิภาวะนิยม (Existentialism) ก่อตัวขึ้นที่ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมีกลุ่มคนที่มิใช่นักวิชาการอาชีพ หรือนักปรัชญาตามมหาวิทยาลัย มาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ตามร้านกาแฟในท้องถิ่น ปรัชญาอัตถิภาวะนิยมจึงเป็นสิ่งที่มนุษย์แสดงความรู้สึกนึกคิดออกมาในรูปแบบต่าง ๆไม่ว่าจะเป็น นวนิยาย (novel) บทละคร บทกวีนิพนธ์ ศิลปะและเทววิทยาเป็นแนวคิดปรัชญาร่วมสมัย แล้วค่อย ๆ ได้รับความสนใจจากคนทั่วๆ ไป

ความหมาย

อัตถิภาวนิยม มาจากภาษามคธ อัต = ความเป็นอยู่ + ภาวะ = สภาพความมีอยู่ (Existense) ซึ่งนักปรัชญาไทยแปลว่า ภาววาท หรืออัตตนิยม ซึ่งหมายถึง เรื่องที่กล่าว ความมีอยู่ของตนเอง ของมนุษย์ทั้งสิ้นอัตถิภาวนิยม มาจากภาษามคธ อัต = ความเป็นอยู่ + ภาวะ = สภาพความมีอยู่ (Existense) ซึ่งนักปรัชญาไทยแปลว่า ภาววาท หรืออัตตนิยม ซึ่งหมายถึง เรื่องที่กล่าว ความมีอยู่ของตนเอง ของมนุษย์ทั้งสิ้น และเมื่อเลือกกระทำหรือตัดสินใจแล้วก็ต้องรับผิดชอบในการเลือกกระทำหรือตัดสินใจนั้น ๆ ด้วย ดังนั้นจึงอาจจะกล่าวได้ว่า ปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวนิยมนี้ “เป็นแนวทางที่นำไปสู่การหลุดพ้นจากกรอบแห่งวัฒนธรรมของสังคม” 

แนวความคิดพื้นฐาน 
มีความสนใจและความเชื่อในเรื่องเกี่ยวกับการมีชีวิตอยู่จริงของมนุษย์ มนุษย์จะต้องเข้าใจและรู้จักตนเอง มนุษย์ทุกคนมีความสำคัญและมีลักษณะเด่นเฉพาะตนเอง ทุกคนมีเสรีภาพที่จะเลือกตัดสินใจในการกระทำสิ่งใดๆ  แต่จะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำนั้น 

จุดมุ่งหมายของการศึกษา

การศึกษาจะต้องทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจตนเอง ว่ามีความต้องการอย่างไร แล้วพัฒนาตนเองไปตามความต้องการอย่างอิสระ เพื่อจะได้พัฒนาความเป็นมนุษย์ของตนเองได้อย่างเต็มที่ด้วยการเลือกเรียนได้ตามความพอใจ และมีความรับผิดชอบในสิ่งที่เลือก 

องค์ประกอบของการศึกษา
1) หลักสูตร ไม่กำหนดตายตัว แต่ต้องเป็นหลักสูตรที่ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจตนเองได้ดีขึ้น เนื้อหาของหลักสูตรจะเน้นทางสาขามนุษยศาสตร์ (Humanities)
2)ครู มีบทบาทคล้ายกับปรัชญาพิพัฒนาการนิยม ทำหน้าที่คอยกระตุ้นหรือเร้าให้ผู้เรียนตื่นตัว ให้เข้าใจตนเอง สามารถใช้ความถนัดและความสามารถเฉพาะตัวออกมาให้เป็นประโยชน์ให้มากที่สุด ครูจะให้ความสำคัญแก่ผู้เรียนมาก
3)ผู้เรียน ถือว่าผู้เรียนเป็นผู้ที่สำคัญที่สุดในกระบวนการศึกษาและเชื่อว่าผู้เรียนเป็นผู้ที่มีความคิด มีความสามารถในตนเองมีเสรีภาพอย่างแท้จริง เป็นผู้ทีเลือกแนวทางที่จะพัฒนาตนเองด้วยตนเอง
4)โรงเรียน ต้องสร้างบรรยากาศแห่งเสรีภาพทั้งในและนอกห้องเรียนและจัดสิ่งแวดล้อมให้ผู้เรียนเกิดความพอใจที่จะเรียน สร้างคนให้เป็นตัวของตนเอง
5) กระบวนการเรียนการสอน เน้นการกระตุ้นให้ผู้เรียนเป็นตัวของตัวเองมากที่สุด ให้ผู้เรียนพบความเป็นจริงด้วยตัวเอง เปิดโอกาสให้ผู้เรียนเลือกเรียนด้วยตนเองของเขาเอง การเรียนจะต้องเรียนรู้จากสิ่งภายในก่อน



ข้อดี

1. บุคคลแต่ละคนต้องการมีหลักการของตนเอง เมื่ออยู่ในกลุ่มชนมีความเป็นตัว ของตัวเอง มีเหตุผลและหลักการที่จะไม่ยอมถูกชักจูงอย่างง่าย ๆ กล้าที่จะออกความคิดเห็นสนับสนุนหรือคัดค้านในสิ่งที่ตนไม่เห็นด้วยอย่างมีหลักการและด้วยวิธีการที่เหมาะสม
2. บุคคลแต่ละคนมีภาวะที่จะต้องดำรงอยู่ ต่อสู้ชีวิต และมีความรับผิดชอบ เป็นหลักการที่ให้คุณประโยชน์แก่ชีวิต
3. ค่านิยมที่ให้คุณค่าแก่บุคลิกภาพ ความเป็นตัวของตัวเอง ดำเนินชีวิตตามแบบที่ตนพอใจและเลือกเป็นในสิ่งที่ตนสามารถจะเป็นได้ 
4. ในสมัยปัจจุบันซึ่งเป็นระยะเวลาของความพยายามที่จะเข้าใจในลักษณะส่วนรวมทุกด้าน หลักการใด ๆ ที่มุ่งพัฒนาบุคคลในด้านอารมณ์ ความคิดสร้างสรรค์และสภาพการดำรงอยู่ของชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพถือเป็นสิ่งสำคัญ ปรัชญาอัตถิภาวนิยมเน้นทางด้านจิตใจของบุคคลด้วย ซึ่งเป็นส่วนสำคัญประการหนึ่งของกระบวนการศึกษา
5. ปรัชญาอัตถิภาวนิยมมุ่งทบทวนและพิจารณาแนวความคิดโครงสร้าง ตลอดจนวิธีการต่าง ๆ ทางการศึกษาที่นิยมใช้กันอยู่ โดยถือหลักว่า อารมณ์และความรู้สึกของบุคคลแต่ละคนเป็นสิ่งที่ช่วยให้เข้าใจธรรมชาติและจุดมุ่งหมายของมนุษย์ได้
ข้อเสีย

ในสภาพที่สังคมรักเสรีภาพและความเป็นอิสระส่วนตัวของบุคคลเหนือสิ่งอื่น ทำให้สภาพสังคมเงียบเหงา ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและระหว่างกลุ่มลดน้อยลง การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การร่วมมือกันทางความคิดเป็นไปได้ยาก 
อ้างอิง
https://sites.google.com/site/klanarongpongdee/home/hna-raek/thasna-khxng-phla-to-khunthrrm-khxng-mnusy-mi-4-prakar/phlsuksa-tam-naew-prachya-citniym/prachya-phlsuksa-tam-naew-prachya-kar-suksa-sac-cni-ym-realism/naewthang-keiyw-kab-kar-cadkar-suksa/cxrd-khnel-lex-r-klaw-thung-khxdi-khx-seiy-khxng-prachya-xat-thi-phaw-niym-wi-dangni
https://www.baanjomyut.com/library_2/educational_philosoph/03.html

หมายเลขบันทึก: 676807เขียนเมื่อ 9 เมษายน 2020 21:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 เมษายน 2020 20:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท