นายฮูโต๋
สิทธิชัย สิทธิชัย สุขสมกลิ่น

การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน ที่มีผลต่อการคิดอย่างมี วิจารณญาณ และคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนระดับประถมศึกษา.


บทคัดย่อ

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบการคิดอย่างมีวิจารณญาณและคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ที่เรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ก่อนและหลังการจัดเรียนรู้แบบใช้ปัญหาฐาน 2) เพื่อเปรียบเทียบการคิดอย่างมีวิจารณญาณและคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ที่เรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม หลังการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน กับ การจัดการเรียนรู้ตามคู่มือครูของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560  โรงเรียนนครหลวง
(พิบูลประเสริฐวิทย์) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จากโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 จากระดับอำเภอ ได้อำเภอนครหลวง และสุ่มโรงเรียน ได้โรงเรียนนครหลวง (พิบูลประเสริฐวิทย์)  จำนวน  2 ห้องเรียนห้องเรียนละ 30 คน ซึ่งเป็นห้องเรียนที่จัดตามสภาพจริง จากนั้นจับฉลากเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมได้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1  เป็นกลุ่มทดลอง โดยจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/2   เป็นกลุ่มควบคุม
โดยจัดการเรียนรู้ตามคู่มือครูของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ระยะเวลาในการทดลองกลุ่มละ
20 ชั่วโมง   เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  คือ แผนการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน  แผนการจัดการเรียนรู้ตามคู่มือครูของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน แบบวัดการคิดอย่างมีจารณญาณมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .89   และแบบประเมินคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .85 ใช้แผนแบบการวิจัยกึ่งทดลองสองกลุ่มสอบก่อนและหลังการทดลอง  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์ความแปรปรวนหลายตัวแปร

                  ผลการวิจัยพบว่า 1) การคิดอย่างมีวิจารณญาณและคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ที่จัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน  หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  2)การคิดอย่างมีวิจารณญาณและคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้ หลังการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน ของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษา สูงกว่าหลังการจัดการเรียนรู้ตามคู่มือครูของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05

หมายเลขบันทึก: 676483เขียนเมื่อ 31 มีนาคม 2020 21:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 มีนาคม 2020 21:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท