สื่อทางกิจกรรมบำบัดเพิ่มทักษะการรู้คิด การคิดบวก อารมณ์ดี และการสื่อสารสังคมในผู้รับบริการโรคภาวะวิตกกังวล(GAD)


ขอขอบพระคุณอาจารย์ป๊อป หรืออาจารย์ศุภลักษณ์  เข็มทอง ที่ได้ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับโรคทางจิตเวช และจัดการเรียนการสอนในรูปแบบที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ร่วมกันระดมความคิดในการนำสื่อทางกิจกรรมบำบัดไปใช้กับผู้รับบริการที่มีปัญหาด้านจิตใจ อารมณ์ สังคมและพฤติกรรม

Generalized  anxiety disorder  ภาวะวิตกกังวลทั่วไป เป็นภาวะทางจิตใจที่ส่งผลกระทบเป็นเวลานาน ผู้ป่วยจะมีความเครียดหรือกังวลมากไปในหลายๆเรื่อง บางครั้งอาจไม่สามารถระบุสาเหตุของความกังวลได้ ส่งผลให้นอนไม่หลับ  ไม่มีสมาธิ  และอาจกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้

ซึ่งอาการสำคัญที่สังเกตได้ของโรคนี้  มีดังนี้

โม - โมโห หงุดหงิด ฉุนเฉียวง่าย

ร้อน - ร้อนใจ กระวนกระวายใจ

ไม่ - ไม่มีสมาธิ ขาดการจดจ่อกับสิ่งที่ทำ

กล้า - กล้ามเนื้อตึง ปวดเมื่อย

นอน - นอนไม่หลับ ไม่เพียงพอ มีปัญหาในการนอน

ล้า – เหนื่อยล้า อ่อนล้าง่าย

  ซึ่ง GAD หรือ Generalized anxiety disorder  มีหลักการในการรักษาว่า ความวิตกกังกลที่เกินกว่าเหตุ  มีผลมาจากการที่ผู้รับบริการประเมินความรุนแรงต่อสถานการณ์ไม่ตรงกับความเป็นจริง  ผู้บำบัดมีหน้าที่ช่วยค้นหาและปรับเปลี่ยนความคิดเชิงลบของผู้รับบริการ โดยหลักการที่สมาชิกกลุ่มได้เลือกมา คือ CBT (Cognitive behavioral therapy)

การบำบัดด้วย CBT เชื่อว่าความคิดที่บิดเบือนไปจากความเป็นจริงหรือ dysfunctional thinking

ทำให้เกิดผลกระทบต่ออารมณ์ของมนุษย์ ดังนั้น แนวทางในการบำบัด คือ ถ้าสามารถประเมิน (evaluate) ความคิดให้ถูกต้องตามความเป็นจริงหรืออยู่ในโลกของความเป็นจริงได้ (realistic) โดยขั้น ตอนคือการทำให้ผู้ป่วยเข้าใจก่อนว่าความคิดนั้น มีความ dysfunctional อย่างไร  แล้วให้ประเมินและแก้ไขให้ดีขึ้น เป็นจิตบำบัดชนิดหนึ่งที่มีเป้าหมายเพื่อจัดการอารมณ์ทางลบของมนุษย์ ด้วยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม ฝึกฝนทักษะในการจัดการกับปัญหาของตนเองให้ดีขึ้น

  โดยเริ่มแรกสื่อทางกิจกรรมบำบัดที่สามารถส่งเสริมทักษะการรู้คิด ความคิดบวก อารมณ์ดี และการสื่อสารทางสังคม สำหรับผู้ที่มีภาวะวิตกกังวลทั่วไป ที่ทางสมาชิกเลือกมา คือ

  การทำกิจกรรม Group therapy โดยกิจกรรมที่ทำคือ การวาดภาพอิสระด้วยสีน้ำ โดยให้ผู้รับบริการวาดภาพด้วยสีน้ำตามจิตการหรือความต้องการของตนเอง ไม่มีโจทย์บังคับสามารถวาดได้ตามอิสระ เพื่อให้รู้สึกผ่อนคลาย เนื่องจากการวาดภาพสีน้ำ เป็นการนำศิลปะมาใช้ในการบำบัด ให้ผู้รับบริการได้ถ่ายทอดอารมณ์ ความคิด ที่อยู่ภายในใจออกมาผ่านภาพวาด โดยที่เลือกทำเป็นกลุ่มเนื่องจาก หากอยู่คนเดียวอาจสร้างความกังวลใจให้กับผู้รับบริการจึงเลือกทำเป็นกลุ่มเพื่อให้ผู้รับบริการได้คลายความกังวล และความกดดันลง 

เหตุผลที่ใช้สีน้ำ คือ สีน้ำ นั้นมีหลากหลายสีให้เลือก สามารถนำมาสร้างสรรค์ผลงานได้หลากหลาย แต่สีน้ำนั้นก็มีความยากในการควบคุมพู่กันให้ได้ภาพออกมาตามที่ต้องการ ซึ่งในผู้รับบริการที่มีความกังวลอาจไม่กล้าลงมือทำเนื่องจากกลัวว่าตนจะทำผิดพลาด นักกิจกรรมบำบัดจึงเป็นส่วนสำคัญที่จะต้องคอยเสริมแรงให้ผู้ป่วยมีความกล้าลงมือทำ  ส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาเฉพาะหน้าจากสิ่งที่ไม่สามารถควบคุมได้ เพื่อเพิ่มทักษะในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและควบคุมความคิดและพฤติกรรมของตนเอง

หลังจากทำกิจกรรมบำบัดด้วยศิลปะไปแล้ว ก็ใช้การบำบัดด้วย CBT เพราะการใช้ศิลปะบำบัดนั้นเบี่ยงเบนความสนใจและความคิดวิตกกังวลได้เพียงชั่วคราวเท่านั้น  สิ่งสำคัญสำหรับผู้ที่มีภาวะวิตกกังวลคือความคิดที่มากเกินไปกว่าความเป็นจริง ดังนั้นจึงต้องปรับที่ความคิดและพฤติกรรม ที่ส่งผลต่ออารมณ์วิตกกังวล โดยใช้วิธีพูดคุยกับผู้รับบริการ

อันดับแรก คือ การบอกอารมณ์ตนเอง (Identifying Moods) การที่บุคคลสามารถบอกถึงอารมณ์ตนเองได้นั้นจะทำให้เกิดการระลึกรู้ (awareness) และ สามารถตั้ง เป้าหมายได้ว่าจะจัดการกับอารมณ์อย่างไร เพราะอารมณ์นั้นเป็นผลมาจากความคิดที่เกิดขึ้นหลังจากต้องเผชิญกับเหตุการณ์ หากความคิดมีส่วนที่บกพร่องไปก็จะทำให้อารมณ์และพฤติกรรมที่แสดงออกมานั้นผิดไป หลังจากรับรู้อารมณ์ของตนเองแล้ว  ให้ผู้รับบริการประเมินระดับอารมณ์ของตนเอง เพื่อที่จะได้หาทางจัดการกับอารมณ์นั้นได้อย่างถูกวิธี เนื่องจากอารมณ์แต่ละอย่างนั้นจะมีระดับที่แตกต่างกันไป แล้วแต่สถานการณ์

ต่อมาหลังจากที่รับรู้อารมณ์แล้วนั้น ให้นักกิจกรรมบำบัดพูดคุยเกี่ยวกับความคิดของผู้รับบริการ ทั้งความคิดที่เป็นอัตโนมัติและความคิดที่เกิดหลังจากได้ไตร่ตรองแล้ว เพื่อหาชุดความคิดที่บิดเบือนไปของผู้รับบริการ โดยคำถาม เช่น ตอนที่เกิดเหตุการณ์นั้นขึ้นคุณจำได้ไหมว่าคิดอะไรขึ้นมา?  หรือตอนที่เกิดเหตุการณ์นั้นขึ้นคุณนึกเห็นภาพอะไร? เป็นต้น

เมื่อทำการสังเกตความคิดแล้วให้นำมาประเมินความคิด เพื่อบอกให้ผู้รับบริการรับรู้ว่าไม่ควรเชื่อความคิดของตัวเองทั้งหมด เนื่องจากความคิดเป็นเพียงสมมติฐานเท่านั้น ไม่ใช่ความจริง ผู้ป่วยควรประเมินความคิดของตนเองบนหลักของความเป็นจริงและความถูกต้อง

สุดท้ายพูดคุยเพื่อทำการปรับความคิด โดยใช้หลักการของความเป็นจริงและประโยชน์ โดยเทคนิคการปรับความคิด เช่น

  • การหันเหความสนใจ การฝึกหันเหความสนใจหรือการพยายามนึกถึงเหตุการณ์ที่เกิดความสุข

อาจช่วยให้สามารถหยุดความคิดทางลบของรับบริการได้

  • การพิจารณาข้อดีข้อเสียของการที่จะคงความคิดทางลบนั้นไว้และให้ผู้รับบริการทดลองทำตาม
  • ความคิดใหม่ชี้ให้ผู้รับบริการเห็นว่าปัญหาไม่ใช่เกิดจากตัวเอง และให้พยายามคิดแบบเป็นกลาง ไม่สุดขั้วเกินไปด้านใดด้านหนึ่ง

สุดท้ายนี้การใช้หลักการ cbt นั้นก็มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับความคิดของผู้รับบริการให้อยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง ก่อนที่จะเกิดอารมณ์วิตกกังวล และส่งผลไปถึงพฤติกรรมที่กระทบกับการดำเนินชีวิต 

เอกสารอ้างอิง

  1. POBPAD [อินเทอร์เน็ต].  Sanfrancisco :  ไม่ปรากฏสำนักพิมพ์ ;  ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์ [เข้าถึงเมื่อ 22 มีนาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก : https://www.pobpad.com/gad-ภาวะวิตกกังวลทั่วไป
  2. Thaidepression [อินเทอร์เน็ต]. ไม่ปรากฏเมืองที่พิมพ์ :  ไม่ปรากฏสำนักพิมพ์ ;  ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์ [เข้าถึงเมื่อ 22 มีนาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก : www.thaidepression.com/www/56/...
  3. ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. ศิลปะบำบัด ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด. [online] 2550 ;  เข้าถึงได้จาก : https://www.happyhomeclinic.co...

สมาชิกกลุ่ม

  1. นางสาวปุรณี  เลขนะมงคล  6123004
  2. นางสาวอริสรา  บินดุส๊ะ      6123013
  3. นางสาวอมรรัตน์  จำรูญ      6123036  
คำสำคัญ (Tags): #ptot11
หมายเลขบันทึก: 676254เขียนเมื่อ 22 มีนาคม 2020 20:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มีนาคม 2020 22:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท