ว่าด้วยมูลเหตุแห่ง “ความดุร้าย”ของชาวเซนติเนล ชนยุคหินเเห่งหมู่เกาะอันดามันผู้มีท่าทีปฏิเสธโลกภายนอก (1)


       หนึ่งในเหตุการณ์สะเทือนขวัญแห่งปี 2018 คือ การสังเวยชีวิตของ John Allen Chau มิชชันนารีชาวอเมริกันวัย 26 ปี บนชายฝั่งของเกาะเซนติเนลเหนือ ทางตอนใต้ของหมู่เกาะอันดามัน ด้วยน้ำมือของชาวเซนติเนล (Sentinelese) ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองสมัยยุคหินที่โดดเดี่ยวตนเองจากโลกภายนอกกว่า 30,000 ปี (บางแหล่ง ระบุว่ามากกว่า 60,000 ปี) อย่างไรก็ตาม Vishvajit Pandya นักมานุษยวิทยาที่ศึกษาเกี่ยวกับชนพื้นเมืองในอันดามันแสดงความคิดเห็นว่า พวกเขาน่าจะมาจากการย้ายถิ่นฐานแบบตั้งใจ หรือไม่ก็ถูกผลักดันมาจากเกาะลิตเติลอันดามัน ( Little Andaman) แหล่งข้อมูลระบุว่าชนพื้นเมืองมีประชากรประมาณ 50 ถึง 250 คน ดำรงชีพด้วยการล่าหมูป่า บริโภคอาหารอย่างหอยลาย ผลไม้ และน้ำผึ้ง การแต่งกายของชนพื้นเมืองบนเกาะส่วนใหญ่แล้วจะเปลือยกาย มีแค่บางรายที่ใช้ใบไม้ทำเป็นเครื่องนุ่งห่ม หรือมีเครื่องประดับบ้าง และอาศัยอยู่ในกระท่อมขนาดเล็ก เป็นสังคมแบบครอบครัวขนาดย่อม

       เป็นที่ทราบกันดีว่า ชาวเซนติเนลมีท่าทีก้าวร้าวและหวาดกลัวผู้มาเยือน มักจะตอบโต้ด้วยการใช้ธนูหรือหอก เช่น การระดมยิงธนูใส่คณะทำสารคดีจาก National Geographic (1974) การสังหารชาวประมงอินเดียสองรายที่แล่นเรือเกยตื้นบนเกาะ (2006) และการสังหารมิชชันนารีชาวอเมริกัน (2018) อย่างไรก็ตาม พวกเขามิได้ปฏิเสธผู้มาเยือนจากโลกภายนอกอย่างสิ้นเชิง อาทิ การต้อนรับด้วยท่าทีเป็นมิตรต่อคณะผู้มาเยือนของ Triloknath Pandit นักมานุษยวิทยาชาวอินเดีย (1991) ซึ่งพยายามติดต่อกับชนพื้นเมืองตั้งแต่ปี 1967 Pandit เล่าว่า แม้แต่พวกเขาเองก็ไม่รู้เหตุผลว่าทำไมชาวเซนติเนลถึงอนุญาตให้เข้าไปหาพวกเขาได้ในพื้นที่ที่กำหนดไว้ (นอกชายหาด) ซึ่งกลุ่มนักมานุษยวิทยาเล่าว่า ต้องยืนในจุดน้ำลึกเกือบถึงคอก่อนที่จะส่งมอบมะพร้าวและของกำนัลอย่างอื่น แต่พวกเขาไม่ได้รับอนุญาตให้ขึ้นฝั่ง อย่างไรก็ตาม กรณีของ Pandit เป็นเพียงไม่กี่ครั้งที่ชาวพื้นเมืองจะต้อนรับขับสู้ นอกเหนือจากนั้น ผู้มาเยือนจะต้องรับการจู่โจมอย่างดุร้ายด้วยลูกศรและธนู

       อะไรคือมูลเหตุแห่งความดุร้ายของชาวเซนติเนล ?

อ้างอิง:

https://www.silpa-mag.com/history/article_23335

https://www.silpa-mag.com/culture/article_23514

https://www.theguardian.com/…/american-killed-isolated-indi…

http://iosrjournals.org/…/vol9-iss…/Version-2/G091124553.pdf

หมายเลขบันทึก: 675731เขียนเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2020 20:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2020 20:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท