Pacemaker เข้าห้องตรวจ MRI ได้ แต่...ทำตรวจไม่ได้


พร้อม แต่...ทำไม่ได้ หลายสิ่งในชีวิต เมื่อมีโอกาส แต่... ทำไม่ได้ ชีวิต ไม่แน่นอน

วันนี้ ขอนำเสนอ

กรณีศึกษา ภาพจากการตรวจ MRI

ผู้ป่วยได้ฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจ อยู่ในร่างกาย

มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน


เครื่องกระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้า (Implantable Cardioverter Defibrillator: ICD) หรือ อาจเรียก Pacemaker

เครื่องกระตุ้นหัวใจ เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใส่เข้าไปบริเวณผนังหน้าอกด้านซ้าย ใต้ผิวหนังของผู้ป่วย เพื่อกระตุ้นจังหวะการเต้นของหัวใจ


ตัวเครื่องจะมีขนาดเล็ก ทำงานด้วยระบบแบตเตอรี่ มีสายหุ้มฉนวนไฟฟ้าเชื่อมต่อไปยังเส้นเลือดที่เข้าสู่หัวใจ เพื่อช่วยควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจให้เป็นปกติ
ป้องกันและลดความเสี่ยงไม่ให้ผู้ป่วยเสียชีวิตจากการเต้นผิดปกติของหัวใจ

เครื่องที่ฝังเป็น รุ่นพิเศษ ชนิดที่สามารถเข้าห้องตรวจ MRI ได้ อย่างปลอดภัย


เครื่องกระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้า มีหลายขนาด มีหลายราคา มีประสิทธิภาพที่แตกต่างกัน ขึ้นกับวัตถุประสงค์การใช้งาน

ในการติดตั้งหรือฝังเครื่องนี้ ในร่างกาย อาจมีการจัดวางในตำแหน่งที่แตกต่างกันได้

รุ่นนี้ มีขนาดใหญ่ วางตำแหน่งใกล้หัวใจ

ภาพต้นฉบับจาก https://fineartamerica.com/fea...



รุ่นนี้ มีขนาดเล็ก วางตำแหน่งไกลจากหัวใจ

ภาพต้นฉบับจาก https://radiopaedia.org/cases/...


สำหรับที่จะนำเสนอวันนี้

ผู้ป่วยฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจ ชนิด สามารถเข้าห้องตรวจ MRI ได้อย่างปลอดภัย

ผู้ป่วย มีร่างกายที่ผอม

สามารถมองเห็นเครื่องกระตุ้นหัวใจที่อยู่ใต้ผิวหนัง (ในวงกลมสีแดง)


ก่อนเข้าตรวจ

ผู้ป่วยแสดงบัตร รับรองว่า... ใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจ ชนิด ที่เข้าห้องตรวจ MRI ได้อย่างปลอดภัย

บริเวณ มุมล่างของบัตร เห็น MR ในกรอบสามเหลี่ยมสีเหลือง

หมายถึง ผู้ป่วย สามารถเข้าห้องตรวจ MRI ได้ ภายใต้เงื่อนไข หรือ การควรคุมตามข้อจำกัด


ก่อนเข้าห้องตรวจ

เจ้าหน้าที่จะบริษัทผู้ขายเครื่องกระตุ้นหัวใจ จะต้องทำการประเมินและปรับค่ากระแสไฟฟ้ของเครื่องกระตุ้นหัวใจ ให้เหมาะสม ก่อนการเข้าห้องตรวจ MRI ตามขั้นตอนที่ทางบริษัท กำหนด


วันนี้ ผู้ป่วยมาขอรับการตรวจ MRI บริเวณหัวใจ

เมื่อเข้าตรวจ

เจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมเครื่องตรวจ MRI

จะสร้างภาพบริเวณที่ทำการตรวจ โดยจะสร้างภาพร่างกายในระนาบต่างๆ เพื่อใช้ในการวางแผนการตรวจ


ซึ่งสิ่งที่พบเห็น คือ ภาพมีสัญญาณรบกวน (artifact image) ที่เกิดจากเครื่องกระตุ้นหัวใจ (ไม่มีสัญญาณ เกิดเงาสีดำ)  สัญญาณรบกวน เป็นเส้นโค้ง คล้ายลูกคลื่น (ลูกศรสีเหลือง) มาบังบางส่วนของอวัยวะในภาพ


และเมื่อทำการตรวจ ด้วยเทคนิคต่างๆ

พบว่า ... เกิดสัญญาณรบกวนจำนวนมาก มาบังในภาพ โดยเฉพาะบริเวณบางส่วนของหัวใจ ที่ต้องการตรวจ

เมื่อดูจากภาพเอกซเรย์ ทรวงอกของผู้ป่วย รายนี้

จะเห็นขนาด และ ตำแหน่งที่วางเครื่องกระตุ้นหัวใจ ว่า...


มีขนาดใหญ่เพียงใด ประมาณ 6x6 เซนติเมตร

อยู่ใกล้หัวใจเพียงใด ประมาณ 4 เซนติเมตร



สรุปว่า... ผู้ป่วยรายนี้

สามารถเข้า ต้องตรวจ MRI ได้ เนื่องจากฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจ ชนิดปลอดภัยจากสนามแม่เหล็กเหนี่ยวนำ


แต่... ทำการตรวจ MRI หัวใจ ไม่ได้

สาเหตุ เนื่องจาก ขนาดของเครื่องกระตุ้นหัวใจ มีขนาดใหญ่ และตำแหน่งที่วางฝังในร่างกาย อยู่ใกล้หัวใจ

เมื่อเครื่อง MRI ส่งคลื่นวิทยุ เข้าไปในร่างกายผู้ป่วย ทำให้เกิดสัญญาณ

แต่...เกิดสัญญาณรบกวน บางส่วนมาบังในภาพบริเวณที่ต้องการดู ทำให้ภาพที่ได้ ไม่ชัดเจน ไม่สามารถมองเห็นหัวใจได้

พร้อม แต่...ทำไม่ได้

หลายสิ่งในชีวิต

เมื่อมีโอกาส

แต่... ทำไม่ได้

ชีวิต ไม่แน่นอน




หมายเลขบันทึก: 675661เขียนเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2020 13:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2020 13:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท