การให้เหตุผลทางคลินิกกิจกรรมบำบัด x Case study


Occupation profile

ชื่อ-สกุล : คุณธีร์ (นามสมมติ) อายุ : 47 เพศ : ชาย

ศาสนา : พุทธ อาชีพเดิม : ประกอบธุรกิจส่วนตัวของครอบครัว

การวินิจฉัยโรค(Dx) : stroke (right hemiparalysis)

ประวัติการเข้ารักษา : เริ่มรักษาตัวตั้งเเต่ มีนาคม 2560 โดยรักษาที่โรงพยาบาลตำรวจ โรงพยาบาลกลางและโรงพยาบาลศิริราชตามลำดับ ปัจจุบันฝึกกายภาพบำบัดอาทิตย์ละ 3 วัน และกิจกรรมบำบัดอาทิตย์ละ 2 วัน

ประวัติครอบครัว : ครอบครัวอาศัยอยู่ด้วยกัน7คน มีพี่น้อง 4 คน, มารดา, พี่สะใภ้ และหลานชาย

คนดูแลหลัก : แม่บ้าน (จ้าง)

Contexts

Personal

เพศชาย อายุ 47 ปี สถานะทางเศรษฐกิจค่อนข้างดี

Cultural

เป็นคนไทย เชื้อสายจีน

Temporal

ฝึกกายภาพบำบัดอาทิตย์ละ 3 วัน 

และกิจกรรมบำบัดอาทิตย์ละ 2 วัน

Virtual

ผู้รับบริการมีการสื่อสารกับเพื่อนๆผ่าน social online โดยใช้โทรศัพท์มือถือ

Environment

Physical

บ้านเดี่ยว 2 ชั้น โดยผู้รับบริการอาศัยอยู่ที่ชั้น1 

Social

อาศัยอยู่กับแม่ พี่ชาย พี่สาว และหลาน

ตารางกิจวัตรประจำวัน

ช่วงเวลา

กิจกรรม

05.00 น.

ตื่นนอน

07.00 น.

อาบน้ำ

08.00 น.

รับประทานอาหารเช้า

09.00 -12.00 น.

ดูโทรทัศน์/เล่นโทรศัพท์/นอนพักผ่อน

12.00 น.

รับประทานอาหารเที่ยง

13.00 - 15.00 น.

ดูโทรทัศน์/เล่นโทรศัพท์

15.00 - 16.00 น.

รับประทานอาหารว่าง

20.00 น.

นอน

ความต้องการของผู้รับบริการ 

  1. ผู้รับบริการต้องการเข็นwheelchair เลือกซื้อของในห้างสรรพสินค้า

ความต้องการของญาติ

  1. ต้องการให้ผู้รับบริการมีความกระตือรือร้นและสามารถช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจำวันได้มากที่สุด

ปัจจัยเอื้อของกรณีศึกษานี้

  • มีสถานะทางเศรษฐกิจที่ดี ส่งผลให้ได้รับการรักษาที่หลากหลายและมีความต่อเนื่อง
  • ทางครอบครัวมีความเข้าใจเกี่ยวกับตัวโรค สามารถยอมรับในตัวของผู้รับบริการได้ รวมถึงยินดีให้การสนับสนุนผู้รับบริการอย่างเต็มที่
  • มีอุปกรณ์ช่วย เช่น ไม้เท้า วีลแชร์ รวมถึงมีราวจับภายในห้องน้ำ

ปัจจัยขัดขวางของกรณีศึกษานี้

  • บริเวณอื่นๆภายในบ้านไม่มีราวจับเพื่อสร้างความมั่นคงให้แก่ผู้รับบริการ
  • ผู้รับบริการขาดแรงจูงใจและความกระตือรือร้นในการฝึก ทำให้การฝึก home program ขาดความต่อเนื่อง
  • ผู้ดูแลให้ความช่วยเหลือแก่ผู้รับบริการมากเกินไป

Diagnostic Clinical Reasoning

  • การวินิจฉัยทางการแพทย์ ; จากการสัมภาษณ์ญาติพบว่าผู้รับบริการได้รับการวินิจฉัยเป็น stroke(right hemiparalysis) เมื่อเดือนมีนาคม ปี2560 เนื่องจากมีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงจึงไปพบแพทย์ ส่งผลให้ร่างกายมีอาการอ่อนแรงทางซีกขวา
  • การวินิจฉัยทางกิจกรรมบำบัด ; สันนิษฐานว่ามีอาการ motor aphasia ร่วมด้วยเนื่องจากมีพยาธิสภาพในสมองซีกเด่น ส่งผลให้ผู้รับบริการใช้เวลานานในการนึกคำพูดที่ต้องการ สื่อสารได้ไม่ตรงกับความต้องการในบางครั้ง

    • Occupational Imbalance ; ผู้รับบริการสามารถทำความสะอาดในด้านที่อ่อนแรงได้อย่างทั่วถึง รวมทั้งไม่สามารถเตรียมอุปกรณ์ในการแปรงฟัน สวมใส่เสื้อ,กางเกงให้เรียบร้อยด้วยตนเองได้ต้องมีผู้ดูแลคอยช่วย 
    • Occupational Deprivation ; ผู้รับบริการได้รับความช่วยเหลือและการสนับสนุนจากผู้ดูแลมากจนเกินไป ทำให้ขาดโอกาสในการทดลองทำหรือมีส่วนร่วมในการทำกิจวัตรด้วยตนเอง

Procedural Reasoning

จากที่ได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับรอยโรคและพยาธิสภาพของผู้รับบริการแล้ว จึงได้ทำการประเมินเพิ่มเติมในส่วนของ ความสามารถของผู้รับบริการในการทำ ADLs รวมถึงองค์ประกอบอื่นๆที่มีความเกี่ยวข้อง ผ่านทางการสัมภาษณ์และขอให้ผู้รับบริการสาธิตลงมือทำให้ดู ซึ่งพบปัญหาทางกิจกรรมบำบัดดังนี้

  1. การทำ ADLs

Activity of daily living

Bathing/showering

Moderate assistant
ผู้รับบริการสามารถอาบน้ำได้ด้วยตัวเอง แต่ต้องได้รับการช่วยเหลือจากผู้ดูแลในเรื่องของการถือฝักบัว และการทำความสะอาดในด้านที่อ่อนแรง

Dressing

เสื้อ :

- การสวมใส่ ผู้รับบริการสามารถสวมใส่เสื้อได้ด้วยตัวเองโดยได้รับการช่วยเหลือในระดับ Moderate assistance จากผู้ดูแลในขั้นตอนการสวมใส่เสื้อผ้า ในด้านที่อ่อนแรง

กางเกง :

- การสวมใส่

ผู้รับบริการสามารถสวมกางเกงได้เอง แต่ต้องได้รับการช่วยเหลือจากผู้ดูแลในระดับ Maximal assistance

Functional mobility

Supervision 

ผู้รับบริการไม่สามารถเดินและเดินขึ้นบันไดด้วยตัวเองได้อย่างมั่นคง ต้องได้รับการช่วยเหลือและดูแลความปลอดภัยในระหว่างการเดิน รวมถึงไม่สามารถก้าวลงจากเตียงได้อย่างมั่นคงปลอดภัยเนื่องจากความสูงของเตียง

dependence

เมื่อออกไปข้างนอก ผู้ดูแลเป็นคนเข็น wheelchair ให้ผู้รับบริการ 

Personal hygiene and Grooming

Minimal assistance

ผู้รับบริการสามารถแปรงฟันและบ้วนปากได้ด้วยตนเอง แต่มีคนเตรียมอุปกรณ์และช่วยดูแลเรื่องความสะอาดเรียบร้อยให้

     2. Neuromusculoskeletal and movement-related function

Joint stability

ไหล่ข้างขวาของผู้รับบริการตก ขณะเดินเท้าข้างขวามีfoot drop

Muscle power

ผู้รับบริการมีกำลังกล้ามเนื้อของข้างขวาอยู่ใน stage 2  ของ Brunnstorm สามารถยกไหล่ได้ แต่ยังอ่อนแรงในการใช้แขนและมือ

Muscle tone

ผู้รับบริการมี tone กล้ามเนื้อขาที่เพิ่มขึ้นจนเกิด spastic pattern เมื่อทำกิจกรรมเป็นเวลานาน

Muscle endurance

ผู้รับบริการมีความทนทานในการทำกิจกรรมได้นาน 10-20 นาที ขึ้นอยู่กับกิจกรรม

     3. Balance 

  • Sitting 
    • Static sitting balance ; Normal
    • Dynamic sitting balance ; Normal
  • Standing 
    • Static standing balance ; Good
    • Dynamic standing balance ; Good

การวางแผนการให้การบำบัด

จากการรวบรวมข้อมูลที่ได้มา พบว่าผู้รับบริการมีปัญหาในเรื่องการทำ ADLs บางอย่างและเรื่องความปลอดภัยในการเคลื่อนตัวจากเตียงลงมายืนที่พื้น โดยนักศึกษาได้เลือกกิจกรรมที่จะสามารถให้การบำบัดรักษาและแก้ไขได้ในครั้งต่อไปที่จะมาลงเยี่ยมบ้านผู้รับบริการ ได้แก่

  • การแปรงฟัน ; ลดความช่วยเหลือของผู้ดูแลในการจัดเตรียมอุปกรณ์การแปรงฟัน โดยให้ผู้รับบริการทำด้วยตนเอง อาศัยหลักการ compensate ใช้มือข้างดีข้างเดียวในการหยิบเตรียมอุปกรณ์ รวมถึงปรับอุปกรณ์ คือ ยาสีฟัน ให้เป็นหลอดแบบฝาเปิด-ปิด แทนฝาเกลียว
  • การสวมเสื้อผ้า ; สอนวิธีการทีู่กต้องให้แก่ผู้รับบริการ คือ การเริ่มสวมจากด้านดีก่อน แนะนำให้ผู้ดูแลลดการให้ความช่วยเหลือ ให้เวลาในการทำกิจกรรมแก่ผู้รับบริการ อาจช่วยตรวจสอบในเรื่องความเรียบร้อย
  • การลงจากเตียงอย่างมั่นคง ; ติดตั้งราวจับข้างเตียง เพื่อให้ผู้รับบริการใช้เป็นจุดยึดในการเคลื่อนตัวลงจากเตียง หรือ ใช้ขั้นบันไดเพื่อช่วยลดช่องว่างความสูงระหว่างเท้ากับพื้น

Interactive reasoning

เริ่มสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้รับบริการโดยใช้สีหน้าท่าทางที่เป็นมิตรยิ้มเเย้มแจ่มใส ใช้น้ำเสียงอ่อนโยน ชวนคุยในเรื่องราวทั่วไป เช่น ทานข้าวหรือยัง เมื่อคืนหลับสบายดีไหม วันนี้รู้สึกอย่างไรบ้าง ไม่เร่งรัดถามแบบเป็นแพทเทิร์นหรือกดดันถามเจาะเพื่อเอาคำตอบที่เราต้องการในครั้งแรก สนทนาแบบค่อยเป็นค่อยไป ตั้งใจรับฟังในสิ่งที่ผู้รับบริการพูดหรือต้องการจะสื่อสารออกมา ให้เวลาแก่ผู้รับบริการในการสื่อสารไม่ตัดบทหรือตีความไปเอง มีการใช้สื่ออื่นๆเข้ามาเพื่อช่วยในเรื่องการพูดคุยดำเนินบทสนทนาได้ราบรื่นขึ้น เช่น ใช้การพิมพ์ เป็นต้น 

Pragmatic reasoning

  1. หลังจากที่ได้ลงเยี่ยมบ้านผู้รับบริการ นักศึกษาได้กลับมาทำการระดมความคิดเพื่อวางแผนการให้การบำบัดรักษาและหาวิธีการในการช่วยให้ผู้รับบริการสามารถทำกิจวัตรด้วยตนเองให้ได้มากที่สุด รวมถึงมีความมั่นคงปลอดภัยในขณะประกอบกิจกรรม เมื่อได้วิธีการและแผนการรักษาคร่าวๆแล้วจึงได้นำไปปรึกษากับอาจารย์กิจกรรมบำบัดเพื่อสอบถามความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ซึ่งได้รับคำแนะนำดังนี้

    1. ในการเลือกตั้งเป้าหมายของการรักษานอกจากจะคำนึงถึงความต้องการของผู้รับบริการแล้วยังสามารถเรียงลำดับของการให้การรักษา โดยมองภาพว่าสิ่งใดใช้เวลาและมีความซับซ้อนน้อย สามารถทำสำเร็จได้ก่อน อาจจะเลือกมาทำเป็นลำดับต้นๆเพื่อให้ผู้รับบริการรู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลง มองเห็นความสามารถและคุณค่าในตนเอง มีเเรงจูงใจในการฝึกต่อไป

    2. วิธีการใช้ราวจับต้องคำนึงถึงพื้นที่ที่ใช้ว่าจะขัดขวางต่อการทำกิจกรรมอื่นๆของผู้รับบริการหรือไม่ รวมถึงค่าใช้จ่ายที่จะต้องใช้ ส่วนขั้นบันไดต้องคำนึงถึงรูปแบบ ขนาด ความกว้าง ความสูง ว่ามีความพอดีกับผู้รับบริการหรือไม่ ทำมาจากวัสดุอุปกรณ์ใดมีความมั่นคงเพียงพอไหม แนะนำให้ลองศึกษารูปแบบให้หลากหลาย เช่น แบบที่ใช้ในโรงพยาบาล ใช้ในคลินิกและอื่นๆ คำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก สุดท้ายแล้ววิธีที่เหมาะสมกับกรณีศึกษานี้คือการขยับไปยังหัวเตียงแล้วยึดให้มั่นคงก่อนลงจากเตียง
  2. เมื่อได้เรียนวิชาการให้เหตุผลทางคลินิกกิจกรรมบำบัด ทำให้มีโอกาสได้หยิบยกเคสนี้มาเป็นกรณีศึกษาอีกครั้ง ในครั้งนี้เป็นการอภิปรายร่วมกันกับเพื่อนและอาจารย์กิจกรรมบำบัด เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับกรณีศึกษา และสิ่งที่สามารถนำไปต่อยอด หรือหากได้กลับไปจับเคสอีกครั้ง เราสามารถทำอะไรได้บ้าง โดยสามารถสรุปคำแนะนำจากอาจารย์และเพื่อนนักศึกษากิจกรรมบำบัดได้ดังนี้

    1. จากที่ทราบว่าผู้รับบริการมีปัญหา motor aphasia ร่วมด้วย ข้อมูลส่วนใหญ่ที่ได้จึงมาจากญาติ ดังนั้นเพื่อเป็นการสนับสนุนและกระตุ้นให้ผู้รับบริการมีปฏิสัมพันธ์ พยายามสื่อสารด้วยคำพูดมากขึ้น ผ่านทางการใช้ภาพถ่าย เนื่องจากได้ข้อมูลจากญาติว่าเมื่อก่อนผู้รับบริการชอบถ่ายภาพ
    2. ปัญหาอีกอย่างที่พบคือผู้รับบริการขาดความกระตือรือร้นเเละแรงจูงใจในการฝึกด้วยตนเองต่อยอดจากนักกายภาพบำบัดและนักกิจกรรมบำบัด อาจทำให้เห็นผลไม่ชัดเท่าที่ควร จึงได้รับข้อเสนอแนะจากอาจารย์ว่าให้ทำตารางกิจกรรมการฝึกว่าวันไหนต้องฝึกอะไรในเวลาไหนบ้าง แบบที่เห็นได้ชัดเจน เพื่อเป็นการสร้างกรอบและวินัยให้แก่ผู้รับบริการแล้วค่อยๆลดลงตามลำดับ เมื่อผู้รับบริการสามารถสังเกตเห็นความก้าวหน้าและเกิดเป็นแรงจูงใจในการฝึกแล้ว

Conditional reasoning

จากการรวบรวมข้อมูลของผู้รับบริการตลอดจนการวางแผนการรักษาได้ใช้กรอบอ้างอิงและแบบจำลองต่างๆมาจับ ได้แก่

  • Person-Environment-Occupation Performance (PEOP) เพื่อนำมาพิจารณาปรับรูปแบบกิจกรรมหรือสิ่งแวดล้อม
    • P ; ผู้รับบริการเพศชาย อายุ 47 ปี วินิจฉัยเป็น stroke อ่อนเเรงซีกขวา มีอาการ motor aphasia ร่วมด้วย มีระดับความรู้ความเข้าใจปกติ ขณะเดินมีเท้าด้านขวาตก หากทำกิจกรรมนานๆtoneของกล้ามเนื้อจะเพิ่มขึ้น ขาดความมั่นใจในเรื่องของการพูดคุยสื่อสาร อารมณ์ดี ให้ความร่วมมือกับนักศึกษากิจกรรมบำบัดในทุกขั้นตอน
    • E ; ผู้รับบริการอาศัยอยู่ในบ้านเดี่ยว 2 ชั้น โดยผู้รับบริการอาศัยอยู่ชั้นล่าง สมาชิกในบ้านประกอบด้วย แม่ พี่น้อง พี่สะใภ้ และหลานชาย ครอบครัวมีสถานะทางเศรษฐกิจที่มั่นคง ทางบ้านได้มีการจ้างแม่บ้านมาเพื่อทำหน้าที่ดูแลโดยเฉพาะ ภายในบ้านมีอุปกรณ์ช่วย คือ tripod และ wheelchair แต่ไม่ได้ใช้ หากออกไปด้านนอกจะต้องนั่ง wheelchair โดยมีคนช่วยเข็นให้ เตียงภายในบ้านเป็นแบบมีราวกั้นสามารถยกขึ้นและพับเก็บได้ ส่วนของห้องน้ำมีราวจับแต่อยู่ในด้านที่อ่อนแรง
    • O ; เดิมประกอบธุรกิจของครอบครัวแต่ในปัจจุบันไม่ได้ทำงานแล้ว ทำ ADLs และ มีการเล่นโทรศัพท์ดูทีวีหรือเล่นกับหลานบ้าง
    • P ; สามารถช่วยตัวเองในกิจวัตรประจำวันได้ แต่บางอย่างเช่น การอาบน้ำ แต่งตัว ยังต้องการความช่วยเหลือบางส่วนอยู่ สามารถเดินได้แต่ช้าและมีรูปแบบการเดินที่ไม่ตรงตาม gait pattern เท้าขวาตก หากเดินระยะไกลหรือลงทางต่างระดับภายในบ้าน จะอาศัยการเกาะกำแพงหรือหาจุดยึดเพื่อช่วยในการทรงตัว
  • Rehabilitation Model ; นำความสามารถของผู้รับบริการกลับคืนมาให้ได้ใกล้เคียงกับปกติมากที่สุด เพื่อส่งเสริมให้ผู้รับบริการสามารถดำเนินชีวิตอิสระได้ โดยใช้วิธีที่หลากหลาย เช่น การปรับสภาพบ้าน, ADLs training , การจัดหาและฝึกการใช้อุปกรณ์ช่วย เป็นต้น 

นอกจากนี้ยังมีการใช้ biomechanical FOR มาใช้ร่วมในการจัดท่าทาง ฟื้นฟูองค์ประกอบย่อยที่เป็นปัจจัยสำคัญในการทำกิจกรรม เช่น  balance, endurance ตลอดจนอาศัยหลักของ motor learning เข้ามาช่วย

SOAP Note ครั้งที่1

S  ;  ผู้รับบริการเพศชาย นั่งบนตั่งไม้ มีสีหน้าเรียบเฉย ไม่ค่อยแสดงอารมณ์ สามารถตอบได้เป็นคำและประโยคสั้นๆ เช่น กินแล้ว ใช่

O ; ผู้รับบริการมีอาการอ่อนแรงในร่างกายซีกขวา ขณะเดินมีเท้าด้านขวาตก(foot drop) สามารถเปลี่ยนท่าทางการนั่งด้วยตนเองได้ ขาดความมั่นใจในตนเองในเรื่องของการพูด มักพูดเสียงเบา คิดคำพูดนานและไม่ค่อยสนทนาเป็นประโยคยาวแต่สามารถพิมพ์ข้อความผ่านโทรศัพท์ที่มีแอพสะกดคำช่วยได้ มีระดับการตื่นตัวและให้ความร่วมมือในการสัมภาษณ์และประเมินดี
A ; จากการประเมินผ่านการสัมภาษณ์และให้ผู้รับบริการแสดงให้ดู พบว่า 

  • ADL มีบางหัวข้อที่ต้องการความช่วยเหลือจากผู้ดูแล เช่น การใส่เสื้อผ้า การแปรงฟัน การอาบน้ำ
  • ขณะก้าวลงจากเตียงมายังพื้นผู้รับบริการมีอาการเซ ไม่มั่นคง
  • Sitting balance อยู่ในระดับปกติ(normal) และ Standing balance อยู่ในระดับดี(good)
  • กำลังกล้ามเนื้อข้างอ่อนแรงอยู่ระดับประมาณ stage 2 brunnstorm
  • ด้านอ่อนแรงมีข้อไหล่ และ เท้าตก
  • มีความทนทานของกล้ามเนื้อในการทำกิจกรรมประมาณ 10-20 นาที ขึ้นกับความหนักของกิจกรรม

P ; ADLs training ในหัวข้อการสวมเสื้อและกางเกง การเตรียมอุปกรณ์แปรงฟัน,วางแผนรวมถึงแนะนำเรื่องการปรับสภาพบ้านเพื่อเพิ่มความมั่นคงปลอดภัยในการทำกิจกรรมของผู้รับบริการ   

อภิชญา บุญสิริโรจน์ OTs

SOAP Note ครั้งที่2

S ; ผู้รับบริการเพศชาย นั่งบนตั่งไม้ อารมณ์ดี มีการแสดงออกทางภาษากายมากขึ้น สามารถตอบได้เป็นคำและประโยคสั้นๆ เช่น จำได้ ดูทีวี

O ; ผู้รับบริการมีอาการอ่อนแรงในร่างกายซีกขวา ขณะเดินมีเท้าด้านขวาตก(foot drop) สามารถเปลี่ยนท่าทางการนั่งด้วยตนเองได้ ขาดความมั่นใจในตนเองในเรื่องของการพูด มักพูดเสียงเบา คิดคำพูดนาน สามารถตอบคำถามแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความพึงพอใจในวิธีการบำบัดรักษาเป็นคำพูดสั้นๆได้ ให้ความร่วมมือในการให้การบำบัดรวมถึงมีช่วงความสนใจและคงสมาธิในการทำกิจกรรมการบำบัดดี ระดับการตื่นตัวดี

A ; จากการให้การบำบัดรักษา พบว่า

  • ผู้รับบริการเข้าใจ และสามารถจดจำขั้นตอนการสวมเสื้อยืดที่ถูกต้องและแสดงให้ดูได้ เมื่ออธิบายพร้อมกับการทำ 1 รอบ
  • ผู้รับบริการสามารถเตรียมอุปกรณ์การแปรงฟันด้วยตนเองได้โดยใช้มือข้างดี
  • ผู้รับบริการสามารถลงจากเตียงมายังพื้นได้อย่างมั่นคง ไม่มีอาการเซ

P ; ตั้งเป้าหมายการรักษาในเรื่องการเลือกซื้อของด้วยตนเองซึ่งเป็นความต้องการของผู้รับบริการ , เพิ่มความมั่นใจในการสื่อสารของผู้รับบริการผ่านทางการใช้ภาพถ่ายฝีมือผู้รับบริการ , ให้ความรู้และคำแนะนำแก่ผู้ดูแลว่าควรช่วยเหลือเท่าใดถึงจะพอดี

อภิชญา บุญสิริโรจน์ OTs

Story telling
ทันทีที่ก้าวเท้าเข้าไปในบ้าน เรากับเพื่อนๆก็ได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่น ทั้งจากอาม่า(แม่คุณธีร์)และคุณทิม(พี่ชายของคุณธีร์) เสียงอาม่าบอกให้ผู้ดูแลยกน้ำเข้ามา พร้อมชวนพวกเราคุยอย่างออกรสชาติ คุณธีร์นั่งอยู่บนตั่งไม้ด้านหน้าห้องนอน สีหน้าเรียบเฉย เราคิดว่าเขาคงแปลกใจเล็กน้อยที่พวกเรามากันหลายคน ภายในบ้านดูสะอาดสะอ้าน จะมีแค่บางจุดเท่านั้นที่ดูแล้วมีของรกตาเล็กน้อย เมื่อชวนคุณธีร์คุยไปสักพักก็เห็นได้ชัดว่าเขามีท่าทีผ่อนคลายขึ้น และเริ่มคุ้นเคย คุณธีร์ให้ความร่วมมือในการตรวจประเมินดี มีแต่พวกเรานี่แหละที่ยังไม่ค่อยชำนาญเท่าไรการประเมินและสัมภาษณ์เลยไม่ราบรื่นอย่างที่ควรจะเป็น ปกติแล้วเวลาลงชุมชนหรือเยี่ยมบ้านก็จะไปแบบหลายๆชั้นปี ก็จะมีรุ่นพี่คอยช่วย อันนี้อาจารย์อยากให้เราลองทำด้วยตัวเองจริงๆเลยทุลักทุเลหน่อยแต่ก็ผ่านมาได้ด้วยความช่วยเหลือและคำแนะนำจากอาจารย์ เราจึงได้เรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ๆรวมถึงเห็นอาจารย์ในการทำงานรู้ว่าตัวเองยังมีจุดบกพร่องและจุดที่ควรแก้ไขตรงไหนบ้าง โดยรวมดูแล้วบ้านนี้อบอุ่นมีทัศนคติที่ดีต่อกันถือว่าเป็นโชคดีของเราที่ได้มาเจอบรรยากาศแบบนี้ รวมถึงเป็นโชคดีของคุณธีร์ด้วย ที่ทางบ้านยอมรับ เข้าใจ และยินดีจะช่วยเหลือและสนับสนุนคุณธีร์

ครั้งที่สองที่ไปพบเรามีการนำอุปกรณ์ช่วยไปเพื่อให้คุณธีร์ทดลองใช้ แต่ก็พบว่าไม่ได้ผลดีตามอย่างที่คิดไว้ อาจารย์จึงเข้ามาช่วยและชี้ให้เห็นว่ามีอะไรตรงไหนสามารถปรับได้บ้าง ทำให้เราได้เรียนรู้ถึงการทำงานหน้างานซึ่งต้องอาศัยประสบการณ์ระดับหนึ่ง เป็นแรงบันดาลใจที่ดีในการที่เราจะตั้งใจค้นคว้าและเก็บประสบการณ์ให้มากขึ้น ได้เรียนรู้ว่าทุกอย่างไม่ได้เป็นไปตามหลักการหรือเป็นไปอย่างที่เราคิดเสมอไป เพราะแต่ละคนก็มีองค์ประกอบและปัจจัยต่างๆรอบตัวที่แตกต่างกันวิธีนี้ใช้ได้ผลกับคนหนึ่งแต่อาจจะไม่ได้ผลกับอีกคนก็ได้ ต้องขอขอบคุณคุณธีร์ที่ยินดีและเต็มใจมาเป็นกรณีศึกษาให้ มาเรียนรู้ถูกผิดไปด้วยกัน ขอบคุณที่มีความอดทนและยอมทำตามสิ่งที่นักศึกษาคิดมาซึ่งอาจจะไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุด ซึ่งเวลาแค่ 2 ครั้งอาจจะทำอะไรไม่ได้มาก แต่ก็ถือว่าได้ทำเต็มที่แล้วในฐานะนักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่ 3 คนหนึ่ง และจะทำให้ดีขึ้นในทุกครั้งต่อจากนี้

หมายเลขบันทึก: 675499เขียนเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2020 18:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2020 02:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท