The Schramm Model


แบบจำลองกระบวนการสื่อสารของชแรมม์

(The Schramm Model)

  วิลเบอร์ ชแรมม์ (Wilbur Schramm) ได้นำรูปแบบจำลองการสื่อสารลักษณะกระบวนการสื่อสารทางเดียวเชิงเส้นตรงของแชนนันและวีเวอร์ มาใช้เป็นแนวทางในการอธิบายการสื่อสารที่เกิดขึ้นในการเ

รียนการสอน โดยเน้นถึงวัตถุประสงค์ของการสอน ความหมายของเนื้อหาข้อมูล และการที่ข้อมูลได้รับการแปลความหมายอย่างไร และได้ใช้เค้าโครงแบบจำลองกระบวนการสื่อสารของ C.E.Osgood นอกจากนี้ ชแรมม์ยังให้ความสำคัญของการสื่อความหมายการรับรู้ และการแปลความหมายของสัญลักษณ์ ว่าเป็นหัวใจสำคัญของการเรียนการสอน ตามลักษณะรูปแบบจำลองของชแรมม์นี้ การสื่อสารจะเกิดขึ้นได้อย่างดีมีประสิทธิภาพเฉพาะในส่วนที่ผู้ส่งและผู้รับทั้งสองฝ่ายต่างมีวัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ ความรู้ เป็นต้น ที่สอดคล้องคล้ายคลึงและมีประสบการณ์ร่วมกัน จึงจะทำให้สามารถเข้าใจความหมายทีสื่อกันนั้นได้ ทั้งนี้เพราะผู้ส่งสามารถเข้ารหัสและผู้รับสามารถถอดรหัสเนื้อหาข่าวสารได้เฉพาะในขอบข่ายประสบการณ์ที่แต่ละคนมีอยู่ เช่น ถ้าเราไม่เคยเรียนภาษารัสเซีย  เราคงไม่สามารถพูดหรือแปลความหมายของภาษารัสเซียได้ เป็นต้น ถ้าส่วนของประสบการณ์ของทั้งผู้ส่งและผู้รับซ้อนกันเป็นวงกว้างมากเท่าใด จะทำให้การสื่อสารนั้นเป็นไปได้โดยสะดวกและง่ายมากยิ่งขึ้น เพราะต่างฝ่ายจะเข้าใจสิ่งที่กล่าวถึงนั้นได้เป็นอย่างดี แต่เมื่อใดที่วงของขอบข่ายประสบการณ์ซ้อนกันน้อยมากหรือไม่ซ้อนกันเลยแสดงว่าทั้งผู้ส่งและผู้รับแทบจะไม่มีประสบการณ์ร่วมกันเลย การสื่อสารนั้นจะทำได้ยากลำบากหรือแทบจะสื่อสารกันไม่ได้อย่างสิ้นเชิง  ซึ่งสามารถทราบได้จากผลป้อนกลับที่ผู้รับส่งกลับไปยังผู้ส่งนั่นเองเนื่องจากในการสื่อสารนั้นเราไม่สามารถส่ง “ความหมาย”(meaning) ของข้อมูลไปยังผู้รับได้ สิ่งที่ส่งไปเป็นเพียง “สัญลักษณ์”(symbol) ของความหมายนั้น เช่นคำพูด รูปภาพ เสียงเพลง ดังนั้น เมื่อมีการสื่อสารเกิดขึ้น ผู้ส่งต้องพยายามเข้ารหัสสารซึ่งเป็นสัญลักษณ์ต่างๆเพื่อให้ผู้รับเข้าใจได้โดยง่าย ซึ่งสารแต่ละสารจะประกอบด้วยสัญลักษณ์ต่างๆมากมาย โดยที่สัญลักษณ์แต่ละตัวจะประกอบเป็นตัวบ่งบอกถึง“สัญญาณ”(singnal) ของบางสิ่งบางอย่างซึ่งจะทราบได้โดยประสบการณ์ของคนเรา ผู้ส่งต้องส่งเป็นสัญลักษณ์เป็นคำพูด ภาษาเขียน ภาษามือ เป็นต้น

เพื่อถ่ายทอดความหมายของสารที่ต้องการจะส่ง โดยพยายามที่จะเชื่อมโยงเนื้อหาสารเข้ากับประสบการณ์ที่สอดคล้องกันทั้งสองฝ่าย เพื่อให้ผู้รับสามารถแปลและเข้าใจความหมายของสัญลักษณ์เหล่านั้นได้โดยง่ายในขอบข่ายประสบการณ์ของตน ตัวอย่างเช่น ถ้าผู้ส่งต้องการส่งสารของคำว่า “คอมพิวเตอร์”ให้ผู้รับที่ยังไม่เคยเห็นคอมพิวเตอร์มาก่อน ผู้ส่งต้องพยายามใช้สัญลักษณ์ต่างๆไม่ว่าจะเป็นการอธิบายด้วยคำพูด ภาพ หรือสัญลักษณ์อื่นก็ตามเพื่อให้ผู้รับสามารถเข้าใจและมีประสบการณ์ร่วมกับผู้ส่งได้มากที่สุดเพื่อเข้าใจความหมายของ “คอมพิวเตอร์” ตามที่ผู้ส่งต้องการ

แบบจําลองการสื่อสารของแชรมม์

แบบจําลองการสื่อสารตามแนวความคิดของออสกูดและวิลเบอร์ชแรมม์นั้น จําแนกเป็นกลุ่มใหญ่ได้ 2 ลักษณะคือ การสื่อสารระหว่างบุคคล และการสื่อสารในระดับมวลชน แบบจําลองการสื่อสารระหว่างบุคคลที่ออสกูดเป็นต้นคิด และวิลเบอร์ชแรมม์นํามา

ขยายความและเป็นผู้เสนอไว้ในปีพ.ศ. 2497 นี้มีลักษณะเป็นวงกลม ที่เน้นให้เห็นว่า ทั้งผู้ส่งสาร และผู้รับสารต่างกระทําหน้าที่อย่างเดียวกันในกระบวนการสื่อสาร นั่นคือ การเข้ารหัส (encoding) การถอดรหัส (decoding) และการตีความ (interpreting) ซึ่งสามารถแสดงเป็นภาพ ได้ดังนี้

 

ที่มา kmitl.ac.th

แชรมม์และออสกูด อธิบายว่า ในกระบวนการสื่อสารนั้น บุคคลทั้งสองฝ่ายมีลักษณะเท่า เทียมกัน คือ จะเป็นทั้งผู้เข้ารหัส (Encoder) และผู้ถอดรหัส (Decoder) นอกจากนั้นยังทําหน้าที่ เป็นผู้ตีความหมาย (Interpreter) ด้วย คือ จะมีการถอดรหัส เเล้วก็ตีความรหัส จากนั้นจึงเข้ารหัส เมื่อผู้ส่งสารส่งสารไปยังผู้รับสาร ผู้รับสารก็จะสื่อสารกลับ โดยเริ่มจากการถอดรหัส ตีความและ เข้ารหัส นั่นเป็นการแสดงถึงการสื่อสารแบบสองทาง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดเรื่องปฏิกิริยา ตอบกลับ (Feedback) ด้วย

ตัวอย่างเช่น การสนทนาระหว่าง คนภาคกลางกับภาคอีสาน ที่ต้องมีการถอดรหัสของ เนื้อหา ดังนี้

“คุณน้า แบกถุงนี้ไหวไหม”

“ถงปุ๋ย ถงนี่คือมาหนักคักแท้แบกซ่อยกันสองคนกะยังแบกบ่แกน”

จะทําให้คนภาคกลางนั้นต้องเข้ารหัสและถอดรหัสสื่อสารว่า “ถุงปุ๋ยถุงนี้มันหนัก เหลือเกิน ช่วยกันแบกสองคนยังไม่ไหว” จึงอาจตัดสินใจตอบกลับไปว่า “ถ้าอย่างนั้นผมช่วย”

ข้อสังเกตคือ ถ้าหากการเข้ารหัสและถอดรหัสไม่เข้าใจ หรือสื่อสารคนละภาษา อาจทําให้ เกิดความเข้าใจผิดได้

จุดเด่นของแบบจําลองนี้อยู่ที่การแสดงให้เห็นโครงสร้าง และหน้าที่ของคู่สื่อสาร ซึ่งทั้งสอง ฝ่ายต่างก็ต้องทําหน้าที่ในการถอดรหัส ตีความและเข้ารหัสแบบเบ็ดเสร็จภายในตัวเอง

หมายเลขบันทึก: 675467เขียนเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2020 13:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2020 13:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท