2.Independent living(IL)เป็นระบบที่อยู่ในชุมชนและนักกิจกรรมบำบัดมีส่วนร่วมทำงานกับทีมILได้อย่างไร


ศูนย์การดำรงชีวิตอิสระของคนพิการพุทธมณฑล มีวัตถุประสงค์ในการทำงานคือ อยากให้ผู้พิการสามารถดำรงชีวิตด้วยตัวเอง ทั้งในการคิดและตัดสินใจ หากมองวัตถุประสงค์ของทีมILแล้วมีความสอดคล้องกับการให้การรักษาทางกิจกรรมบำบัดเช่นเดียวกัน  ทั้งทีมILและนักกิจกรรมบำบัดจะมีจุดเด่นในการให้การรักษาที่แตกต่างกันไป ในการทำงานร่วมกันนั้นทีมILจะเป็นผู้ที่เข้าหาผู้รับบริการในเชิงรุกเข้าไปสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้รับบริการ พูดคุย เพื่อสร้างกำลังใจและแรงจูงใจในการใช้ชีวิตในสภาพร่างกายที่จำกัด ทำหน้าที่ในบริบทของpeer support ซึ่งทำให้ผู้รับบริการเห็น Role modelจากพี่ทีมIL ตรงนี้จะส่งผลให้ผู้รับบริการสามารถคิด ตัดสินใจ และมองเห็นอนาคตตามความต้องการในชีวิตตัวเองได้ แน่นอนว่ากระบวนการนี้นักกิจกรรมบำบัดจะเข้าไปมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนความต้องการของผู้รับบริการตามความคาดหวังของเขาในการให้การรักษาทางกิจกรรมบำบัดในขั้นตอนต่างๆ เพื่อให้เขาสามารถบรรลุเป้าหมายที่เขาคาดหวังได้ ในกระบวนการให้การรักษา ทั้งทีมILและนักกิจกรรมบำบัดสามารถทำงานร่วมกันได้ โดยทีมILจะเป็นส่วนสำคัญในการช่วยฟื้นฟูผู้รับบริการ โดยให้พี่ทีมILที่มีพยาธิสภาพคล้ายคลึงกับผู้รับบริการมาช่วยสอน แบ่งปันประสบการณ์ ตรงนี้ทำให้ผู้รับบริการสามารถนำวิธีการไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันของตัวเองและในนักกิจกรรมบำบัดจะช่วยสร้างเสริมในส่วนที่เป็นทักษะใหม่ เช่น Motor learning skill ที่ถูกและเหมาะสมกับพญาธิสภาพผ่านการวิเคราะห์กิจกรรม หากต้องมีการปรับสภาพบ้านเพื่อให้เหมาะสมกับผู้รับบริการ บริบทตรงนี้ก็จะเป็นของนักกิจกรรมบำบัด และทีมILอาจจะช่วยประสานงานกับองค์กรข้างนอก เช่น นักสังคมสงเคราะห์ ช่าง เพื่อให้การให้บริการเป็รนไปอย่างสมบูรณ์และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้รับบริการ

คำสำคัญ (Tags): #takehome
หมายเลขบันทึก: 675451เขียนเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2020 22:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2020 23:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท