โรงพยาบาลหลวงพ่อเปิ่น


โรงพยาบาลหลวงพ่อเปิ่น

การเรียนรู้ลงชุมชนครั้งที่3

     วันนี้พวกเราได้เดินทางมาศึกษาดูงานที่โรงพยาบาลหลวงพ่อเปิ่นโดยมีพี่เรนนักกิจกรรมบำบัดประจำโรงพยาบาลและชุมชนแห่งนี้ โรงพยาบาลหลวงพ่อเปิ่นเป็นโรงพยาบาลขนาด30เตียง รับผิดชอบ5ตำบล และมีความเชี่ยวชาญในผู้ป่วยหลอดเลือดสมองและการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย โดยเป็นโรงพยาบาลที่มุ่งเน้นความเป็นเลิศในด้านการดูแลผู้ป่วยกึ่งวิกฤตและการแพทย์ผสมผสานมีโปรแกรมการรักษาที่เข้มข้นจากทีมสหวิชาชีพ โดยพี่เรนได้พาเราเดินดูแผนกต่างๆในโรงพยาบาล

ห้องที่1 ห้องตรวจต้นแบบผู้สูงอายุภาวะสมองเสื่อม

เป็นห้องที่มีอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สำหรับฝึกผู้ที่มีอาการสมองเสื่อมโดยเฉพาะ

ห้องที่2 แพทย์แผนจีน

มีการบำบัดรักษาทางการแพทย์แผนจีน เช่นการฝังเข็ม การครอบแก้ว และการใช้สมุนไพรจีน

ห้องที่3 แพทย์แผนไทย

โดยในผู้ที่เป็นอัมพาตครึ่งซีกจะให้นวดในด้านที่แข็งแรง และมีการใช้ยาสมุนไพรไทยในการรักษา

ห้องที่4 กายภาพบำบัด

 มีการรักษาทางกายภาพบำบัด และใช้เครื่องฝึกต่างๆรวมทั้งมีการแจกจ่ายอุปกรณ์สำหรับคนพิการอีกด้วย

ห้องที่5 กิจกรรมบำบัด

เป็นห้องที่ใช้ในการฝึกกิจกรรมบำบัด ภายในห้องมีอุปกรณ์พื้นฐานต่างๆในการฝึกกิจกรรมการดำรงชีวิต พี่เรนก็ได้เล่าให้นักศึกษาฟังถึงประสบการณ์การรักษาทางกิจกรรมบำบัดในโรงพยาบาล โดยสิ่งที่สำคัญในการทำงานในชุมชนเลยคือนักกิจกรรมบำบัดต้องสื่อสารบอกให้เข้าใจถึงประโยชน์และเหตุผลของการทำกระบวนการทางกิจกรรมบำบัดให้ชัดเจน เพื่อให้ผู้รับบริการได้ทราบถึงประโยชน์และทำให้เกิดแรงจูงในการฝึก

บ้านฝึกทักษะการดำรงชีวิตอิสระ

เป็นบ้านจำลองเสมือนจริงที่มีห้องต่างๆทำการฝึกการทักษะก่อนการกลับบ้านจริงๆสำหรับผู้พิการที่ผ่านการคัดเลือกและสมัครใจอยากฝึกโดยมีทีมILเป็นพี่เลี้ยง โดยให้เป็นผู้พิการเป็นผู้วางแผนโปรแกรมเองว่าในแต่ละวันจะทำอะไรบ้าง อยากฝึกอะไร มีการกำกับติดตามและประเมินผลการฝึกขณะอยู่ที่บ้านฝึกทักษะว่าได้ทำครบตามโปรแกรมที่ตนได้วางไว้ได้สำเร็จไหม

.

     ช่วงบ่ายเราได้ไปเรียนรู้ลงชุมชนไปที่บ้านผู้สูงอายุ วัย84ปี เป็นอัมพาตครึ่งซีกอ่อนแรงด้านขวามีอาการมือสั่นชาและเท้าบวมทั้ง2ข้าง หายใจตื้น การไหลเวียนไม่ดี คุณตาสามารถเดินได้โดยการใช้walkerแต่คุณตาไม่ค่อยชอบเดินเองจะให้ผู้ดูเเลเป็นคนช่วยมากกว่า

เรานำสายวัดมาวัดความบวมของขาทั้งสองข้างเพื่อเทียบกับช่วงที่ทำการลดบวม พวกเราทำการวัดชีพจรที่แขนคุณตาพบว่าปกติ เราจึงทำการลดบวมโดยpumping exerciseเพื่อให้เลือดไหลเวียนดี ทำการกระตุ้นการรับความรู้สึกที่ฝ่าเท้าของคุณตา และสอนให้คุณตาฝึกการหายใจที่ถูกต้อง เเละสอนการออกกำลังกายเพื่อกำหนดลมหายใจ และแนะนำส่งเสริมให้คุณตาเดินด้วยตนเองโดยใช้walker แล้วให้คุณตาพาพวกเราเดินไปยังห้องของคุณตา แล้วสอนท่าออกกำลังกายโดยใช้ PNFและฝึกเพื่อเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อโดยการนำขวดน้ำมาใช้ในการออกกำลังกาย แล้วนำหินมาใส่ผ้าเพื่อถ่วงน้ำหนักเพื่อเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อของคุณตา หลังจากฝึกเราได้นำสายวัดมาวัดบริเวณเดิมอีกครั้งและพบว่าขาของคุณตาบวมลดลงทั้งสองข้าง คุณตาพูดออกมาว่า"แบบนี้ต้องฝึกทำบ่อยๆแล้ว" ระหว่างการสอนการฝึกของคุณตาพวกเราก็มีการพูดคุยให้กำลังใจเชียร์คุณตาขณะฝึกทำให้คุณตาดีใจและมีกำลังใจในการฝึกทำอย่างตั้งใจยิ้มมีความสุข ตอนเราจะกลับคุณตาใจดีให้มะละกอพวกเรากลับมากินด้วย

.

     1 อาทิตย์ต่อมาเราได้รับโอกาสให้ไปจัดกิจกรรมที่โรงเรียนผู้สูงอายุ ของตำบลบางระกำ

ฉันได้ไปจัดกิจกรรมcognitive เน้นการวางแผนทำงานร่วมกันโดยแบ่งเป็น4กลุ่ม ช่วยกันในการประดิษฐ์อุปกรณ์ที่สามารถตักเกลือให้ได้มากที่สุดภายในเวลาที่กำหนด ซึ่งแต่ละกลุ่มก็จะได้ชุดอุปกรณ์การประดิษฐ์ที่ไม่เหมือนกัน โดยจะมีการถามคำถามแล้วถ้ากลุ่มไหนตอบถูกก็จะมีสิทธิ์ในการเลือกอุปกรณ์ประดิษฐ์ก่อน ซึ่งนั้นก็จะมีทั้งคำถามคิดคำนวณและคำถามเชาว์ปัญญา เมื่อผู้สูงอายุทุกกลุ่มได้รับอุปกรณ์แล้วก็ให้ช่วยกันวางเเผนและลงมือประดิษฐ์อุปกรณ์ของกลุ่มขึ้นมา ทุกคนในกลุ่มก็ต่างช่วยกันคิดว่งแผนและทำอุปกรณ์ที่ตนโดยจะมีเวลาให้ได้ลองใช้อุปกรณ์ของกลุ่มตนและมีเวลาให้ได้แก้ไขออุปกรณ์เพื่อให้ด้อุปกรณ์ที่ดีที่สุดออกมา เมื่อถึงเวลาแข่งก็ให้ทุกคนในกลุ่มช่วยกันใช้อุปกรณ์ตักเกลือใส่ขวดให้ได้มากที่สุดโดยทุกคนในกลุ่มจะได้ผลัดกันตักเกลือใส่ขวดกลุ่มไหนที่ใส่ได้เต็มขวดก่อนกลุ่มนั้นชนะ

ให้แต่ละกลุ่มได้นำเสนอสิ่งประดิษฐ์ของตนเองอีกครั้งทุกคนเกิดความภาคภูมิใจในอุปกรณ์ที่ได้ร่วมกันประดิษฐ์ มีกลุ่มนึงพูดว่า “ได้ลำดับที่เท่าไหร่ก็ไม่สำคัญ แต่อุปกรณ์ที่เราได้ทำด้วยกันสุดยอดมากค่ะ” ทุกคนต่างเห็นด้วยปรบมือให้กับคำพูดของผู้สูงอายุท่านนั้น

ต่อมาเป็นกิจกรรมnarrative ได้ให้ผู้สูงอายุเล่าถึงสิ่งที่ตนเองมีความภาคภูมิใจในชีวิต หลายท่านตอบว่าภูมิใจที่ได้ดูแลสามี ได้เลี้ยงดูลูกจนเติบโตเรียนจบมีงานทำ ภมิใจที่ตัวเองเป็นคนดีของสังคม ผู้สูงอายุหลายคนที่บอกว่าพอไม่ได้ทำงานแล้วก็เบื่อเลยต้องหาอะไรทำตลอด ไม่อยากนั่งอยู่ว่างๆ ก็เลยอยากออกมาเจอกันทุกเดือนมาพูดคุยแลกเปลี่ยนทำกิจกรรมร่วมกัน

ระหว่างที่ฉันร่วมนั่งฟังผู้สูงอายุในกลุ่มแต่ละคนเล่าถึงสิ่งที่ภาคภูมิใจในอดีตนั้นก็สัมผัสได้ถึงความรักและความสนิทสนมของผู้สูงอายุทุกท่าน ที่คอยเป็นห่วงเป็นใยให้กำลังใจซึ่งกันและกันหลายคนมาร่วมกิจกรรมทุกเดือนเพราะสนุก ได้เจอเพื่อน ไม่เหงา มีกิจกรรมให้เต้น ร้องรำทำเพลงและออกกำลังกาย บางครั้งก็ได้ช่วยกันทำงานประดิษฐ์ เป็นโมบาย กระเป๋าผ้า ตะกร้าสาน ซึ่งเมื่อฉันได้เห็นผลงานแล้วก็รู้สึกสุดยอดมากเพราะผลงานมีความละเอียด และต้องใช้ระยะเวลาในการทำผลงานที่ออกมาสวยงามมากจริงๆ แล้วยังได้นำสิ่งที่ทำไปจำหน่ายสร้างรายได้อีกด้วย ทำให้ฉันได้หวนนึกย้อนมองตนเองว่าในอนาคตเราจะกลายเป็นผู้สูงอายุแบบไหนที่มีความสุขและมีความภาคภูมิใจในตนเอง คำตอบก็คือทำทุกวันในชีวิตให้ดีที่สุด และคงต้องเริ่มวางแผนชีวิตในวัยสูงอายุของตนเองแล้ว

ฉันจะนำความรู้และประสบการณ์ ความประทับใจต่างๆที่ฉันได้รับจากการลงชุมชนนี้ไปเป็นแรงเสริมในการพัฒนาตนเองให้เป็นนักกิจกรรมบำบัดที่ดี และคิดถึงประโยชน์สูงสุดของผู้รับบริการตามความต้องการ และบริบททางสังคม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมของเขา

คำสำคัญ (Tags): #กิจกรรมบำบัด
หมายเลขบันทึก: 675445เขียนเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2020 22:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2020 22:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท