Independent living คืออะไร


วันนี้ได้มาเรียนรู้นอกสถานที่อีกครั้ง วันนี้มาเรียนรู้และทำความรู้จักกับ independent living (IL) จังหวัดนครปฐม ตอนแรกก่อนที่จะมาไม่เคยได้ยินและรู้จักว่าILคืออะไร แต่พอได้มารู้จักและเรียนรู้ทำให้รู้จักและเข้าใจบทบาทการทำงานของทีมILมากขึ้น IL คือ independent living ศูนย์การดำรงชีวิตอิสระของคนพิการพุทธมณฑล พี่ๆทีมILคือผู้ที่พิการทางร่างกายแต่ร่างกายไม่ได้จำกัดในการที่จะทำให้เขาหยุดทำสิ่งต่างๆ จิตใจของเขากลับตรงกันข้าม พี่ๆเขามีความหวัง และสร้างประโยชน์ให้กับสังคมอย่างมาก ซึ่งในวันนี้ทีมงาน IL มาทำกิจกรรมและให้ความรู้กับเราด้วยตัวเอง โดยกิจกรรมแรกที่ทำคือให้เราเล่นเกมโยนลูกบอล เป็นกิจกรรมกลุ่มที่ให้จำลองเป็นผู้พิการ แล้วทำอย่างไรให้ทุกคนภายในกลุ่มโยนรับลูกบอลให้ได้ กฎคือต้องตัดเพื่อนออกจากกลุ่มที่ละ2คน กิจกรรมนี้ก็สะท้อนให้เราได้เห็นว่าในชีวิตจริงเราต้องอยู่ร่วมกันในสังคม บางครั้งสถานการ์เป็นสิ่งทำให้เลือกต้องตัดบางคนออก แต่สิ่งเราไม่ควรละเลยหรือมองข้ามไปคือโอกาส เราควรให้เขาได้ลองทำ หรือสอนให้เขาเรียนรู้ก่อนที่จะตัดสิน ทุกคนมีศักยภาพที่สามารถพัฒนาได้ และเราก็สามารถใช้ชีวิตยู่ร่วมกันในสังคมได้ กิจกรรมที่สองคือให้จำลองเป็นผู้พิการ ซึ่งกิจกรรมนี้ได้รับบทเป็นผู้พิการทางสายตา โดยให้เพื่อนๆล้อมวงแล้วพูดประโยคเชิงลบกับผู้พิการ ซึ่งกิจกรรมนี้ทำให้เข้าใจความรู้สึกของผู้พิการว่าการที่ถูกตัดสิน ต่อว่า ดูถูกผ่านคำพูด มันทำให้บั่นทอนความรู้สึกและกำลังใจในการใช้ชีวิตอย่างมาก กิจกรรมนี้ถือเป็นกิจกรรมที่ประทับใจมากเพราะทำให้เข้าใจความรู้สึกของผู้พิการมากขึ้น และทำให้เราเข้าใจว่าการถูกตัดสินมันทำให้ผู้พิการรู้สึกว่าถูกจำกัดทางความสามารถ กิจกรรมที่สามคือกิจกรรมจำลองการapproach ผู้รับบริการ โดยทำให้เราได้เรียนรู้การเข้าหาผู้รับบริการว่าในครั้งแรกเราควรพูดคุยในเรื่องทั่วไปที่เขาสนใจมากกว่าที่จะเน้นการประเมิน และควรพูดคุยกับผู้ดูแลด้วยความเข้าใจ ไม่ตัดสิน หากในการสร้างสัมพันธ์ครั้งแรกนั้นประทับใจ จะทำให้การเข้าถึงผู้รับบริการในครั้งต่อไปเป็นไปด้วยความง่ายดาย ทำให้เห็นว่าการสร้างความสัมพันธ์กับรับบริการและผู้ดูแลถือเป็นทักษะที่สำคัญมากของนักกิจกรรมบำบัดที่ไม่ควรมองข้าม 

          เมื่อจบกิจกรรมในช่วงเช้า ในช่วงบ่ายจะเป็นกิจกรรมลงชุมชนเพื่อไปหาผู้รับบริการและวันนี้เราได้ลงชุมชนพร้อมกับพี่ทีมIL ได้ลองสร้างสัมพันธภาพกับผู้รับบริการ พูดคุย และถามเกี่ยวกับการใช้ชีวิตและการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตต่างๆ ซึ่งเคสที่ได้เจอวันนี้ถือเป็นเคสspinal cord injury ที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้แทบทุกอย่าง เขาสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตัวเอง ตั้งแต่ เคลื่อนย้ายตัวเอง แต่งตัว กินข้าว อาบน้ำ แม้กระทั่งการทำอาหารด้วยตัวเอง พี่เขาเล่าให้ฟังว่าแรงขับเคลื่อนที่อยากทำทุกอย่างด้วยตัวเองเพราะไม่อยากเป็นคนพิการที่ตกเป็นภาระของผู้อื่น เป็นแนวคิดที่ดีมาก รู้สึกได้ว่าพี่เขามีแรงขับเคลื่อนในการใช้วิต

         สำหรับการลงชุมชนในวันนี้ทำให้ฉันได้เห็นมุมมองและเรียนรู้อะไรหลายอย่างซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่มีในห้องเรียน ได้เข้าใจความรู้สึกของผู้พิการ เรียนรู้การสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้รับบริการในชุมชน รู้จักและรเข้าใจบทบาทการทำงานของทีมIL และคิดว่าทีม IL เป็นส่วนสำคัญที่จะเริ่มข้าหาผู้ที่พิการทางร่างกาย สร้างกำลังใจ และทำให้ผู้พิการอยากกลับมาใช้ชีวิตอีกครั้ง โดยให้ผู้พิการสามารถเลือกชีวิตของตัวเองได้อย่างอิสระ มันคือ key word สำคัญในการใช้ชีวิตอย่าง มี quality of life และwell being ต้องขอบคุณทีมILที่มาให้ประสบการณ์กับเรานักศึกษากิจกรรมบำบัด ซึ่งเราสามารถนำธีการและแนวคิดของพี่ทีมIL มาปรับใช้ในการลงชุมชนในครั้งต่อไปได้ ขอบคุณค่ะ

หมายเลขบันทึก: 675444เขียนเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2020 22:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2020 22:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท