Takehome 2


Independent living (IL) เป็นระบบอย่างไรที่อยู่ในชุมชนและนักกิจกรรมบำบัดสามารถมีส่วนร่วมทำงานกับทีมILได้อย่างไร

-ศูนย์ดำรงชีวิตอิสระคนพิการ(IL) คือ ศูนย์ที่ช่วยให้คนพิการสามารถดำรงชีวิตได้อย่างอิสระ ทั้งการอาบน้ำ กินข้าว การเคลื่อนย้ายตัว รวมถึงทำสิ่งต่างๆเหมือนคนทั่วไป อยากจะใส่เสื้อสีอะไร อยากกินอะไร ก็สามารถได้ในสิ่งที่ต้องการได้-ทางศูนย์IL เริ่มก่อตั้งปีพุทธศักราช2550 โดยคุณสันติ เป็นผู้ก่อตั้ง ศูนย์ILให้การบริการกับคนพิการทุกประเภทโดยคนพิการรุนแรงทางศูนย์IL ให้คำจำกัดความว่า ผู้พิการร่างกายที่เขามองว่าเขาจัดการตัวเองไม่ได้ทางศูนย์IL จะลงพื้นที่หลายครั้งเพื่อสร้างสัมพันธภาพให้เกิดความเชื่อใจ รวมถึงมีเครือข่ายที่เชื่อมกับโรงพยาบาลหลวงพ่อเปิ่น ทำให้สามารถติดตามผลการรักษาและติดตามการฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องได้ นักกิจกรรมบำบัดสามารถมีส่วนร่วมทำงานกับทีมILได้โดยการติดต่อประสานงานและร่วมมือกันโดยนักกิจกรรมบำบัดลงพื้นที่ออกชุมชนร่วมกับทีมILเพื่อติดตามผลการรักษา เพราะทีมILมีการลงพื้นที่ออกชุมชนสร้างสัมพันธภาพไว้แล้วทำให้ง่ายต่อการเข้าถึงคนในชุมชนเพราะเกิดความไว้วางใจ นักกิจกรรมบำบัดอาจฝากให้ทีมILดูแลผู้รับบริการรายนั้นต่อ โดยนักกิจกรรมบำบัดอาจให้ความรู้ที่เกี่ยวข้องในการดูแลผู้รับบริการในการฟื้นฟูกิจกรรมที่ผู้รับริการมีความต้องการหรือความรู้เพื่อป้องกันความเสี่ยงอันตราย เช่น การป้องกันการล้ม การทำความสะอาดสายสวนปัสสาวะ เป็นต้น เพื่อให้ทีมILไปแนะนำ หรือคอยไปเยี่ยมเพื่อกระตุ้นให้ผู้รับบริการตระหนักถึงความสำคัญและให้ผู้รับบริการได้รับประโยชน์สูงสุดจากการได้รับการบำบัดรักษา มีความสุขและความปลอดภัยในการดำรงชีวิตต่อไป

คำสำคัญ (Tags): #กิจกรรมบำบัด
หมายเลขบันทึก: 675425เขียนเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2020 21:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2020 21:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท