take home โรงพยาบาลชุมชน


ระบบผสมผสานทางการแพทย์ที่มีอยู่ในโรงพยาบาลชุมชน ส่งผลกับคนในชุมชนอย่างไร ในมุมมองของนักกิจกรรมบำบัดจะเชื่อมโยงกับระบบนี้ได้อย่างไร

โรงพยาบาลชุมชนถือเป็นหน่วยบริการปฐมภูมิหลักที่ประชาชนในชุมชนจะสามารถเข้าถึงได้ โดยที่จะยกตัวอย่างถึงต่อไปนี้ คือ โรงพยาบาลหลวงพ่อเปิ่น ซึ่งเป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาดเล็ก มีความรับผิดชอบใน 5 ตำบลร่วมกับโรงพยาบาลอื่นๆอีก 2 โรงพยาบาล คือ โรงพยาบาลห้วยพลูและโรงพยาบาลศูนย์ ทำให้ประชาชนในพื้นที่ตำบลบางแก้วฟ้าและใกล้เคียง สามารถเข้าถึงบริการทางการเเพทย์ได้ง่ายขึ้น ซึ่งแต่ละโรงพยาบาลก็จะมีจุดเด่นในการให้บริการที่แตกต่างกันไป โดยที่โรงพยาบาลหลวงพ่อเปิ่นจะเน้นเรื่องเวชศาสตร์ฟื้นฟูให้บริการการแพทย์แบบผสมผสาน นอกจากนี้ยังมีการทำเครือข่ายร่วมกับโรงเรียนผู้สูงอายุเพื่อช่วยส่งเสริมสุขภาพ คิดหลักสูตรให้ความรู้ในเรื่องการป้องกันการหกล้มและป้องกันภาวะสมองเสื่อมซึ่งถือเป็นการทำงานแบบเชิงรุกอีกรูปแบบหนึ่งทำให้ความรู้ถูกถ่ายทอดเข้าสู่ชุมชนได้เป็นวงกว้างมากขึ้นผ่านทางการจัดกิจกรรมต่างๆเหล่านี้ ซึ่งนักกิจกรรมบำบัดสามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้โดยการประเมิน และคิดหากิจกรรมที่เหมาะสมและตอบโจทย์กับกลุ่มบุคคลนั้นๆเพื่อส่งเสริมให้คนในชุมชนมีสุขภาวะที่ดี และหากพบข้อบกพร่องจะได้ให้การรักษาได้อย่างทันท่วงที อาจจะต่อยอดไปยังกลุ่มบุคคลอื่นนอกเหนือจากผู้สูงอายุ เช่น เด็ก ประชาชนทั่วไป ผ่านทางการประเมิน คัดกรองผู้ที่มีความเสี่ยง การจัดกิจกรรมให้ความรู้(health promotion) เป็นต้น เพื่อให้งานมีความครอบคลุมประชาชนในชุมชนนั้นๆมากที่สุด

นอกจากนี้ทางโรงพยาบาลยังมีการจัดการfollow up เคสที่ discharge ออกจากโรงพยาบาลเพื่อเป็นการตรวจสอบ และมั่นใจว่าผู้รับบริการทุกคนจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ไม่ได้มีอาการแย่ลง หรือเจ็บป่วยซ้ำอีก โดยมีทั้งการ follow up แบบโทรสอบถาม ประสานกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล รวมถึงมีการจัดทีมเข้าไปเยี่ยมตามบ้านในชุมชน โดยนักกิจกรรมบำบัดสามารถนำข้อมูลที่ได้จากการเยี่ยมบ้านมาใช้ในการดู progression ของการรักษารวมถึงได้ลงไปเห็นบริบทของผู้รับบริการ ว่าที่ที่เขาอยู่ กิจกรรมที่เขาต้องทำในความเป็นจริงแล้วเป็นอย่างไรบ้าง หากทีมการเยี่ยมบ้านมีนักกิจกรรมเข้าไปอยู่ด้วยจะส่งผลให้การดูองค์ประกอบต่างๆมีความละเอียดขึ้น โดยนักกิจกรรมบำบัดไม่ได้สนใจแค่ตัวผู้รับบริการเท่านั้นแต่ยังมองไปถึงสภาพแวดล้อม บุคคลในครอบครัว ผู้ดูแล และให้ความสำคัญแก่ทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน เนื่องจากผู้ดูแลนั้นเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการฟื้นฟูผู้รับบริการ มีการให้ความรู้ในวิธีการดูแลที่ถูกต้อง โดยอาจจะรวมไปถึงการให้คำแนะนำเบื้องต้น เกี่ยวกับสิทธิการรักษา หน่วยงานที่สามารถให้ความช่วยเหลือได้หากเขามีความต้องการพิเศษอื่นๆ เน้นการประยุกต์ใช้สิ่งที่มีอยู่และหาได้ง่ายในชุมชนมาเป็นสื่อในการรักษาเพื่อที่คนในชุมชนจะได้เข้าถึง เข้าใจได้ง่าย และปฏิบัติอย่างเป็นประจำสม่ำเสมอ ลดช่องว่างในเรื่องของการขาดแคลนอุปกรณ์ เพื่อส่งเสริมให้ทุกคนได้รับบริการที่เท่าเทียมกันมากที่สุด

หมายเลขบันทึก: 675388เขียนเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2020 13:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2020 14:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท