ข้อที่3 : ระบบผสมผสานทางการแพทย์ที่มีอยู่ในโรงพยาบาล



ระบบผสมผสานทางการแพทย์ที่มีอยู่ในโรงพยาบาลชุมชนส่งผลกับคนในชุมชนอย่างไร ในมุมมองของนักกิจกรรมบำบัดจะเชื่อมโยงกับระบบนี้ได้อย่างไร


สำหรับระบบผสมผสานทางการแพทย์ในโรงพยาบาล ซึ่งในแต่ละฝ่ายก็จะมีเงื่อนไขเสริมและมีวัตถุประสงค์ของการรักษาที่ต่างกันไป ซึ่งเป็นวิธีการรักษาที่แตกต่างจากการปฏิบัติทางการแพทย์ทางตรง แต่สิ่งที่เหมือนกันคือการรักษาจะเน้นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้รับบริการ ไม่ว่าจะเป็นการรักษาโรคหรือการส่งเสริมความเป็นอยู่ ส่งผลให้คนในชุมชนได้รับการรักษาในรูปแบบการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมมากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ความเครียดในการทำงานหรือการแข่งขันในสังคม อาจส่งผลให้คนในชุมชนมีอาการต่างๆ ที่การแพทย์ทั่วไปขาดโอกาสในการสังเกตเห็นหรือการรักษา แต่ระบบการผสมผสานทางแพทย์สามารถดูแลเรื่องของความผ่อนคลายลดความตึงเครียดควบคู่ไปกับการรักษาตามจุดประสงค์ได้ ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมสุขภาวะของคนในชุมชนให้ดียิ่งขึ้น หรือสำหรับการใช้ยาแผนปัจจุบันรักษาเป็นเวลานานก็จะหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องเผชิญกับผลข้างเคียงไม่มากก็น้อย แต่เมื่อดึงเอาระบบการผสมผสานทางการแพทย์มาใช้ก็จะมีส่วนช่วยลดปัจจัยเสี่ยงจากยาแพทย์แผนปัจจุบัน และทำให้อาจเกิดผลทางลบแก่คนในชุมชนน้อยกว่าใช้เพียงแค่แพทย์แผนปัจจุบันอีกด้วย และในส่วนของนักกิจกรรมบำบัดเองก็สามารถเชื่อมโยงกับการผสมผสานทางการแพทย์ได้ไม่ยาก เพราะนักกิจกรรมบำบัดเองก็มีการให้การบริการแบบองค์รวมเช่นกัน โดยสหวิชาชีพควรมีการจัดประชุมพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับแต่ละเคส เพื่อมองภาพรวมของเคสตรงกัน วางแผนการประเมินเพิ่มเติม และวางแผนการให้การบำบัดรักษาผู้รับบริการร่วมกัน เข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตนเองและทีม เกิดเป็นโปรแกรมการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด


กชกร วงษ์รวยดี

6023001 PTOT


หมายเลขบันทึก: 675385เขียนเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2020 13:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2020 13:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท