ข้อที่2 : ทีม independent living



Independent Living (IL) เป็นระบบอย่างไรที่อยู่ในชุมชน และนักกิจกรรมบำบัดสามารถมีส่วนร่วมทำงานกับทีม IL ได้อย่างไร


ทีม IL เป็นองค์กรอิสระที่มีการรวมกลุ่มกันของผู้พิการ ที่เล็งเห็นความสำคัญของ independent living เพื่อส่งเสริมให้ผู้พิการสามารถทำกิจกรรมต่างๆได้แม้ยังมีข้อจำกัดเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป สำหรับทีม IL พุทธมณฑล ได้มีการประสานงานกันกับรพ.หลวงพ่อเปิ่นในการร่วมดูแลผู้รับบริการ เพื่อส่งเสริมการให้การบริการที่เป็นองค์รวมมากขึ้น ทำให้ผู้รับบริการสามารถดำเนินกิจวัตรประจำวันได้อย่างมีคุณภาพมากที่สุด โดยทางทีมจะได้รับข้อมูลเคสผู้ป่วยมาจากทางรพสต. มีการวางแผนโครงการร่วมกัน หลังจากนั้นทางทีมจะมีการลงเยี่ยมบ้านผู้รับบริการ เพื่อสร้างสัมพันธภาพ ประเมินปัญหาที่เกิดขึ้น รวมทั้งสอบถามความต้องการของผู้รับบริการ เมื่อผู้รับบริการให้ความร่วมมือ พร้อมจะเข้าร่วมโครงการ ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหา และส่งเสริมให้ผู้รับบริการสามารถดำรงชีวิตได้อย่างอิสระมากที่สุด เช่น การส่งเสริมให้ผู้รับบริการตระหนักถึงความสามารถของตัวเองมากขึ้น เห็นคุณค่าของตัวเองมากขึ้น (เช่น การชักชวนให้ไปร่วมกิจกรรมกลุ่มกับทางทีมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสมาชิกในทีม) การส่งเสริมให้ผู้รับบริการเข้าใจและใช้สิทธิของตัวเองควรจะได้รับให้เกิดประโยชน์ (เช่นการยื่นเรื่องของบประมาณปรับสภาพบ้าน, การจัดหาอุปกรณ์ช่วย อุปกรณ์เสริมที่เหมาะกับผู้รับบริการ) รวมทั้งร่วมทำงานในทีมเพื่อส่งต่อโอกาสในการเข้าร่วมทีม IL แด่ผู้พิการคนอื่นๆ

ในส่วนของนักกิจกรรมบำบัดเองก็มีบทบาทในการเข้าร่วมกับทีม IL ลงชุมชนไปเยี่ยมบ้านผู้รับบริการเช่นกัน หลังจากการร่วมกันสร้างสัมพันธภาพ ความน่าเชื่อถือ และความเชื่อใจแก่ผู้รับบริการและผู้ดูแล นักกิจกรรมบำบัดจะมีบทบาทในการตรวจประเมินระดับความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้รับบริการ ดูปัจจัยที่ส่งเสริมหรือขัดขวางในการทำกิจกรรมนั้น เช่น สอบถามความต้องการของผู้รับบริการเพื่อนำมาวางแผนการให้การรักษา ในขณะเดียวกันนักกิจกรรมบำบัดก็ให้ความสนใจเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพและทางสังคมด้วย เพราะการที่ผู้รับบริการจะ independent ได้จริงๆ ต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่าง หลังจากการเยี่ยมบ้านเพื่อตรวจประเมินครั้งแรก ในทีมควรมีการปรึกษาแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้ประเมินและเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อให้สามารถมองผู้รับบริการในมุมที่กว้างขึ้น ร่วมกันวางแผนการบำบัดรักษา เช่น นักกิจกรรมบำบัดประเมินแล้วว่าผู้รับบริการยังมีการอ่อนแรงบริเวณข้อสะโพก และมีการยืนทรงท่าที่ไม่มั่นคง แต่ยังคงมีกำลังกล้ามเนื้อแขนเพียงพอในการเข็น wheelchair ประกอบกับความต้องการของผู้รับบริการคือการเลือกซื้อของในห้างสรรพสินค้าด้วยตัวเอง นักกิจกรรมบำบัดจึงเสนอgoal ในการบำบัดเป็นการให้ผู้รับบริการสามารถเลือกซื้อของในห้างสรรพสินค้าด้วยตัวเองโดยใช้ wheelchair ในขั้นตอนการวางแผนภายในทีมจะช่วยกันเลือก wheelchair ที่เหมาะสมกับผู้รับบริการและบริบทแวดล้อมมากที่สุด โดยนักกิจกรรมบำบัดอาจมีส่วนช่วยทีม IL ในการติดต่อประสานงานกับเครือข่ายด้านสุขภาพเพื่อขอรับบริจาค wheelchair ด้วยเช่นกัน


กชกร วงษ์รวยดี

6023001 PTOT

หมายเลขบันทึก: 675384เขียนเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2020 13:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2020 13:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท