ระบบ Independent Living (IL) ในชุมชนและการมีส่วนร่วมระหว่างนักกิจกรรมบำบัดกับทีมIL



          Independent Living คือการดำรงชีวิตอย่างอิสระโดยสามารถตัดสินใจ คิด และเลือกได้ตามที่ตนเองต้องการที่จะทำหรือไม่ทำอะไรด้วยตนเอง และสามารถทำกิจกรรมในสังคมได้เท่าเทียม เสมอภาคกับบุคคลทั่วไปในชุมชนหรือสังคม

          Independent Living (IL) ที่พวกเรานักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่3ได้ไปเรียนรู้ ได้รู้จักกับการทำงานของศูนย์การดำรงชีวิตอิสระของคนพิการพุทธมณฑล หรือเรียกกันในที่นี้ว่า ทีมIL โดยทีมIL จะเป็นพี่ๆผู้พิการที่สามารถดำรงชีวิตได้อย่างอิสระและรวมตัวกันเพื่อช่วยเหลือผู้พิการคนอื่นๆให้สามารถมีชีวิตที่สามารถคิดและตัดสินใจในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตต่างๆด้วยตนเอง และเท่าเทียมกับคนในสังคม โดยระบบการทำงานของพี่ๆทีมIL จากการได้เรียนรู้และรวบรวมความเข้าใจทั้งหมดคือ พี่ๆทีมIL จะให้การช่วยเหลือแบบเชิงลุกแก่ผู้พิการที่ยอมรับในการช่วยเหลือ โดยทีมIL จะเดินทางไปที่ชุมชนและบ้านที่มีผู้พิการอยู่และเข้าไปทำความรู้จักพูดคุย และชักชวนเพื่อการตอบรับความช่วยเหลือจากทีม โดยจะหมั่นไปพบผู้พิการคนหนึ่งหลายๆครั้ง เพื่อให้เกิดความเชื่อใจและไว้วางใจ โดยทีมILเอง เป็นผู้มีประสบการณ์ในการปรับและใช้ชีวิตโดยพึ่งพาตนเองให้มากที่สุดหลังจากได้รับความพิการ และใช้ประสบการณ์ที่มี รวมกับความเข้าใจต่อผู้พิการท่านอื่นๆ นำมาปรับช่วยเหลือแนะนำ โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการหลายท่านที่ประสบความสำเร็จในการฝึกฝนและสามารถดำรงชีวิตตนเองได้อย่างอิสระ นอกจากการให้การช่วยเหลือเฉพาะรายบุคคลแล้ว ยังมีการไปเป็นวิทยากรให้ความรู้กับกลุ่มคนหรือชุมชนอื่นๆ เช่นเดียวกับการให้ความรู้กับกลุมนักศึกษาที่ได้ลงชุมชนในครั้งนี้ ต่อมาได้ทราบว่าทีมIL มีการทำงานร่วมกันกับโรงพยาบาลชุมชน (โรงพยาบาลหลวงพ่อเปิ่น) และหน่วยงานในชุมชนอื่นๆ รวมถึงหน่วยงานภาครัฐต่างๆที่เกี่ยวข้อง โดยในบริบทของโรงพยาบาลทีมILจะมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูผู้พิการ โดยทางโรงพยาบาลจะคัดเลือกผู้ป่วยที่พร้อมได้รับการช่วยเหลือจากทีมIL เพื่อช่วยในการดำเนินชีวิตต่อไปหลังจากมีความพิการของผู้ป่วย โดยทีมILได้เสนอให้โรงพยาบาลทำบ้านจำลองสำหรับผู้พิการ เพื่อใช้ในการฝึกปฏิบัติจริงในการดำเนินชีวิต อีกทั้งยังช่วยสร้างแรงจูงใจ ความมั่นใจ และความหวังที่เป็นไปได้ให้กับผู้รับบริการ ด้วยความเข้าใจและให้เกียรติ 

          จากการให้ความช่วยเหลือในรูปแบบหรือระบบIL แล้ว ผู้เขียนเองก็ได้คิดต่อถึงบริบทของนักกิจกรรมบำบัดที่จะร่วมมือกับทีมIL เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการฟื้นฟูผู้พิการ โดยนักกิจกรรมบำบัดใช้ความรู้ที่ได้ศึกษามาในการให้คำแนะนำกับทีม เช่น การประเมินร่างกายและความพร้อมในการฟื้นฟู ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความสมดุลของการทรงตัว การรับความรู้สึก หรือปัจจัยอื่นๆ จากนั้นทำการวิเคราะห์กิจกรรมต่างๆ ปรึกษาร่วมกันกับทีมว่าจะวางแผนการฟื้นฟูอย่างไร มีการใช้ท่าทางอย่างไรเพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุดและไม่ใช้พลังงานมากไป หรือจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ใด ดัดแปลงอย่างไรได้บ้างเพื่อให้เหมาะสม หรือเป็นการปรับสภาพแวดล้อมที่เหมาต่อความพิการ ที่สามารถใช้ร่วมกันกับผู้อื่นในบริบทสิ่งแวดล้อมเดียวกันได้ด้วย หรือช่วยในเรื่องของนโยบายหรือสิทธิ์ที่ผู้พิการควรได้รับ การตรวจสอบสภาพการใช้งานของรถเข็นผู้พิการหรืออุปกรณ์ช่วยต่างๆตามหลักที่ควรจะเป็น โดยแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันระหว่างทีมIL และนักกิจกรรมบำบัด เพื่อค้นหาวิธีการที่ดีที่สุดในการให้การช่วยเหลือผู้พิการ

คำสำคัญ (Tags): #กิจกรรมบำบัด
หมายเลขบันทึก: 675345เขียนเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2020 00:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2020 00:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท