Take Home คาบเรียนที่10และ13 ในวันที่ 21 และ 28 มกราคม 2563


  1. คำถาม ระบบผสมผสานทางการแพทย์ที่มีอยู่ในโรงพยาบาลชุมชนส่งผลกับคนในชุมชนอย่างไร ในมุมมองนักกิจกรรมบำบัดจะเชื่อมโยงกับระบบนี้อย่างไร

             โรงพยาบาลหลวงพ่อเปิ่นเป็นโรงพยาบาลชุมชน 30 เตียงมีขนาดเล็กที่สุด ผู้สร้างโรงพยาบาลแห่งนี้คือ  หลวงพ่อเปิ่น ผู้ซึ่งเห็นความสำคัญของเวชศาสตร์ฟื้นฟู จึงนำเงินบริจาคมาสร้างโรงพยาบาลที่เน้นด้สนการบำบัดฟื้นฟู เป็นที่แรกของนครชัยศรี ซึ่งโรงพยาบาลมีการรับผิดชอบดูแล 5 ตำบล 7 รพสต. มีกระบวนการทำงานเป็นแบบ Intensive rehabilitation ซึ่งใน 1 เคสจะใช้เวลาในการเข้าร่วมโปรแกรมการรักษา 4 สัปดาห์ กลุ่มผู้รับบริการมี 2 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มที่ต้อได้รับการฟื้นฟูเต็มที่ จะมาการเข้ารับการบำบัดฟื้นฟูจากทีมแพทย์, นักกายภาพบำบัด,นักกิจกรรมบำบัด,แพทย์แผนไทย,แพทย์แผนจีน และการพยาบาล 2.กลุ่มผู้พิการ จะมีการทำงานร่วมกับกลุ่ม Independent living นครปฐม ในการทำ peer support และการให้คำแนะนำในการดำรงชีวิต ทางโรงพยาบาลมีการให้ผู้พิการได้ฝึกการใช้ชีวิตด้วยตนเองโดยมีบ้านตัวอย่างอยู่ข้างๆโรงพยาบาล จะให้ผู้พิการที่ได้รับการประเมินว่าสามารถอยู่ในบ้านได้ด้วยตนเองอย่างปลอดภัยแล้ว มาทดลองใช้ชีวิตในบ้านตัวอย่าง 24 ชั่วโมง อาจจะกินเวลานานเป็นอาทิตย์ขึ้นอยู่กับตัวผู้พิการในแต่ละคน โดยทางโรงพยาบาลจะมีการใช้แบบประเมิน Bartal index ในการประเมินคัดกรองและประเมินความก้าวหน้าในการบำบัดฟื้นฟูว่าผู้รับบริการมีความพร้อมมากพอหรือไม่ในการออกไปใช้ชีวิตด้วยตนเองที่บ้านหลังจากการบำบัด จะตัดคะแนนที่ 15 คะแนน ผู้รับบริการที่คะแนนน้อยกว่า 15 จะไม่สามารถออกจากโรงพยาบาลได้ต้องได้รับการฝึกเพิ่มเติมถ้าคะแนนเกิน 15 คะแนนก็สามารถออกจากโรงพยาบาลได้ โดย1 ครั้งต่อสัปดาห์ จะมีการออกชุมชนเพื่อติดตามอาการของผู้รับบริการที่ออกจากโรงพยาบาลแล้วโดยใช้แบบประเมินเดิม ติดตามไปจนถึง 6 เดือน ซึ่งการออกชุมชนไม่ใช่แค่การไปติดตามผลเท่านั้นแต่จะไปหาผู้รับบริการท่านอื่นที่ไม่สามารถมาที่โรงพยาบาลได้

               ส่งผลให้คนในชุมชนได้รับการบริการที่ทั่วถึงจากการลงชุมชนของโรงพยาบาล และคนในชุมชนสามารถได้รับการบริการที่หลากหลาย ได้เลือกการรักษาในแบบที่ตนเองต้องการ และในการรักษาแบบผสมผสานทำให้ผู้รับบริการมีการรักษาที่ครอบคลุมเพราะในแต่ล่ะวิชาชีพจะมีวิธีการมอง ให้การบำบัดที่แตกต่างกัน ทำให้รักษาได้ครอบคลุม ซึ่งเป็นผลดีอย่างมากต่อคนในชุมชน

                ในมุมมองของนักกิจกรรมบำบัดจะเชื่อมโยงกับระบบนี้โดยการมองผู้รับบริการแบบองค์รวมตามวิชาชีพของนักกิจกรรมบำบัด และมองหาปัญหา ตั้งเป้าประสงค์ในการรักษาในแบบของนักกิจกรรมบำบัด หลังจากนั้นควรประชุมและแชร์ข้อมูล ปัญหาของแต่ล่ะวิชาชีพ ในการหาจัดตั้งโปรแกรมการรักษาให้แก่ผู้รับบริการในแต่ล่ะคน เพื่อให้รับรู้บทบาทของแต่ล่ะวิชาชีพ และดำเนินให้การบริการต่อไป

คำสำคัญ (Tags): #takehome
หมายเลขบันทึก: 675343เขียนเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2020 00:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2020 00:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท