บันทึกการเรียนรู้ที่ ศูนย์ดำรงชีวิตอิสระของคนพิการพุทธมณฑล


กิจกรรมที่ได้ไปทำรู้สึกอย่างไร-กิจกรรมเรียนรู้ใจเขาใจเรา ทำให้ผมรู้สึกเข้าอกเข้าใจในความรู้สึกนึกคิดของผู้พิการว่าเขาต้องเจอกับอะไรบ้าง เช่น ความกดดัน คำพูดวิจารณ์เขาที่ภายนอก เห็นถึงความสำคัญของด้านจิตใจ การให้กำลังใจเป็นสิ่งสำคัญ-กิจกรรมช่วงบทบาทสมมติ ทำให้ผมรู้สึกว่าการสร้างสัมพันธภาพเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากเพราะถ้าผู้รับบริการไม่ไว้วางใจ เราจะไม่ได้ข้อมูลจากเขา-กิจกรรมลงชุมชน ทำให้ผมรู้สึกปิติยินดีไปกับผู้รับบริการที่กลุ่มผมได้ไปเยี่ยมที่บ้าน เขาเป็นParaplegia แต่สามารถมีชีวิตที่อิสระและมีความสุขได้ด้วยตัวเอง

ได้เรียนรู้อะไรจากการไปทำกิจกรรม-ได้เรียนรู้ว่าศูนย์ดำรงชีวิตอิสระคนพิการ(IL) คือ ศูนย์ที่ช่วยให้คนพิการสามารถดำรงชีวิตได้อย่างอิสระ ทั้งการอาบน้ำ กินข้าว การเคลื่อนย้ายตัว รวมถึงทำสิ่งต่างๆเหมือนคนทั่วไป อยากจะใส่เสื้อสีอะไร อยากกินอะไร ก็สามารถได้ในสิ่งที่ต้องการได้-ทางศูนย์IL เริ่มก่อตั้งปีพุทธศักราช2550 โดยคุณสันติ เป็นผู้ก่อตั้ง ศูนย์ILให้การบริการกับคนพิการทุกประเภท-คนพิการรุนแรงทางศูนย์IL ให้คำจำกัดความว่า ผู้พิการร่างกายที่เขามองว่าเขาจัดการตัวเองไม่ได้-กิจกรรมเรียนรู้ใจเขาใจเรา ขณะทำกิจกรรมพี่ที่นำกิจกรรมให้แบ่งกลุ่มเป็น2กลุ่ม กลุ่มแรกแสดงบทบาทสมมติเป็นผู้พิการ มีคนนั่งรถเข็น ผู้พิการทางสายตา ผู้พิการทางการมองเห็น ผู้พิการทางการได้ยิน อีกกลุ่มคือให้ถือใบคำพูดซึ่งในกระดาษนั้นจะมีคำต่างๆ เช่น เป็นแบบนี้แล้วจะไปทำอะไรได้ คงเป็นเวรเป็นกรรม ชาติก่อนคงไปทำอะไรไม่ดีไว้ ชาตินี้ถึงได้เป็นแบบนี้ เป็นต้น ได้เรียนรู้ความรู้สึกของผู้พิการกิจกรรมช่วงบทบาทสมมติได้เรียนรู้ถึงบริบทการทำงานในชุมชนจริงของทีมILในการเข้าไปสร้างสัมพันธภาพกับผู้รับบริการ ได้เรียนรู้เทคนิคในการสัมภาษณ์ สอบถามของพี่ๆทีม IL การสังเกต การพยายามหาเรื่องคุยต่อ เช่น การหยิบสิ่งของรอบตัวมาถาม ให้เขาอธิบายให้ฟัง หยิบรูปถ่ายมาถามว่านี่รูปของใคร มีความเกี่ยวข้องกับตัวเขาอย่างไรหลังจากทำกิจกรรมแล้วทีมILมีช่วงเปิดโอกาสให้ถามคำถาม มีเพื่อนถามว่า หลังจากสร้างสัมพันธภาพแล้วทีมILทำอย่างไรต่อ พี่ทีมIL ตอบว่า ใช้หลักการIndependence living ดูตามความต้องการ ความสนใจของเขาเป็นหลัก เช่น ถ้าเขาไปเรียน เขาจะเดินทางไปอย่างไร เรื่องอาชีพ ทางศูนย์เป็นคนช่วยให้เขาคิดออกด้วยตนเองว่าอยากจะประกอบอาชีพอะไร เชื่อและเคารพความต้องการ ความสนใจของเขา ไม่มีกฎตายตัว ทีม IL มีหน้าที่ลงไปเยี่ยมไปรับฟังเขากิจกรรมลงชุมชนได้ไปเห็นสิ่งแวดล้อม สภาพร่างกาย สภาพจิตใจของผู้รับบริการแล้วก็รู้สึกว่าเขามีแรงกายแรงใจต่อสู้กับปัญหาต่างๆที่เขาพบเจอ เขาได้มีการลองผิดลองถูกปรับเปลี่ยนวิธีการต่างๆของตัวเองจนสามารถดำรงชีวิตได้อย่างอิสระและมีความสุขภายใต้ความพิการนั้นได้เรียนรู้หลักการIL คือมนุษย์ทุกคนสามารถพัฒนาได้ ระหว่างนั้น เพื่อนถามคำถามว่า ถ้าสมมติมีกรณีศึกษาลูก(พิการ)อยากออกไปด้านนนอกแต่พ่อบอกไม่ต้องไปหรอกทำอะไรก็ไม่ได้ ทางศูนย์IL มีวิธีการอย่างไร ทีมILตอบว่า ต้องลงพื้นที่บ่อยๆ สร้างสัมพันธภาพให้พ่อเชื่อใจทีมและทางศูนย์มีรถเทคโนโลยีไฮดรอลิคที่สามารถยกรถเข็นขึ้นรถตู้ได้

เอาไปพัฒนาในวิชาชีพกิจกรรมบำบัดอย่างไร-นำเทคนิควิธีการสร้างสัมพันธภาพไปใช้ในขณะสร้างสัมพันธภาพกับผู้รับบริการเพื่อความต่อเนื่องในการสนทนาและได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการวางแผนการรักษา-การที่ได้เข้าใจความรู้สึกนึกคิดของผู้พิการเป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญพอๆกับการเข้าใจในพยาธิสภาพ สภาพร่างกายของผู้รับบริการ สามารถนำไปใช้ในวิชาชีพในการมองคนพิการอย่างเป็นองค์รวม

คำสำคัญ (Tags): #กิจกรรมบำบัด
หมายเลขบันทึก: 675338เขียนเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2020 00:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2020 00:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท